ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ : สเปรย์นาโนอิมัลชันผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น
วิจัยและพัฒนาโดย : ดร.อุดม อัศวาภิรมย์ และคณะ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้
กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทย อาทิ จังหวัดเพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้านบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งนอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมนักวิจัยวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนัง ที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius, Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ดังนั้น ทีมวิจัยจึงได้นำสารสกัดกระชายดำมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นในรูปแบบสเปรย์นาโนอิมัลชัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อทางชีวภาพอันเป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
สรุปเทคโนโลยี
ผลงานสเปรย์นาโนอิมัลชันดังกล่าวเหมาะสำหรับใช้ดับกลิ่นบริเวณที่เกิดการสะสมของแบคทีเรีย เช่น เท้า รักแร้ หรือบริเวณในร่มผ้า ซึ่งสูตรตำรับได้ผ่านการทดสอบแล้วพบว่าไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งมีกระบวนการผลิตที่ทำได้โดยง่าย สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องจักรทั่วไปในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้
คุณลักษณะ และจุดเด่นของเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเทคโนโลยี
- มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา (Antimicrobial activity) จึงช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรียได้
- เป็นผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
- สูตรตำรับอยู่ในรูปแบบนาโนอิมัลชัน ที่ช่วยเพิ่มการกระจายตัวและความคงตัวของสารสกัดในสูตรตำรับ
- ขั้นตอนการผลิตสามารถทำได้โดยอุปกรณ์เครื่องจัดทั่วไปในระดับอุตสาหกรรม
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
- ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลหรือเครื่องสำอาง
- ผู้ผลิตสารสกัดธรรมชาติ
ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ผู้บริโภคกลุ่มผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล หรือผู้ที่ต้องการลดปริมาณกลิ่นกายของร่างกาย โดยสามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
สถานภาพสิทธิบัตร
ได้รับความคุ้มครองภายใต้คำขออนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ยื่นคำขอวันที่ 26 ก.ย. 2561
สนใจขอรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อได้ที่
ชื่อ : กมลวรา ศิริศุฆสกุลชัย
หน่วยงาน : งานพัฒนาธุรกิจ
เบอร์ติดต่อ : 02-117-6503
อีเมล : kamolvara.sir@nanotec.or.th