อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) https://www.nanotec.or.th/th Tue, 10 Mar 2020 06:35:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.8 https://www.nanotec.or.th/th/wp-content/uploads/2016/10/cropped-ff-1-32x32.png อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) https://www.nanotec.or.th/th 32 32 ทีเซลส์-นาโนเทค สวทช. จับมือพันธมิตร ปั้น 8 นวัตกรเครื่องสำอาง https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%a5%e0%b8%aa%e0%b9%8c-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%8a-%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a/ Tue, 10 Mar 2020 06:35:02 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=12240

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร และคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทยและหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย จัดกิจกรรม “การประกวดนวัตกรรมเครื่องสำอาง (COSMENOVATION) : กิจกรรมการจับคู่ที่ปรึกษาวิจัยและผู้ประกอบการ” ภายใต้โครงการเชื่อมโยงธุรกิจนวัตกรรมเครื่องสำอางสู่ตลาดต่างประเทศ ปี 2563 (Cosmetic Innovation and Business Link 2020) เพื่อคัด 8 ผู้ประกอบการธุรกิจเวชสำอาง/เครื่องสำอางไทย พร้อมส่งนักวิจัยเป็นพี่เลี้ยง หวังปั้นเป็นนวัตกรที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมสารสกัด/สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติด้านการชะลอวัย (Anti-aging) สร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่น ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก พร้อมโอกาสร่วมงาน Cosmetic 360; The International Innovation Fair for Cosmetic and Perfume Industry ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส

         ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือทีเซลส์ กล่าวว่า โครงการเชื่อมโยงธุรกิจนวัตกรรมเครื่องสำอางสู่ตลาดต่างประเทศ ปี 2563 (Cosmetic Innovation and Business Link 2020, CIB2020) โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และศูนย์บริการจัดการเทคโนโลยี (TMC), มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยนเรศวร, คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทยและหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย มองว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเวชสำอาง/เครื่องสำอาง เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ที่สร้างรายได้อย่างสูงให้กับประเทศไทย ประกอบกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย CIB2020 เป็นหนึ่งในภารกิจหลักที่เราร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไทย ให้เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์เครื่องสำอางของโลก (Global Cosmetic Cluster) ผ่านการทำงานร่วมกับ Cosmetic Valley ฝรั่งเศส โดยผู้ประกอบการไทยที่มีสารสกัดเด่น มีผลการวิจัยพื้นฐานรองรับ และมีความพร้อมด้านการผลิตและการตลาด จะได้รับการคัดเลือกและสนับสนุนให้เติบโตผ่านการวิจัยต่อยอด การบ่มเพาะและการจับคู่ธุรกิจในงานนวัตกรรมเครื่องสำอาง COSMETIC360 ํ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นพัฒนาสารสกัดให้มีคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของไทยต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นการคัดเลือกผู้ประกอบการธุรกิจเวชสำอาง/เครื่องสำอางไทยที่มีศักยภาพที่มีการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา นวัตกรรมสารสกัด/สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติด้านการชะลอวัย (Anti-aging) เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะการตรวจวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัด/สารออกฤทธิ์ ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการไทยมีความตื่นตัวในการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในการแก้ปัญหาและยกระดับผลิตภัณฑ์ที่มีให้ดีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ด้วยเป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถตอบและอธิบายทั้งในเรื่องสรรพคุณ (function claim) ของสารสกัด/สารออกฤทธิ์และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้อย่างน่าเชื่อถือ จากความสำคัญดังกล่าว ทำให้โครงการประกวดนวัตกรรมเครื่องสำอาง (COSMENOVATION) เกิดขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการประกวดนวัตกรรมเครื่องสำอางให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพทางด้านการแข่งขันด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการตลาดในระดับโลกมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันได้เร่งผลักดันผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และความสามารถในการแข่งขัน

                    ทั้งนี้ 8 ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกในโครงการ ได้แก่

บริษัท ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม จำกัด

บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด,

บริษัท โคลน ควอลิตี้ จำกัด,

บริษัท ไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด,

บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด,

บริษัท เดวิด เอนเตอร์ไพรส์ แอนด์ ดีวีลอปเมนท์ จำกัด,

บริษัท ไฮกู๊ดส์ โปรดักท์ จำกัด

บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์ เบทาโกร จำกัด

           ซึ่งจะจับคู่กับที่ปรึกษาวิจัย ที่เป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตอบความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละบริษัท โดยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของที่ปรึกษาวิจัยจากเครือข่ายพันธมิตร อาทิ นาโนเทค สวทช., คณะเภสัชศาสตร์จากทั้ง ม.มหิดล และ ม.นเรศวร ซึ่งมุ่งเน้นการใช้วิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีมาตรฐาน ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งในส่วนทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. มีความสนใจในการศึกษากลไกเชิงลึกในระดับเซลล์ในด้านการชะลอวัย รวมถึงความปลอดภัย ล้วนจะสร้างความมั่นใจให้กับสารสกัด/สารออกฤทธิ์ที่ผู้ประกอบการมีความสนใจในการขยายตลาดสู่สากล และเมื่อจับคู่ผู้ประกอบการกับที่ปรึกษาวิจัยแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายจะดำเนินการร่วมกันในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์, การวิเคราะห์ ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย, การเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการให้ได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการต่อในด้านต่าง ๆ เช่น การเจรจาธุรกิจ การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ การนำแสดงผลงาน/ผลิตภัณฑ์ในงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ รวมถึงการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเสริมทักษะต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Cosmetic 360 ํ; The International Innovation Fair for Cosmetic and Perfume Industry ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2563

            “จากการดำเนินการในช่วงปีที่ผ่านมา เราสามารถพาผู้ประกอบการไปเรียนรู้แนวโน้ม/ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและตลาดโลก เป็นต้น รวมถึงการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ณ บริษัทเครื่องสำอางชั้นนำของฝรั่งเศส อาทิ Sedema, BIO-EC Laboratory, L’Occitane และ Artemisia museum ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับทั้งผู้ประกอบการและนวัตกรรมของไทย ในการสร้างการรับรู้ในตลาดโลกผ่านโครงการนี้ ซึ่งหวังว่า ในปี 2563 นี้ จะสร้างโอกาสที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในโครงการนี้อีกเช่นกัน” ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย กล่าวทิ้งท้าย

]]>
นาโนเทคเดินหน้าหารือผู้ประกอบการรอบ 2 มั่นใจ “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” ตอบโจทย์อุตฯ เครื่องสำอางไทย https://www.nanotec.or.th/th/%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9c%e0%b8%b9/ Thu, 07 Nov 2019 07:38:18 +0000 http://www.nanotec.or.th/th/?p=11983

เครื่องสำอางและเวชสำอางเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศกำลังผลักดัน ซึ่งนาโนเทคเองกำลังทำงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง ผ่านการระดมความคิดเห็นในหลายๆ กลุ่ม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งในวันนี้ และในการประชุมครั้งแรกถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมนี้ เราจึงอยากรับฟังแนวทางที่สร้างสรรค์ในการยกระดับขีดความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมนี้ – ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา นาโนเทค สวทช.

(6 พย. 2562)   จากความตื่นตัวของผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่มุ่งเน้นการส่งออกและผลิตวัตถุดิบ รวมไปถึงนักวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการประชุมระดมความเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ในการเดินหน้าโครงการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” หรือ Thai Cosmepolis นำมาสู่การประชุมระดมความเห็นฯ ในครั้งที่ 2 ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับลูกนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ โดย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา และ ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการด้านบริหาร นาโนเทค ร่วมดำเนินการ ซึ่งในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่เน้นการขายในประเทศ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 60 คน

          ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้จัดการโครงการ “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง (Thai Cosmepolis)”กล่าวในการเปิดการประชุมระดมความเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย ครั้งที่ 2 ว่า โครงการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอางนี้ อยู่ภายใต้ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy) ที่ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้ความสำคัญ ในเรื่องของเครื่องสำอางและเวชสำอางที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มการแพทย์แม่นยำ และกลุ่มสุขภาพการแพทย์ ใน BCG Model ของประเทศ

          “เครื่องสำอางและเวชสำอางเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศกำลังผลักดัน ซึ่งนาโนเทคเองกำลังทำงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง ผ่านการระดมความคิดเห็นในหลายๆ กลุ่ม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งในวันนี้ และในการประชุมครั้งแรกถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมนี้ เราจึงอยากรับฟังแนวทางที่สร้างสรรค์ในการยกระดับขีดความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมนี้” ดร.อุรชากล่าว พร้อมชี้ว่า การประชุมระดมความเห็นฯ ในครั้งต่อไป (ครั้งที่ 3) จะมุ่งเน้นมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย หน่วยงานที่ให้บริการทดสอบ หน่วยงานภาครัฐ ส่วนครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จะเป็นการจัดทำประชาพิจารณ์ต่อร่างสมุดปกขาว (White Paper) นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

          เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง มีกรอบการทำงานภายใต้ 4 เสาหลัก ได้แก่ ฐานข้อมูล (Database) ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลสารสกัดสมุนไพร และงานวิจัยที่มีทั้งในและต่างประเทศ, โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งมาตรฐานการวิเคราะห์ ระบบทดสอบความปลอดภัย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงภาคนโยบายด้านมาตรฐานภายในประเทศ, การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่ทั้ง สวทช. และมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำอยู่ เพื่อวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพร หรือองค์ประกอบ วัตถุดิบของไทย และหน่วยบริการแบบครบวงจร (One Stop Service) เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน

          โดยเป้าหมายระยะสั้นคือการเป็นศูนย์กลางด้านเครื่องสำอางของอาเซียน และเครือข่ายผู้ให้บริการ (Solution Provider Network) ก่อนที่จะขยับสู่เป้าหมายระยะกลาง คือ การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการใช้สารสกัดสมุนไพรไทย เป็นสารออกฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระยะยาว คือ การเพิ่มมูลค่าการส่งออกสารสกัดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์กลุ่มเวชสำอางไม่น้อยกว่า 4,400 ล้านบาท ภายในปี 2565 ในขณะเดียวกัน ก็จะผลักดันให้มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานสากลออกจำหน่ายไม่น้อยกว่า 100 ผลิตภัณฑ์ต่อปี  พร้อมฐานข้อมูลสารสกัดสมุนไพรและสารออกฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 1,000 รายการ

          “สิ่งที่เรามองเห็นคือ องค์ประกอบทุกอย่าง ไทยมีหมดแล้ว แต่ไม่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น โมเดลการทำงานของเราจึงอยู่ภายใต้แนวคิด Connect Dots ที่จะไปเชื่อมแต่ละจุด ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย ทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), ด้านการบริการ อย่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ, ด้านการทดสอบอย่างห้องปฏิบัติการต่างๆ, ด้านมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันมาตรวิทยา (มว.)หรือ สมอ., ด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างโรงงานต้นแบบจีเอ็มพี อุทยานวิทยาศาสตร์ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ อีอีซีไอ ศูนย์บ่มเพาะ รวมถึงด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ”

    การประชุมระดมความคิดเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย ครั้งที่ 2 นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นได้แก่
1. แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลกลาง (Database) กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย แนวทางการสร้างกลไกสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในอนาคต และการจัดตั้ง “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง (Thai Cosmepolis)”
2. แนวทางด้านการวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การทดสอบเพื่อการอ้างอิงสรรพคุณ (Functional claims) ในเครื่องสำอางเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย

          โดยผลจากการประชุมระดมความคิดเห็นฯ ในครั้งนี้ ในข้อที่ 1 มองไปในมุมของฐานข้อมูลกลางสำหรับพืชสมุนไพรที่เน้น 3 เรื่องหลักคือ ชนิดของพืช ประสิทธิภาพและกฎข้อบังคับ โดยเป็นฐานข้อมูลสารเติมแต่งเครื่องสำอาง (Cosmetics Ingredient Database: Cosing) ที่เชื่อมกับฐานข้อมูลของ อย. รวมถึงฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน/กฎระเบียบการส่งออกของแต่ละประเทศที่เป็นตลาดปลายทาง  อาทิ ผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ สารต้องห้ามในแต่ละประเทศ เป็นต้น

          ส่วนในข้อที่ 2 เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทดสอบที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญและต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของการแยกประเภทการวิเคราะห์ทดสอบ ระหว่างเครื่องสำอางและเวชสำอาง รวมถึงแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาที่ต้องการ ที่ให้ความสำคัญเรื่องของความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

          “การประชุมระดมความคิดเห็นฯ ทำให้เราเห็นภาพของอุตสาหกรรม ความต้องการ และปัญหาที่ชัดขึ้น บางครั้งเห็นมุมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น Contact Point หรือฐานข้อมูลมาตรฐาน/กฎระเบียบการส่งออกของแต่ละประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ ให้ภาพของเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอางครบถ้วน สมบูรณ์ ตอบโจทย์ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง” ดร.อุรชากล่าว

          ภายหลังการประชุมระดมความเห็น ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวสรุปว่า ในเบื้องต้น ผลการระดมความคิดเห็นตอบโจทย์ 4 เสาหลักจำเป็นจะต้องเชื่อมโยงทุกมิติให้ตอบโจทย์ 4 เสาหลัก ที่จะทำให้กรอบการทำงานชัดเจนขึ้น

          “หลังจากวันนี้ เราควรจะนำร่องด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1 ตัว เพื่อให้ภาพการดำเนินการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอางชัดเจนขึ้นตั้งแต่เสาหลักที่ 1 ไปจนถึงเสาหลักที่ 4 จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สมุนไพรแบบครบวงจร เพื่อให้เกิด Change Agent ได้ง่ายและเร็วขึ้น โดยนาโนเทคเอง พร้อมที่จะสนับสนุน” ดร.สุธีชี้

 

 

 

 

]]>