ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) https://www.nanotec.or.th/th Fri, 18 Oct 2024 08:14:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.2 https://www.nanotec.or.th/th/wp-content/uploads/2016/10/cropped-ff-1-32x32.png ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) https://www.nanotec.or.th/th 32 32 NANOTEC was attending and celebrating the 10th anniversary of Cosmetic 360.  https://www.nanotec.or.th/th/nanotec-nstda-cosmetic360/ Fri, 18 Oct 2024 08:13:48 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=24889
And this is the 1st international cosmetics excellence competition with 4 different categories awards, including training excellence, know-how and culture excellence, local initiative support, and public research excellence.
Proud to announce that NANOTEC has received the public research excellence award, corresponding to the significant contribution of academic research in cosmetic industry.

Our innovation of this year is “Thai Black Ginger: The Rejuvenating Power from Nature”.
We are presenting our Black-Gold formula, which is an innovative ingredient from Thai medicinal plant, Kra Chai Dam. This active is a retinol-like compound and can be used as a powerful API in any cosmeceutical product.
Thailand’s Pavilion received 3 awards this year.
1.know-how and culture excellence for TCELS
2.Local initiative support for TISTR
3.Public research excellence for NANOTEC.
]]>
นักวิจัย นาโนเทค สวทช. คว้ารางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น 2567” https://www.nanotec.or.th/th/nanotec-nstda-microneedle-outstandingtechawards2024/ Fri, 18 Oct 2024 03:43:07 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=24879

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก – นักวิจัย นาโนเทค สวทช. พาผลงานวิจัยอย่าง “กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ที่จัดขึ้นโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยภายในงาน ดร. สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช., ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พร้อมด้วย ศ.ดร. ศิวพร มีจู สมิธ รองผู้อำนวยการนาโนเทค สวทช. ร่วมแสดงความยินดี

การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือเชิงพาณิชย์ได้จริงอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและชุมชนในประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีของประเทศ ส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศในเวทีโลก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้มีการพิจารณาคัดเลือกผลงานและมอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่มาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักวิชาการและนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถจำนวนมากในประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีของไทยให้สามารถแข่งขันในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว

ในปีนี้ ดร. ไพศาล ขันชัยทิศ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ซึ่งได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 กับผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ โดยมี นักวิจัย สวทช. ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 อีก 1 ราย คือ ดร. อัญชลี มโนนุกุล จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กับผลงานวิจัยเรื่อง โครงการกระบวนการผลิตโฟมไทเทเนียมบริสุทธิ์แบบเซลล์เปิดโดยใช้กระบวนการชุบสารแขวนลอย บนต้นแบบโฟมพอลิเมอร์และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

เข็มขนาดไมครอน “Game Changer” ของวงการสุขภาพ

ดร. ไพศาล ขันชัยทิศ จากทีมวิจัยระบบหุ่นยนต์และเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กล่าวว่า ไมโครนีดเดิล หรือเข็มขนาดไมโครเมตร เป็นนวัตกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพอย่างกว้างขวาง เทคโนโลยีนี้มีขนาดเล็กมาก โดยเข็มมีขนาดเพียงหนึ่งในสิบของเส้นผมมนุษย์ และมีปลายเข็มที่เล็กมากจนสามารถเจาะผ่านชั้นผิวหนังเพื่อส่งสารสำคัญได้โดยไม่สร้างความเจ็บปวด ไม่ทำให้เกิดบาดแผล หรือทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้บนผิวหนัง การพัฒนาไมโครนีดเดิลจึงนับเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของทั้งวงการแพทย์และความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาแบบดั้งเดิม เช่น ผู้ที่มีความกลัวเข็ม หรือผู้ที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนหรือยาบ่อยครั้ง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมได้ยากคือกระบวนการผลิตในปัจจุบัน ซึ่งยังมีความซับซ้อนและมีต้นทุนสูง การผลิตเข็มขนาดเล็กในจำนวนมากอย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำในระดับไมโครเมตรเป็นสิ่งที่ต้องการเทคโนโลยีเฉพาะทาง การแก้ปัญหาในด้านการผลิตจึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการนำเทคโนโลยีไมโครนีดเดิลไปสู่การใช้งานจริง

ผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับกระบวนการผลิตไมโครนีดเดิลให้รวดเร็วขึ้น สามารถผลิตได้ในปริมาณที่มากขึ้น และปรับแต่งคุณสมบัติของเข็มได้ตามต้องการ เทคโนโลยีการผลิตใหม่นี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มความเร็วในการผลิตมากขึ้นถึง 25 เท่าของวิธีการเดิม แต่ยังสามารถปรับแต่งรูปร่างของเข็ม ขนาด ความยาว จำนวนเข็มต่อพื้นที่ และคุณสมบัติอื่น ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น ทำให้สามารถออกแบบไมโครนีดเดิลที่เหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น การนำส่งยาแก้ปวด สารบำรุงผิว คลื่นแสงหรือคลื่นไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย หรือแม้กระทั่งการใช้ไมโครนีดเดิลเพื่อวัดค่าทางชีวภาพในร่างกายของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ ยังเป็นมิตรกับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ช่วยให้สามารถผลิตไมโครนีดเดิลในปริมาณมากได้ในเวลาอันสั้น พร้อมทั้งมีคุณภาพสูงและผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับเครื่องมือแพทย์

หนึ่งในนวัตกรรมที่โดดเด่นของเทคโนโลยีไมโครนีดเดิลนี้คือ “ไมโครสไปก์เทคโนโลยี” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของเทคโนโลยีการผลิตไมโครนีดเดิลบนแผ่นวัสดุ ไมโครสไปก์เทคโนโลยีสามารถนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านเครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อาทิ  แผ่นไมโครนีดเดิลสำหรับนำส่งยาแก้ปวด แผ่นลดเลือนริ้วรอย หรืออุปกรณ์นำส่งสารบำรุงผิว ที่สามารถส่งสารผ่านผิวหนังได้โดยไม่ทำให้เจ็บปวด และไม่ทิ้งร่องรอยบนผิวหนัง นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในอนาคต เช่น การตรวจวัดสารชีวภาพภายในร่างกาย หรือการนำส่งวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย

]]>
Cover Story: NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 44 ประจำเดือนกันยายน 2567 https://www.nanotec.or.th/th/cover-story-nanotec-newsletter-issue44-aug2024/ Tue, 15 Oct 2024 10:00:52 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=24849

เอกชนติดอาวุธให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตรด้วย “นวัตกรรม” สร้างความแตกต่างในตลาดที่มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท NANOTEC Newsletter ฉบับนี้จะพาไปคุยกับดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการนาโนเทค สวทช., คุณตรีพิพัฒน์ ศิลปการสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟ้าอรุณ พืชผลเพื่อไทย จำกัด และดร. คมสันต์ สุทธิสินทอง จากทีมวิจัยเกษตรนาโนขั้นสูง กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน ถึงที่มาและความก้าวหน้าในการผลักดัน “ปุ๋ยคีเลตธาตุอาหารรอง-เสริม” ผลงานวิจัยจากนาโนเทค สวทช. ที่ร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ชูกลยุทธ์เสริมนวัตกรรมรับเทคโนโลยี-สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน สร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ ต่อยอดสู่ “ปุ๋ยน้ำสำหรับโดรน” รับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดย นาโนเทคเองก็ขับเคลื่อนนโยบายด้านการวิจัยและพัฒนาตอบโจทย์ “การเกษตร” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ วางทิศทางการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร รองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและความต้องการของเกษตรแปลงใหญ่

เทคโนโลยีและเกษตรแปลงใหญ่ กลายเป็นโจทย์ท้าทายของทั้งภาคธุรกิจ รวมถึงภาคการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบความต้องการและความท้าทายใหม่ ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. เป็นขุมพลังหลักของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการพัฒนาระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็ง ตามนโยบายที่ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบไว้คือ “เอกชนนำ รัฐสนับสนุน” เพิ่มบทบาทการทำงานเชิงรุกผลักดันงานวิจัยให้เข้าถึงประชาชนและใช้ประโยชน์ในวงกว้าง สำหรับเกษตรกรรมซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย ยังตอบกลยุทธ์ NANOTEC Flagship ที่มี 4 Strategic Focus คือ สารสกัดสมุนไพร ชุดตรวจสุขภาวะ น้ำและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเกษตรและอาหาร

“การวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร รองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและความต้องการของภาคการเกษตรไทย อาทิ โดรน เครื่องมืออัตโนมัติ กึ่งอัตโนมัติ หรือเกษตรแปลงใหญ่ ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้กับเกษตรกร รวมถึงสร้างมูลค่าให้กับทั้งห่วงโซ่การผลิต นับเป็นความท้าทายใหม่ที่เราวางแผนการทำงานอย่างเต็มที่ รวมถึงกลยุทธ์ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์งานวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้บทบาท solution partner อีกด้วย ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ พันธมิตรนวัตกรรมอย่าง บริษัท ฟ้าอรุณ พืชผลเพื่อไทย จำกัด” ผู้อำนวยการนาโนเทคย้ำ

นางตรีพิพัฒน์ ศิลปการสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟ้าอรุณ พืชผลเพื่อไทย จำกัด กล่าวว่า ฟ้าอรุณฯ เป็นผู้นำทางด้านการผลิตปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน ธาตุอาหารรอง-เสริม การทำงานร่วมกับเกษตรกรไทย ทำให้เราอยากให้เขาทำแล้วมีกำไร ขายผลผลิตทางการเกษตรแล้วมีเงินเหลือใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลืมตาอ้าปากได้ และไปได้ไกลเหมือนเกษตรกรของญี่ปุ่น อิสราเอล และประเทศอื่นๆ ที่ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยให้เกษตรกรรมไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้เราเก่งด้านการทำตลาด แต่ในมุมวิชาการ เราต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีนักวิจัยที่เก่งด้านวิจัย ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อการเกษตรและยกระดับการเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน

เมื่อฟ้าอรุณฯ ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมจึงเป็นคำตอบ จากการแนะนำของเพื่อนให้รู้จักกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีงานวิจัยและนวัตกรรมหลายๆ อย่างทางด้านการเกษตร ทำให้ฟ้าอรุณฯ ได้ต่อยอดงานวิจัย “สารคีเลตจุลธาตุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่พืช” ที่จดสิทธิบัตรแล้ว โดยร่วมมือกับ ดร. คมสันต์ สุทธิสินทอง หัวหน้าทีมวิจัยเกษตรนาโนขั้นสูง (Advanced Nano Agriculture, ANA) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน สู่ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ด้านเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกร

“ตลาดรวมปัจจัยการผลิตเพื่อการเกษตรมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งตลาดใหญ่เป็นกลุ่มยาฆ่าหญ้าที่มีมูลค่าราว 1 แสนล้านบาท ในขณะที่ตลาดปุ๋ยธาตุรอง/เสริม ที่เรามีส่วนแบ่งตลาดนั้น มีมูลค่าราว 4-5 หมื่นล้านบาท โดยหากนับจากแบรนด์ของฟ้าอรุณเอง จะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ 0.5% ของมูลค่าตลาดปุ๋ยธาตุรอง/เสริม แต่หากมองภาพมูลค่ารวมของแบรนด์ลูกค้ากลุ่ม OEM ที่มีมากกว่า 200 บริษัท รวมกว่า 300 แบรนด์ เราครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 10% ของตลาดรวม ซึ่งหากพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นก็จะเติบโตคู่ขนานทั้งในเชิงธุรกิจ และคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย” กรรมการผู้จัดการ ฟ้าอรุณฯ กล่าว

นางตรีพิพัฒน์กล่าวว่า เราต่อยอดงานวิจัยปุ๋ยนาโนคีเลตออกมาเป็นสูตรที่เน้นใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ปุ๋ยคีเลตใช้ร่วมกับโดรนทางการเกษตร และ ปุ๋ยคีเลตทางระบบน้ำ เพื่อจุดประสงค์สำคัญคือการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ของไทย ที่จะช่วยควบคุมต้นทุนการผลิต และเพิ่มกำไรให้กับเกษตรกรได้ นอกจากนี้ยังตอบความต้องการหลักของเกษตรกรที่ต้องการประสิทธิภาพที่เห็นได้จริง โดยที่นวัตกรรมจะเป็นจุดแข็งของฟ้าอรุณฯ เช่นเดียวกับความร่วมมือกับนาโนเทค สวทช. ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้า และเกษตรกรทุกกลุ่ม

นอกจากนี้ ฟ้าอรุณฯ ยังวางเป้าหมายรายปีที่จะพัฒนานวัตกรรมด้านปุ๋ยออกสู่ตลาดอย่างน้อย 5 นวัตกรรม รวมถึงการสร้างนวัตกรรมด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร อาทิ แอพพลิเคชั่นปุ๋ยยา หรือนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ด้วยมองว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ของเราที่อยู่ในด้านเกษตรกรรม เกี่ยวข้องกับคน สิ่งแวดล้อม เราก็ต้องปรับ เพราะไม่ได้ขายแค่วันนี้ แต่อยากโตแบบยั่งยืนไปพร้อมเกษตรกรไทย การมองแนวโน้มเทคโนโลยีของโลกแล้วขยับตามจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่นเรื่องของโดรน

“โดรนเป็นเทรนด์ที่กำลังมา ด้วยข้อจำกัดเรื่องแรงงานที่หายากขึ้น เกษตรกรสูงอายุขึ้นและขาดคนสานต่อ รวมถึงเทรนด์สุขภาพ ที่คนห่วงการทำงานกับปุ๋ยหรือสารเคมี โดรนจะเข้ามาลดข้อจำกัดนี้ ซึ่งเราก็ต้องมาคิดหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการทำงานของโดรน” ผู้บริหาร ฟ้าอรุณฯ เผย

โดรนที่ขึ้นบินจะพ่นปุ๋ยเหลวไปยังพื้นที่การเกษตร ซึ่งมี 2 ปัญหาที่พบคือ เมื่อพ่นแล้วเกิดการฟุ้งกระจาย ทำให้เกิดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ไประหว่างการฉีดพ่น และสารที่ฉีดพ่นนั้น ไม่สามารถซึมผ่านชั้นแวกซ์ของใบพืชได้ พืชก็จะดูดซึมไปใช้งานได้น้อย ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร จาก Pain Point เหล่านี้ ฟ้าอรุณฯ ได้ร่วมกับนาโนเทค พัฒนาปุ๋ยนาโนคีเลตที่มีประสิทธิภาพในการแทรกซึมเข้าสู่เซลล์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ออกสู่เชิงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว

สำหรับปุ๋ยนาโนคีเลต ผลงานของ ดร. คมสันต์ สุทธิสินทอง จากทีมวิจัยเกษตรนาโนขั้นสูง กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน นาโนเทค สวทช. เป็นการต่อยอดงานวิจัย “สารคีเลตจุลธาตุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่พืช” ที่แก้ปัญหาการสูญเสียและไม่ค่อยได้ประสิทธิภาพของการเติมจุลธาตุอาหารให้กับพืช ด้วยธาตุอาหารกลุ่มนี้ตกตะกอนง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ปุ๋ยนาโนคีเลตพัฒนาขึ้นจากการใช้อนุพันธ์ของกรดอะมิโนซึ่งเป็นหน่วยย่อยขององค์ประกอบประเภทโปรตีนของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ผ่านกระบวนการห่อหุ้มจุลธาตุอาหารในรูปแบบสารเชิงซ้อน ให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดี พร้อมพัฒนาให้สามารถห่อหุ้มจุลธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการยึดเกาะใบด้วยสารโมเลกุลขนาดใหญ่สลายตัวได้ตามธรรมชาติ จึงสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ได้ 20-50% โดยมีการพัฒนาต่อเนื่อง ให้เหมาะกับพืชผลไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน ข้าว และเตรียมขยายสู่พืชเศรษฐกิจของไทยอย่างมันสำปะหลัง อ้อย ในอนาคต

“การพัฒนาปุ๋ยหรือปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรสมัยใหม่ เป็นเรื่องที่ท้าทาย และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องวิจัยและพัฒนาเป็นลำดับต้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นเศรษฐกิจฐานรากของคนไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพจะช่วยควบคุมต้นทุน และเพิ่มผลกำไรให้กับเกษตรกรได้อย่างมีนัยสำคัญ” ดร.คมสันต์กล่าว พร้อมย้ำว่า การผลักดันงานวิจัยและเทคโนโลยีด้านการเกษตรออกสู่ภาคเกษตรของไทย จะช่วยให้เกษตรกรต่อสู้กับปัญหาสำคัญต่างๆ เช่น ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

]]>
นาโนเทค-สภาเภสัชกรรม ร่วมหารือขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ชุดตรวจโรคไต https://www.nanotec.or.th/th/nantec-nstda-pharmacycouncil-kidneydisease-screeningtest-11102024/ Fri, 11 Oct 2024 09:01:54 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=24838

11 ตุลาคม 2567 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศ.ดร. ศิวพร มีจู สมิธ รองผู้อำนวยการนาโนเทค พร้อมด้วย ดร. เดือนเพ็ญ จาปรุง Driver S&T implementation for Sustainable Thailand ชุดตรวจคัดกรองโรคไต และภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน และ ดร. วีรกัญญา มณีประกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน เข้าหารือร่วมกับ ภก. ปรีชา พันธุ์ติเวช และ รศ. ภญ. สุณี เลิศสินอุดม คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ถึงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ชุดตรวจโรคไตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

]]>
นาโนเทค สวทช. ร่วมประชุม COSTI-86 ณ สิงคโปร์ https://www.nanotec.or.th/th/nanotec-nstda-costi86-meeting-singapore-11102024/ Fri, 11 Oct 2024 07:45:46 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=24831

ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 86 (The 86th Meeting of ASEAN Committee on Science, Technology, and Innovation: COSTI-86) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เช่น Sub -Committee on S&T Infrastructure and Resources Development (SCIRD), Board of Advisor to COSTI (BAC) เป็นต้น โดยการประชุมในครั้งนี้ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของอว. เข้าร่วมประชุม

กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อประชุมหารือ รายงานข้อมูลสถานะการดำเนินกิจกรรม/โครงการของประเทศไทย ติดตามการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียน และแลกเปลี่ยนนโยบายการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมกับประเทศอื่น ๆ รวมทั้งการรายงานสรุปรายงาน ASEAN RI Landscape Study ในฐานะที่ดร. อุรชาดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะทำงาน ASEAN RRI Task Force


นอกจากนี้ ดร. ณัฐพร พิมพะ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยการเร่งปฏิกิริยา การดูดซับและการคำนวณระดับนาโน นาโนเทค สวทช. ในฐานะผู้ได้รับรางวัล ASEAN US science prize for women ในปี 2014 ได้เข้าร่วมกิจกรรม ASEAN Women in Science Hub (A-WISH) ภายใต้การสนับสนุนของ ASEAN-USAID Partnership Program ในครั้งนี้อีกด้วย

]]>
“ศุภมาส” นำทีม อว. ร่วมประชุม STS forum 2024 ชู “คน” สร้างอนาคตไทย ด้าน นาโนเทค สวทช. ร่วมเวทีเสวนายกระดับอนาคตเสริมอุดมศึกษา https://www.nanotec.or.th/th/nanotec-nstda-mhesi-stsforum2024/ Tue, 08 Oct 2024 08:37:59 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=24823

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าร่วมเปิดการประชุมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคม ครั้งที่ 21 (Science and Technology in Society: STS forum 2024) ภายใต้กรอบแนวคิด “What do we need from S&T?” ซึ่งเป็นเวทีหารือด้านนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น พร้อมร่วมการแสดงปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิด โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมและพัฒนากำลังคนขั้นสูงทางด้าน AI เพื่อรองรับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การพัฒนาการศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา การ Upskill และ Reskill ให้ประชาชนสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2030

จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T Ministers’ Roundtable Meeting) ในประเด็น “Transformative Science, Technology and Innovation Policy to Strengthen Innovation Ecosystems” ติดตามโดย ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) น.ส.ศุภมาส ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการรับมือกับปัญหาท้าทายของโลกยุคปัจจุบัน พร้อมแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนและการเติบโตที่เหมาะกับบริบทของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ดำเนินการหลายโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ มุ่งเน้นการศึกษาในสาขา STEM การเรียนรู้แบบดิจิทัล และทักษะที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์ไฟฟ้า ชีวเทคโนโลยี และพลังงานทดแทน อีกทั้ง ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติ ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัย โดยเฉพาะในภาคการเกษตร การดูแลสุขภาพ และเศรษฐกิจสีเขียวหมุนเวียน รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อเร่งรัดการสร้างนวัตกรรมและการแก้ปัญหาผ่านฮับนวัตกรรมและกลุ่มวิจัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้เน้นความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและการเติบโตที่ยั่งยืน ซึ่งการใช้เครื่องมือดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันนวัตกรรมและบรรลุ SDGs ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ ในช่วงเช้าก่อนการประชุม นางสาวศุภมาส ได้ร่วมรับประทานอาหารเช้ากับรัฐมนตรีจากประเทศต่าง ๆ พร้อมผู้แทนของแต่ละประเทศ และผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรทั้งญี่ปุ่น รวมกว่า 30 คน โดยไทยได้แสดงความมุ่นมั่นในการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต

ในขณะเดียวกัน ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ได้รับเชิญเข้าร่วม Plenary session เสวนาในหัวข้อ shaping the Future of higher Education ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในบทบาทหน่วยงานวิจัยที่มีส่วนร่วมกับการส่งเสริมอุดมศึกษา ผ่านการวิจัยและพัฒนาคนได้อย่างไร ซึ่งผู้บริหารนาโนเทคได้นำเสนอภาพของ สวทช. ที่การพัฒนาบุคลากรด้าน วทน. นั้น จำเป็นต้องเริ่มจากระดับต้น  ยกตัวอย่างของไทยที่มี โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน : Junior Science Talent Project (JSTP) โดย สวทช. สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และ โครงการทุนสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว สำหรับระดับปริญญาโทในภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology: Tokyo Tech) และสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย เพื่อเป็นการบ่มเพาะบุคลากรคุณภาพในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง สู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในด้านของยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังมีบทบาทอย่างมากสำหรับเทคโนโลยีอนาคต

นอกเหนือจากศักยภาพด้าน วทน. ยังต้องมีศักยภาพอีกด้านที่จำเป็นร่วมกัน นั่นคือ สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน รวมถึงทักษะสังคม (soft skill) ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบและความสามารถในการปรับตัว ที่จะช่วยให้กำลังคนของเราในอนาคต สามารถก้าวทันเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลง

การเตรียมความพร้อมรับมือเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) ดร. อุรชาชี้ว่า มี 4 มิติที่ต้องเตรียมให้พร้อม นั่นคือ การพัฒนาความสามารถ โดยเฉพาะแรงงานทักษะที่ภาคอุดมศึกษาต้องเตรียมรองรับความต้องการ, โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง คลาวน์คอมพิวติ้งและระบบบริหารจัดการข้อมูลความปลอดภัยต่างๆ, การรับรู้ด้านเทคโนโลยีและจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง สุดท้ายคือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา สถาบัน/องค์กรวิจัย และภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีอย่างมีประสิทธิภาพ

 

“ประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่ง อว.  โดย รอว. ศุภมาส ประกาศนโยบาย อว. for AI ที่นายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) เพื่อผลักดันทุกมิติอย่างเต็มศักยภาพ” ดร. อุรชาย้ำ

]]>