นาโนเทคโนโลยี – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) https://www.nanotec.or.th/th Fri, 17 Feb 2023 03:17:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8 https://www.nanotec.or.th/th/wp-content/uploads/2016/10/cropped-ff-1-32x32.png นาโนเทคโนโลยี – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) https://www.nanotec.or.th/th 32 32 นาโนเทค สวทช. สร้างความร่วมมือร่วมกับพันธมิตร ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 – 4 กุมภาพันธ์ 2566 https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3/ Fri, 17 Feb 2023 03:14:52 +0000 https://www.nanotec.or.th/th/?p=22123 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และประธานสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (ANF) พร้อมด้วย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และเลขานุการสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (ANF) เข้าร่วมงานประชุม Asia Nano Forum Executive Committee Meeting 2023 (ANF ExCo Meeting 2023) เพื่อรายงานสรุปกิจกรรมตลอดปี 2565 และหารือกิจกรรมระหว่างประเทศสมาชิก โดยจัดขึ้นร่วมกับงาน The 22nd International Nanotechnology Exhibition & Conference (nano tech 2023) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ดร.เวฬุรีย์ ทองคำ นักวิชาการอาวุโส งานความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ในฐานะตัวแทนของนาโนเทคเพื่อรายงานความคืบหน้าการทำงานภายใต้ Working Group on Nanosafety & Risk Management เกี่ยวกับกิจกรรมความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีในภูมิภาคผ่านเครือข่าย Asia Nano Safety

นอกจากนี้ ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโนและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด (ประเทศไทย) ได้รับเชิญนำเสนอในหัวข้อ “Nano Coating Tech: Research-to-Commercialization” ในงาน ANF Workshop on Commercialization

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.วรรณี ฉินศิริกุล (ผศน. และประธาน ANF) ได้รับเชิญให้บรรยายเรื่อง “Nanotechnology Activities of NANOTEC, Thailand and Asia Nano Forum” ในงาน The 15th  Nanotech Association Conference จัดโดย Nanotechnology Business Creation Initiative (NBCI) & JTB Communication Design ซึ่งมี 8 ประเทศเข้าร่วม อาทิ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา นำเสนอในงานดังกล่าว ทั้งนี้ NBCI จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจทางด้านนาโนเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ

 

นอกจากนี้ ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ (รอง ผศน.) และ ดร. เดือนเพ็ญ จาปรุง (ผอ. กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน) ได้รับเชิญนำเสนอในหัวข้อ “Nano Characterization Facility and Networking in Thailand” ในงาน 2023 Symposium on User-Facility Network in Asia กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ Working Group on User-Facility Network เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและโครงสร้างพื้นฐานด้าน nanofab, nanobio และ nano-characterization ในภูมิภาคเอเชีย

ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (The Asia Nano Forum – ANF) ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 โดยมีประเทศสมาชิกร่วมก่อตั้ง 6 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น ประเทศไทย ออสเตรเลีย เวียดนาม อินเดีย และสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านนาโนเทคโนโลยีในกลุ่มประเทศสมาชิกและร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันมีสมาชิก 14 หน่วยงานจาก 10 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม โดยในปี 2565-2566 ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธาน และ ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นเลขานุการของสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยมีงาน ICO ทำหน้าที่เป็นทีมเลขาธิการ ANF โดยมีบทบาทหน้าที่การดำเนินงานดังนี้

1) จัดกิจกรรมการประชุมของสมาคมฯ อาทิ ANF ExCo Meeting, ANF Office Bearers และ ANF Summit)

2) จัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ANF

3) จัดทำจดหมายข่าว และรายงานกิจกรรมของ ANF เพื่อเผยแพร่ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ANF

 

 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.วรรณี ฉินศิริกุล และคณะจากนาโนเทคหารือความร่วมมือ ณ Tokai University (วิทยาเขต Shonan) ประเทศญี่ปุ่น โดย Prof. Rio Kita (Director of the Micro/Nano Technology Center), Prof. Shigeru Yamaguchi (General manager global initiatives) และกลุ่มนักวิจัยของศูนย์ฯ เข้าร่วมหารือ โดยมีแผนผลักดันการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับระบบไมโครฟลูอิดิก ระบบจุลภาค (MPS) ที่ใช้ในการทดสอบกับสัตว์สำหรับการวิจัยทางการแพทย์ เภสัชกรรม และชีววิทยาศาสตร์

อีกทั้งยังได้เข้าพบคณะทำงานของ Japan Science and Technology Agency (JST) เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการให้ทุนสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศ อาทิ SATREPS, SAKURA, e-ASIA และ JRP เป็นต้น โดยมี Mr. Osamu Kobayashi (Director of Department of International affairs) นำเสนอความร่วมมือระหว่าง JST และประเทศไทย โดย JST เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยระดับชาติที่มีพันธกิจมุ่งเน้นด้านนวัตกรรม เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย และผลักดันการสร้างงานวิจัยที่สามารถสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับสังคมโลก

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.วรรณี ฉินศิริกุล และ ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ เดินทางเข้าหารือความร่วมมือร่วมกับ Prof. Takeshi Kikutani, Professor of Department of Materials Science and Engineering, School of Materials and Chemical Technology, Tokyo Institute of Technology (Tokyo Tech) เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือด้านการผลิตเส้นใย ซึ่งมีความร่วมมือกับกลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโนในหัวข้อ “The development of polypropylene nanocomposite fibers” ตั้งแต่ปี 2562

 

 

]]>
กรองน้ำกร่อย/เค็มด้วย “อัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวง” https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b9%87%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2-%e0%b8%ad/ Mon, 13 Jan 2020 06:47:10 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=12145

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติหรือนาโนเทค สวทช. เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและ มนุษยชาติผ่านงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

หนึ่งในนั้นคือ เรื่องน้ำ ที่นาโนเทคพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกรอง/บำบัด เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสม เช่นน้ำดีสำหรับอุปโภคบริโภค หรือน้ำทิ้งตามมาตรฐาน สำหรับปล่อยทิ้งแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งการรี-ไซเคิล นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ โดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green technology) รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ปัญหา (Solution provider) ที่เหมาะสม รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรเพื่อบูรณาการร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านน้ำเพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของประเทศ

จุดเด่นด้านเทคโนโลยีนาโนที่ตอบโจทย์เรื่องน้ำ คือ ขนาด ซึ่งขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีพื้นที่สำหรับดักจับหรือย่อยสลายสารปนเปื้อน (มลสาร) ได้มากขึ้น รวมถึงสมบัติทางพื้นผิว สามารถปรับปรุงพื้นผิวของวัสดุกรองให้มีสมบัติพิเศษ เช่น กรองและยับยั้งเชื้อ หรือพัฒนาชั้นฟิลม์บางบนไส้กรองเพื่อเลือกดักจับเกลือ

งานวิจัย “ไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันที่มีชั้นฟิลม์บางพิเศษ (Thin-film nanocomposite ultrafiltration membrane)” โดยดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำกร่อย โดยเพิ่มคุณสมบัติให้กับไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันด้วยการเคลือบฟิล์มบาง ให้สามารถกรองสิ่งที่มีขนาดเล็ก เช่น ไวรัส หรือเกลือ ได้ โดยใช้อัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวง ที่ห้องปฏิบัติการได้สังเคราะห์อนุภาคนาโนจากวัสดุที่ได้แรงบันดาลใจจากสารในธรรมชาติมาเป็นสารเคลือบผิว ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนพื้นผิวของพีวีดีเอฟเมมเบรนด้วยวิธีดิฟโคสติ้งและวิธีลิควิดโฟลทรูโมดูล และได้ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและองค์ประกอบทางเคมีของพีวีดีเอฟเมมเบรนที่เคลือบด้วยอนุภาคนาโนจากวัสดุที่ได้แรงบันดาลใจจากสารในธรรมชาติด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เอทีอาร์ฟลูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรดสเปคโทรมิเตอร์ และเครื่องวัดมุมสัมผัสของน้ำบนพื้นผิวเมมเบรน ได้ทดสอบประสิทธิภาพของเมมเบรนโดยการกรองอนุภาคต่างๆ นอกจากนี้ได้ทดสอบความคงทนของเมมเบรนในระยะยาว ดังนั้นเครื่องทดสอบระบบการกรองน้ำด้วยน้ำอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวงจึงเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพการกรองน้ำด้วยอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวงในโครงการวิจัยนี้

เครื่องทดสอบระบบการกรองน้ำด้วยอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวง โดยอาศัยแรงดันจากปั้มน้ำที่ทำให้น้ำปนเปื้อนไหลผ่านเข้าไปในโมดูลที่มีเส้นใยท่อกลวงเมมเบรนอยู่ภายใน โดยน้ำปนเปื้อนจะถูกขับเคลื่อนผ่านรูพรุนของเมมเบรนจากผิวด้านนอกเข้าไปด้านในของเมมเบรน (Outside in) โดยโมเลกุลหรือสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ใหญ่กว่ารูพรุนของเมมเบรนจะไม่สามารถผ่านไปได้ น้ำสะอาดที่ผ่านการกรองด้วยเมมเบรนจะถูกชั่งน้ำหนักเพื่อหาค่าการแพร่ผ่านของน้ำ (Water permeability) เครื่องทดสอบระบบการกรองน้ำนี้จะประกอบไปด้วย วาล์วปิดเปิดให้น้ำไหลผ่านท่อน้ำ ระบบวงจรไฟฟ้า ระบบควบคุมแรงลมเพื่อใช้ทำความสะอาดเมมเบรนเส้นใยท่อกลวงหลังการกรอง ระบบวัดและควบคุมความดันน้ำ เครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องทดสอบระบบกรองน้ำนี้ยังสามารถต่อกับโปรแกรมในคอมพิวเตอร์เพื่อติดตามและบันทึกผลการกรองได้อย่างแม่นยำ

ไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันที่เคลือบด้วยชั้นฟิลม์บางพิเศษ เพื่อทำให้ไส้กรองสามารถกรองน้ำกร่อยน้อย ที่ความเค็มไม่เกิน 1 กรัมต่อลิตร ให้สามารถมีความเค็มไม่เกิน 0.25 กรัมต่อลิตร หรืออยู่ในระดับที่สามารถดื่มได้ โดยใช้แรงดันน้ำน้อยลง เหลือราว 2 บาร์ ซึ่งสามารถต่อกับก๊อกน้ำได้ โดยไม่ต้องมีเครื่องปั๊ม” นักวิจัยกล่าว พร้อมชี้ว่า ปัจจุบันได้พัฒนาต้นแบบ ทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ และอยู่ระหว่างหาผู้ประกอบการร่วมวิจัยพัฒนาต้นแบบในระดับอุตสาหกรรม

“นาโนเทคเอง มีเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการรับมือกับปัญหาด้านคุณภาพน้ำทั้งในยามที่เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม หรือภัยแล้ง เห็นได้จากปัจจุบัน ที่มีกระแสความตื่นตัวเรื่องของน้ำประปากร่อย/เค็มจากภาวะภัยแล้งและน้ำทะเลหนุนสูง เรามีงานวิจัย และเทคโนโลยีพร้อมรับมือปัญหา ที่สำคัญ ปีนี้ ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำ มีแหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะช่วยได้คือ ร่วมมือร่วมใจกันกันประหยัดน้ำ พยายามนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และบรรเทาปัญหาสำหรับภาคการเกษตร”

]]>
นาโนเทคอวดโฉมนวัตกรรมรับ กวทช. https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%89%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a3/ Mon, 18 Nov 2019 02:06:38 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=12012  

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ต้อนรับคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ในโอกาสการเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านวิจัยและพัฒนาของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ซึ่งครั้งนี้ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. พร้อมด้วยทีมผู้บริหารและนักวิจัย ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG Model” ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์กลุ่มอุตสาหกรรม 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ด้านการเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงานและวัสดุ และการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ นาโนเทค เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้นาโนเทคโนโลยีในงานวิจัยตาม BCG Model 3 กลุ่ม ได้แก่

ด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์กลุ่มอาหารเสริมสุขภาพทั้งในคนและสัตว์ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากพอลิโคซานอลที่สกัดมาจากไขอ้อย และอาหารเสริมสุขภาพจากน้ำมันงาขี้ม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเสริมประสิทธิภาพการดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอาหารเสริมสุขภาพของคน และยังมีไฮโดรเจลกักเก็บโปรตีนสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์น้ำ และไข่ออกแบบได้ นวัตกรรมสารอาหารสำหรับไก่เพื่อเพิ่มคุณภาพของไข่ ที่ตอบความต้องการของอุตสาหกรรมสัตว์เศรษฐกิจ เป็นต้น

 

ด้านสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นเรื่องของนาโนเทคโนโลยีเพื่อนำส่งสารสำคัญสมุนไพร สำหรับการประยุกต์ใช้ด้านสุขภาพและการแพทย์แม่นยำ (Herbs and Cosmeceutical, Medical and Healthcare) เช่น การพัฒนาโนเวชสำอางจากอนุภาคนาโนสารสกัดสมุนไพรไทย การพัฒนาอนุภาคนาโนเพื่อใช้ในชุดตรวจแบบรวดเร็วสำหรับการวินิจฉัยโรคทั้งในคนและสัตว์ รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเข็มขนาดนาโนเมตรเพื่อการนำส่งยาและการวินิจฉัยทางการแพทย์ในอนาคตอีกด้วย

 





ด้านพลังงานและวัสดุ มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการลดปริมาณคาร์บอน ผลิตพลังงานและสารเคมีมูลค่าสูง ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงประดิษฐ์ หรือ Artificial Photosynthesis (AP) โดยผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่จำลองมาจากการสังเคราะห์แสงของพืช ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยา นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปชีวมวลให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ เช่น การพัฒนาพลาสติกชีวภาพ (Biopalstic) จากวัสดุเหลือทิ้ง แทนการผลิตพลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทั้งนี้ เพื่อการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ สู่ชั้นบรรยากาศ

นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการผลิตพลังงาน ด้วยสารเคลือบนาโนชนิดพิเศษจากการพัฒนาสารดูดซับความร้อนที่ผสมนาโนซิลิกาและอนุภาคนาโนกราฟีนที่มีการยึดเกาะบนผิวท่อแสตนเลสได้ดีและสามารถดูดซับความร้อนได้มากขึ้นโดยนำไปใช้กับท่อดูดซับความร้อนในระบบผลิตพลังงานแบบ Parabolic trough solar concentrator




การนำเสนอนวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนาของนาโนเทค สวทช. ในครั้งนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจาก คณะกรรมการ กวทช. และจะนำไปหารือร่วมกันเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันกับ สวทช. ต่อไป

]]>
นาโนเทคเดินหน้าหารือผู้ประกอบการรอบ 2 มั่นใจ “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” ตอบโจทย์อุตฯ เครื่องสำอางไทย https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9c%e0%b8%b9/ Thu, 07 Nov 2019 07:38:18 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=11983

เครื่องสำอางและเวชสำอางเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศกำลังผลักดัน ซึ่งนาโนเทคเองกำลังทำงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง ผ่านการระดมความคิดเห็นในหลายๆ กลุ่ม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งในวันนี้ และในการประชุมครั้งแรกถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมนี้ เราจึงอยากรับฟังแนวทางที่สร้างสรรค์ในการยกระดับขีดความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมนี้ – ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา นาโนเทค สวทช.

(6 พย. 2562)   จากความตื่นตัวของผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่มุ่งเน้นการส่งออกและผลิตวัตถุดิบ รวมไปถึงนักวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการประชุมระดมความเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ในการเดินหน้าโครงการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” หรือ Thai Cosmepolis นำมาสู่การประชุมระดมความเห็นฯ ในครั้งที่ 2 ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับลูกนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ โดย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา และ ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการด้านบริหาร นาโนเทค ร่วมดำเนินการ ซึ่งในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่เน้นการขายในประเทศ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 60 คน

          ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้จัดการโครงการ “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง (Thai Cosmepolis)”กล่าวในการเปิดการประชุมระดมความเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย ครั้งที่ 2 ว่า โครงการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอางนี้ อยู่ภายใต้ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy) ที่ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้ความสำคัญ ในเรื่องของเครื่องสำอางและเวชสำอางที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มการแพทย์แม่นยำ และกลุ่มสุขภาพการแพทย์ ใน BCG Model ของประเทศ

          “เครื่องสำอางและเวชสำอางเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศกำลังผลักดัน ซึ่งนาโนเทคเองกำลังทำงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง ผ่านการระดมความคิดเห็นในหลายๆ กลุ่ม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งในวันนี้ และในการประชุมครั้งแรกถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมนี้ เราจึงอยากรับฟังแนวทางที่สร้างสรรค์ในการยกระดับขีดความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมนี้” ดร.อุรชากล่าว พร้อมชี้ว่า การประชุมระดมความเห็นฯ ในครั้งต่อไป (ครั้งที่ 3) จะมุ่งเน้นมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย หน่วยงานที่ให้บริการทดสอบ หน่วยงานภาครัฐ ส่วนครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จะเป็นการจัดทำประชาพิจารณ์ต่อร่างสมุดปกขาว (White Paper) นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

          เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง มีกรอบการทำงานภายใต้ 4 เสาหลัก ได้แก่ ฐานข้อมูล (Database) ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลสารสกัดสมุนไพร และงานวิจัยที่มีทั้งในและต่างประเทศ, โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งมาตรฐานการวิเคราะห์ ระบบทดสอบความปลอดภัย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงภาคนโยบายด้านมาตรฐานภายในประเทศ, การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่ทั้ง สวทช. และมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำอยู่ เพื่อวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพร หรือองค์ประกอบ วัตถุดิบของไทย และหน่วยบริการแบบครบวงจร (One Stop Service) เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน

          โดยเป้าหมายระยะสั้นคือการเป็นศูนย์กลางด้านเครื่องสำอางของอาเซียน และเครือข่ายผู้ให้บริการ (Solution Provider Network) ก่อนที่จะขยับสู่เป้าหมายระยะกลาง คือ การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการใช้สารสกัดสมุนไพรไทย เป็นสารออกฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระยะยาว คือ การเพิ่มมูลค่าการส่งออกสารสกัดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์กลุ่มเวชสำอางไม่น้อยกว่า 4,400 ล้านบาท ภายในปี 2565 ในขณะเดียวกัน ก็จะผลักดันให้มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานสากลออกจำหน่ายไม่น้อยกว่า 100 ผลิตภัณฑ์ต่อปี  พร้อมฐานข้อมูลสารสกัดสมุนไพรและสารออกฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 1,000 รายการ

          “สิ่งที่เรามองเห็นคือ องค์ประกอบทุกอย่าง ไทยมีหมดแล้ว แต่ไม่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น โมเดลการทำงานของเราจึงอยู่ภายใต้แนวคิด Connect Dots ที่จะไปเชื่อมแต่ละจุด ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), ด้านการบริการ อย่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ, ด้านการทดสอบอย่างห้องปฏิบัติการต่างๆ, ด้านมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันมาตรวิทยา (มว.)หรือ สมอ., ด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างโรงงานต้นแบบจีเอ็มพี อุทยานวิทยาศาสตร์ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ อีอีซีไอ ศูนย์บ่มเพาะ รวมถึงด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ”

    การประชุมระดมความคิดเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย ครั้งที่ 2 นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นได้แก่
1. แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลกลาง (Database) กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย แนวทางการสร้างกลไกสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในอนาคต และการจัดตั้ง “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง (Thai Cosmepolis)”
2. แนวทางด้านการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การทดสอบเพื่อการอ้างอิงสรรพคุณ (Functional claims) ในเครื่องสำอางเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย

          โดยผลจากการประชุมระดมความคิดเห็นฯ ในครั้งนี้ ในข้อที่ 1 มองไปในมุมของฐานข้อมูลกลางสำหรับพืชสมุนไพรที่เน้น 3 เรื่องหลักคือ ชนิดของพืช ประสิทธิภาพและกฎข้อบังคับ โดยเป็นฐานข้อมูลสารเติมแต่งเครื่องสำอาง (Cosmetics Ingredient Database: Cosing) ที่เชื่อมกับฐานข้อมูลของ อย. รวมถึงฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน/กฎระเบียบการส่งออกของแต่ละประเทศที่เป็นตลาดปลายทาง  อาทิ ผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ สารต้องห้ามในแต่ละประเทศ เป็นต้น

          ส่วนในข้อที่ 2 เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทดสอบที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญและต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของการแยกประเภทการวิเคราะห์ทดสอบ ระหว่างเครื่องสำอางและเวชสำอาง รวมถึงแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาที่ต้องการ ที่ให้ความสำคัญเรื่องของความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

          “การประชุมระดมความคิดเห็นฯ ทำให้เราเห็นภาพของอุตสาหกรรม ความต้องการ และปัญหาที่ชัดขึ้น บางครั้งเห็นมุมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น Contact Point หรือฐานข้อมูลมาตรฐาน/กฎระเบียบการส่งออกของแต่ละประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ ให้ภาพของเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอางครบถ้วน สมบูรณ์ ตอบโจทย์ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง” ดร.อุรชากล่าว

          ภายหลังการประชุมระดมความเห็น ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวสรุปว่า ในเบื้องต้น ผลการระดมความคิดเห็นตอบโจทย์ 4 เสาหลักจำเป็นจะต้องเชื่อมโยงทุกมิติให้ตอบโจทย์ 4 เสาหลัก ที่จะทำให้กรอบการทำงานชัดเจนขึ้น

          “หลังจากวันนี้ เราควรจะนำร่องด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1 ตัว เพื่อให้ภาพการดำเนินการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอางชัดเจนขึ้นตั้งแต่เสาหลักที่ 1 ไปจนถึงเสาหลักที่ 4 จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สมุนไพรแบบครบวงจร เพื่อให้เกิด Change Agent ได้ง่ายและเร็วขึ้น โดยนาโนเทคเอง พร้อมที่จะสนับสนุน” ดร.สุธีชี้

 

 

 

 

]]>
นาโนเทค โชว์ผลงานวิจัยเทคโนโลยีสารเคลือบพลังงานแสงอาทิตย์ ในงาน “พสวท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” ครั้งที่ 3 https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84-%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b9%80/ Sat, 08 Sep 2018 08:46:36 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=11371 นาโนเทค สวทช. โดยห้องปฏิบัติการเคลือบผิวนาโนเฉพาะทาง เข้าร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยเทคโนโลยีสารเคลือบพลังงานแสงอาทิตย์ ในงาน “พสวท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยนยน 2561 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด
โดยนิทรรศการดังกล่าวเป็นการนำผลงานจากนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมถึงภาคเอกชนไทยที่สร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มวิจัยอุตสาหกรรมภายใต้ Thailand 4.0 ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการเคลือบผิวนาโนเฉพาะทาง นาโนเทค ได้นำเสนอเทคโนโลยีการเคลือบผิวด้วยวัสดุนาโนที่ช่วยเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพและสมบัติใหม่ให้กับวัสดุ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ จากการพัฒนาสารเคลือบเพื่อใช้งานกับเซลล์แสงอาทิตย์และแผงพลังงานรวมแสงอาทิตย์ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

]]>
นาโนเทค-สวทช. จับมือ ม.เซี่ยงไฮ้ ร่วมวิจัยวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม คาดเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัยและผผลงานของไทย https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%a1-%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%b5/ Fri, 07 Sep 2018 11:57:16 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=11367 ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ศ.หลี่ยี่ ฉือ (Prof. Liyi Shi ) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีและนาโนศาสตร์ (NTC) มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมลงนามความร่วมมือในการนำนาโนเทคโนโลยีมาพัฒนางานวิจัยด้านวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green NanoMaterials) (The Signing Ceremony for the Joint Research and Development Center between NanoScience and Technology Research Center, Shanghai University (NTC-SHU), The People’s Republic of China and National Nanotechnology Center (NANOTEC), Thailand) พร้อมแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลงานและนักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีของไทยต่อไป ณ อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

 

]]>