นักวิจัยนาโนเทค พัฒนาโมเดลที่อธิบายกลไกการเปลี่ยน CO2 เป็นเอทิลีนและเอทานอลด้วยไฟฟ้า

นักวิจัยนาโนเทค พัฒนาโมเดลที่อธิบายกลไกการเปลี่ยน CO2 เป็นเอทิลีนและเอทานอลด้วยไฟฟ้า ทำให้เข้าใจว่าขั้นตอนไหนเป็นตัวกำหนดความไวของปฏิกิริยา และนำมาใช้ออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาลดโลกร้อนที่ดีขึ้นได้ #TLDR

ทุกคนคงจะทราบดีว่าตัวการของ “ภาวะโลกร้อน” ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศซึ่งส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศ คือการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากกิจกรรมของมนุษย์ แม้ว่าทีมวิจัยของเราไม่อาจมีส่วนร่วมผลักดันนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2 โดยตรง แต่เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนางานวิจัยเพื่อเป็นรากฐานในการแก้ปัญหาที่สำคัญยิ่งนี้ เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และการนำ CO2 ไปใช้ประโยชน์ (Carbon capture, utilization, and storage; CCUS) เป็นโจทย์ที่พวกเราพยายามผลักดันอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ยังเปลี่ยน CO2 เจ้าปัญหา ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

หนึ่งในวิธีนำ CO2 ไปใช้ประโยชน์ที่น่าสนใจมาก คือการเปลี่ยน CO2 ไปเป็นสารเคมีที่มีความต้องการในอุตสาหกรรมสูง ได้แก่ เอทิลีน และ เอทานอล ด้วยปฏิกิริยารีดักชันเชิงเคมีไฟฟ้า (electrochemical CO2 reduction reaction, CO2RR) ปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้านี้มีจุดเด่นคือ สามารถเกิดได้ที่อุณหภูมิห้อง อาศัยเพียง CO2 และน้ำเป็นสารตั้งต้น และใช้พลังงานไฟฟ้าในการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาประเภททองแดง
เป็นที่ทราบกันดีในวงการว่า ประเภทหน้าตัดของตัวเร่งปฏิกิริยามีผลต่อชนิดของผลิตภัณฑ์ ทองแดงหน้าตัด (111) (เรียงตัวสับหว่างกันเป็นกริดสามเหลี่ยม) สามารถผลิตก๊าซมีเทนที่มีคาร์บอนอะตอมเดียวได้ดี ในขณะที่หน้าตัด (100) (เรียงแถวเป็นกริดสี่เหลี่ยม) สามารถผลิตเอทิลีนและเอทานอลที่มีคาร์บอน 2 อะตอมได้มากกว่า

 

ในงานวิจัยฉบับนี้ ทีมวิจัย NCAS นำโดย ดร. ผุศนา หิรัญสิทธิ์ ดร. ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ และ นางสาวจิรภัทร์ สันตติวงศ์ไชย ใช้การคำนวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ (Computational molecular simulation) ด้วยระเบียบวิธี Density Functional Theory (DFT) เพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยา CO2RR บนตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดงหน้าตัด (100) เพื่อทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้คาร์บอน 2 อะตอมเกิดการเชื่อมต่อกัน
จุดเด่นของการงานวิจัยนี้คือ ทีมวิจัยได้จำลองโมเลกุลน้ำแบบ explicit (ผ่านการใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จากสถาบัน ThaiSC) ซึ่งให้ผลที่ถูกต้องกว่าเมื่อเทียบกับแบบจำลองโมเลกุลน้ำแบบอื่นๆ ที่ใช้ในการศึกษาก่อนหน้า จึงนำไปสู่การค้นพบว่า น้ำมีผลต่อการดูดซับของสารตัวกลาง (ภาษาเคมีเรียก สารมัธยันต์ หรือ intermediate) บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้มีกลไกการเกิดปฏิกิริยาที่เป็นไปได้หลายกลไก และทีมวิจัยสามารถระบุสารมัธยันต์ที่สำคัญต่อการผลิตเอทิลีนและเอทานอลได้ และยังทำให้ทราบอีกว่าขั้นปฏิกิริยาที่ทำให้คาร์บอนเชื่อมต่อกันได้นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณสารมัธยันต์ CO บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงไปตามศักย์ไฟฟ้า ซึ่งการเข้าใจกลไกการเกิดปฏิกิริยาเชิงลึกเช่นนี้มีความสำคัญยิ่งต่อการออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา CO2RR ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งเราจะมาเล่าต่อในตอนถัดไป

 

งานวิจัยเพียงหนึ่งเรื่องอาจถูกมองว่าเป็นเพียงก้าวเล็กๆ แต่ทุกก้าวล้วนสำคัญ และไม่ว่าคุณผู้อ่านจะเป็นบุคลากรสายวิทย์หรือเป็นใครก็ตามที่บังเอิญกดมาเจอเพจนี้ ยังไงก็ฝากติดตาม และขอเชิญชวนแลกเปลี่ยนความเห็นในเพจนี้กันได้เลยนะคะ

 

ติดตามอ่านข่าวสารความคืบหน้างานวิจัยอื่นๆ จากทีม NCAS ณ ศูนย์นาโนเทค ทางเพจ NCAS นี้ หรือ www.nanotec.or.th/ncas และสามารถอ่านงานวิจัยเรื่อง “Comprehensive Mechanism of CO2 Electroreduction toward Ethylene and Ethanol: The Solvent Effect from Explicit Water−Cu(100) Interface Models” ได้ที่วารสาร ACS Catalysis (https://doi.org/10.1021/acscatal.1c01486)

 

เรียบเรียงโดย จิรภัทร์ สันตติวงศ์ไชย และ ดร. ผุศนา หิรัญสิทธิ์

โพสต์ที่คุณน่าจะสนใจ

CCUS เทคโนโลยีกำจัดคาร์บอน สู่ทางรอดของประเทศไทย?

สวัสดีปีใหม่ 2567 ผู้อ่านทุกท่าน ปีเก่าผ่านไปปีใหม่เข้ามาพร้อมกับความท้าทายโจทย์ใหญ่โจทย์เดิม คือ สภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน อันส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และระบบนิเวศของโลก สภาวะโลกร้อนนี้มีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ โดยก๊าซเรือนกระจกหลักก็คือคาร์บอนไดออกไซด์

CARBANO เทคโนโลยีผลิตถ่านกัมมันต์ประสิทธิภาพสูงจากวัสดุคาร์บอน

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมเกษตรและมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มากมายหลายหลาก การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจึงเป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย หนึ่งในผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่สามารถผลิตได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร คือ ถ่านกัมมันต์ (activated carbon) ซึ่งเป็นถ่านที่มีรูพรุนปริมาณมาก สามารถนำไปใช้ดูดซับและกำจัดสิ่งปนเปื้อนเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดเหมาะกับการนำไปใช้อุปโภคและบริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น

รางวัลโนเบล สาขาเคมี 2023 ผู้ปลูกควอนตัมดอทส์ เมล็ดพันธุ์แห่งวงการนาโนเทคโนโลยี

รางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2023 ได้มอบรางวัลให้กับการค้นพบและการพัฒนาควอนตัมดอทส์(Quantum Dots, QTDs) หรือ “จุดควอนตัม” ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากในระดับ 1-10 นาโนเมตร

รู้จักกับ “ลิกนิน” สารธรรมชาติที่แสนจะไม่ธรรมดา

ลิกนิน (Lignin) เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ ที่สามารถพบได้ในพืชทั่วไปสูงถึง 30% ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกาวประสานช่วยยึดโครงสร้างพืชให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยลดการระเหยของน้ำ และช่วยป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อจากจุลินทรีย์ได้อีกด้วย ลิกนินมีโครงสร้างแบบอะโรมาติก (Aromatic

หมวดหมู่

โพสต์ยอดนิยม

Biorefinery series: การผลิตกรดแลคติกจากน้ำตาล ด้วยกระบวนการเชิงเคมีความร้อน

ไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) หรือ อุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ คือ อุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคตที่นำชีวมวล หรือวัตถุดิบที่ได้จากพืช มาใช้เป็นสารตั้งต้น (feedstock) ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ

Biorefinery series: น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพจากน้ำมันปาล์ม

น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่ได้จากผลของต้นปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่หมุนเวียนได้ น้ำมันปาล์มนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่นำมาใช้ได้โดยตรงเพื่อการปรุงอาหาร นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมโอลีโอเคมี (oleochemical industry) เช่น ผลิตสารหล่อลื่นชีวภาพ (biolubricant)

โพสต์ล่าสุด

นาโนสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ ใน ยุค Web 3.0

เราคงคุ้นเคยกับคำว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นอย่างดี ว่าจะมาช่วยมนุษย์ทำงาน คิดวิเคราะห์ข้อมูล และช่วยในการตัดสินใจ ทำให้เราทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจาก

การคำนวณเคมีเชิงคอมพิวเตอร์ภายใต้กลุ่มวิจัย NCAS (ตอนที่ 1)

การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีใหม่ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเคมี โดยหลักการนั้นไม่ต่างจากการออกแบบรถยนต์ ที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ แต่ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี เครื่องยนต์กลไกที่เป็นหัวใจของการเกิดปฏิกิริยานั้น เป็นผลมาจากแรงอันตรกิริยาที่เป็นแรงดูดหรือแรงผลักระหว่างพื้นผิวของตัวเร่งและโมเลกุลของสาร ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในระดับนาโนเมตรหรือเล็กกว่า การวิเคราะห์วัสดุที่มาตราส่วนดังกล่าวนั้นมีความซับซ้อนและมักมีข้อกำจัดด้านเครื่องมือ หรือในบางกรณีสมบัติที่สำคัญนั้นยังไม่สามารถวัดได้โดยเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน