“ดร.พีรพันธุ์” เปิดสัมมนาหลักสูตรอุทยานวิทยาศาสตร์สำหรับผู้บริหาร พร้อมชมนิทรรศการนาโนเทคโนโลยี

“ดร.พีรพันธุ์” เปิดสัมมนาหลักสูตรอุทยานวิทยาศาสตร์สำหรับผู้บริหาร พร้อมชมนิทรรศการนาโนเทคโนโลยี

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 8 กรกฎาคม ดร. พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาหลักสูตรอุทยานวิทยาศาสตร์สำหรับผู้บริหาร “Science Park for Executives” ณ ห้อง 406อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ได้รับข้อมูลและองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร. พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดสัมมนาหลักสูตรอุทยานวิทยาศาสตร์สำหรับผู้บริหาร
ดร. พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดสัมมนาหลักสูตรอุทยานวิทยาศาสตร์สำหรับผู้บริหาร

โดยมีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด วท. และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนากว่า 50 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศมากว่า 20 ปี เป็นวิทยากรนำ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงกลยุทธ์และรูปแบบวิธีการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ

ดร. พีรพันธุ์ เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในยุคเศรษฐกิจที่ใช้องค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อุทยานวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเฉพาะที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ในการดำเนินงานด้านอุทยานวิทยาศาสตร์เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูล มีความรู้ในการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

ปุ๋ยนาโน ละลายช้า ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น
ปุ๋ยนาโน ละลายช้า ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น
ผ้าไหมนาโน สัมผัสนุ่มลื่น ลดการยับ และมีกลิ่นหอม
ผ้าไหมนาโน สัมผัสนุ่มลื่น ลดการยับ และมีกลิ่นหอม

“นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำเรื่องนี้เป็นพิเศษและอยากเห็นการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายมากขึ้น อุทยานวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมานานแล้วและได้ขยายไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้” ดร. พีรพันธุ์ กล่าว

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ ช่วงปีพ.ศ. 2556 – 2560 เป็นกรอบในการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์หลักๆ คือ จะส่งเสริมในภาคเอกชนลงทุนทำวิจัยและพัฒนาแบบก้าวกระโดด ส่งเสริมให้ประเทศเป็นฐานการลงทุนวิจัยและพัฒนาบริษัทข้ามชาติและบริษัทไทย ส่งเสริมและเปิดกว้างให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ต่อไปด้วย ขณะเดียวกันจะมีมาตรการสนับสนุนส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ในระยะ 5 ปี ทั้งเรื่องสิทธิประโยชน์ การสร้างแรงจูงใจ และสร้างความเข้มแข็งให้กับอุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ รวมถึงการลงทุนพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ในระยะแรกรัฐจะเป็นผู้ลงทุน ในระยะกลางจะดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมด้วย ส่วนระยะสุดท้ายภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนหลักโดยมีภาครัฐให้การสนับสนุน

การเปลี่ยนผักตบชวาเป็นสารปรับปรุงดิน (Smart soil)มีน้ำหนักเบา เหมาะกับเพาะปลูกกล้าไม้ ไม้ประดับ
การเปลี่ยนผักตบชวาเป็นสารปรับปรุงดิน (Smart soil)มีน้ำหนักเบา เหมาะกับเพาะปลูกกล้าไม้ ไม้ประดับ
รมว.วท. ชมนิทรรศการ นาโนเทคโนโลยี โดยมี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) ให้การต้อนรับและอธิบายผลงานวิจัย
รมว.วท. ชมนิทรรศการ นาโนเทคโนโลยี โดยมี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) ให้การต้อนรับและอธิบายผลงานวิจัย
รมว.วท. ชมนิทรรศการนาโนเทคโนโลยี โดยมี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) ให้การต้อนรับและอธิบายผลงานวิจัย
รมว.วท. ชมนิทรรศการนาโนเทคโนโลยี โดยมี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) ให้การต้อนรับและอธิบายผลงานวิจัย

อย่างไรก็ตามภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เยี่ยมชม บูธนิทรรศการงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีของศูนย์นาโนเทคโนโลยี ได้แก่ 1.การเปลี่ยนผักตบชวา เป็นสารปรับปรุงดิน  (Smart Soil) ทำให้ได้ ดินมีคาร์บอนสูง น้ำหนักเบา สำหรับใช้เพาะปลูกกล้าไม้และไม้ประดับ มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ธาตุอาหารและปุ๋ยได้ดี คุณภาพเทียบเท่าดินแถบลุ่มน้ำอเมซอนช่วยลดการกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำสายหลัก ถึงปีละหลายแสนตัน 2.การพัฒนาน้ำยานาโน สำหรับดูแลผ้าไหม (NANO Silk Conditioner) เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของผ้าไหม ให้ดูแลรักษาง่ายขึ้น ใช้เคลือบผ้าไหมระดับอุตสาหกรรม เช่น ผ้าผืน เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ลดข้อด้อยของผ้าไหมที่ยับง่าย ให้มีความนุ่ม ลื่นมือ ลดการยับของผ้าและเกิดกลิ่นหอมยามใช้สอย และ 3.การพัฒนาสูตรเคลือบ “ปุ๋ยนาโน” ที่ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารสำหรับพืชเศรษฐกิจ โดยใช้วัสดุนาโนพอลิเมอร์จากธรรมชาติที่มีอนุภาคระดับนาโนเคลือบลงบนเม็ดปุ๋ยอินทรีย์เคมี จึงได้ “ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน” ที่ละลายช้า ปล่อยธาตุอาหารได้ตามกำหนด ตั้งแต่ 3-6 เดือน หรือเรียกว่า “ปุ๋ยสั่งได้” ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนค่าปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ช่วยเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม โดยมี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี (นาโนเทค) ให้การต้อนรับและอธิบายผลงานวิจัย

////////////////////////////////