เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กรุงเทพฯ คณะกรรมการมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดพิธีมอบ รางวัล “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2554” (QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2011) ขึ้น โดยมี ฯพณฯ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องบุคคลที่ประสบความสำเร็จใน การดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีและควรค่าต่อการส่งเสริมเพื่อประกาศเชิดชู เกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ บุคคลผู้ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น จะได้รับการบันทึกชื่อและเกียรติประวัติไว้ในทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame) ของมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ในพิธีดังกล่าว มีผู้ได้รับการยกย่องและเชิดดูเกียรติ ได้เป็นบุคคลคุณภาพแห่งปี 2554 ประกอบด้วย
1. ด้านวิทยาศาสตร์ – ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์
2. ด้านเทคโนโลยี – ศ.ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
3. ด้านสาธารณสุข – รศ.นพ.สภา ลิมพาณิชย์การ
4. ด้านสังคม – พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
5. ด้านเด็กและเยาวชน – คุณปวีณา หงสกุล
เกียรติประวัติที่บันทึกไว้ในหอเกียรติยศของมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (อายุ 67 ปี)
(ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส)
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน ( 2554 )
ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ที่ปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเอกชนและกรรมการมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
2. ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2551 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2536 ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยโตไก ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2516 ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2512 ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก Imperial College of Science and Technology มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2512 ได้รับ Associate of the City and Guilds Institute (ACGI) of London จาก Imperial College of Science and Technology มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2509 ได้รับ Advanced Level General Certificate of Education (GCE A-Level) และ Ordinary Level General Certificate Education (ACE O-Level) จากการศึกษาที่วิทยาลัยเมืองนอริช สหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2507 ระดับอุดมศึกษา เตรียมแพทย์ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2506 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท
พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ทำหน้าที่ให้เต็มที่ด้วยความสุจริตตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ความรู้เป็นพลังสำคัญ
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
การ มีส่วนร่วมในการสร้างองค์กรที่สำคัญได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช) เป็นต้น
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประการ แรกประเทศไทยมีผู้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่ด้อยกว่า ประเทศอื่นดังจะเห็นได้จากการวิจัยและพัฒนาที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มี ชื่อเสียงระดับสากล แต่ที่ประเทศเราด้อยกว่าคือมีจำนวนนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อจำนวน ประชากรน้อยกว่ามาตรฐานสากล ประการที่สองประเทศไทยสามารถร่างแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีได้แต่ขาด กลไกในการแปลงแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเพราะขาดพลังการเมือง (political will) ที่จะผลักดัน
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
– รองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
– กรรมการสภากาชาดไทย
– ประธานมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2550 Order of the Rising Sun, Gold Rays with Neck Ribbon From the Government of Japan.
พ.ศ. 2548 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2541 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2540 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2537 มหาวชิรมงกุฎ
พ.ศ. 2534 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2531 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
– รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. 2548 รางวัล Leadership in Technology Management จาก PICMET (Portland International Center for Management of Engineering and Technology)
พ.ศ.2547 รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่นประจำปี 2547 โดยสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
พ.ศ.2541 รางวัลยกย่องส่งเสริมการใช้ดาวเทียมระหว่างประเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ.2538 รางวัลบุคคลดีเด่นด้านไอที จากสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย
พ.ศ.2534 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ.2530 รางวัลโครงการวิจัยกองทุนพระราชทานพระจอมเกล้าลาดกระบัง ของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่องการสร้างภาพคอมพิวเตอร์ถ่ายภาพตัดขวางของร่างกายและสมอง
พ.ศ.2529 รางวัลผลงานวิจัยอุตสาหกรรมดีเด่น จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ด้านการประมวลสัญญาณภาพถ่ายดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์
พ.ศ.2527 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พ.ศ.2512 รางวัลเหรียญทองเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (สมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร) เนื่องจากได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากอิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน
8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
ศ.ดร. ไพรัช เกิดและเติบโตที่จังหวัดกำแพงเพชร ใช้ชีวิตวัยเด็กกับครอบครัวพี่น้อง 8 คน บิดามารดามีอาชีพค้าขาย นอกจากเรียนหนังสือแล้วต้องช่วยทำงาน มีความตั้งใจในการเรียนหนังสือตั้งแต่เด็ก มีผลการเรียนดีตลอด เมื่อเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วมาสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีความใฝ่ฝันอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ สอบชิงทุนรัฐบาลไปเรียนวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาตรีและเอก ใช้เวลาอยู่ที่อังกฤษ 10 ปี ระหว่างเรียนปริญญาเอก ได้ดำรงตำแหน่งนายกสามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรสำหรับนักเรียนไทยในอังกฤษ เมื่อจบการศึกษากลับมาประเทศไทย ทำงานใช้ทุน เป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา มีความก้าวหน้ามีตำแหน่งวิชาการตามลำดับ ได้เป็นศาสตราจารย์ระดับ 10 เมื่ออายุ 39 ปีและศาสตราจารย์ระดับ 11 เมื่ออายุ 40 ปีเศษ ในด้านบริหารดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ รองคณบดีคณะวิศวกรรม และอธิการบดี เมื่อปี พ.ศ. 2535 ของสถาบันดังกล่าว นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อ พ.ศ. 2547 เกษียณอายุจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2548 และหลังเกษียณอายุราชการ ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ปรึกษางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเอกชนและกรรมการ มหาวิทยาลัยหลายแห่งจนปัจจุบัน
– ประวัติการทำงาน
ตำแหน่งทางวิชาการ
พ.ศ. 2532 – 2541 ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2526 ศาสตราจารย์ ระดับ 10 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2521 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ตำแหน่งบริหาร
ก.ย. 2548 – ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ต.ค. 2547 – ก.ย. 2548 ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ก.ค. – ก.ย. 2547 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายข้าราชการประจำ
พ.ศ. 2541 – มิ.ย. 2547 ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 – 2541 อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2529 –2541 ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2524 – 2535 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2522 – 2524 รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2521 – 2522 หัวหน้าภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ตำแหน่งกรรมการในส่วนราชการหรือในภาคเอกชน
– รองประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
– ผู้ช่วยประธานฝ่ายวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
– ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเรประเทศไทย
– กรรมการสภากาชาดไทย
– ประธานกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
– ประธานกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
– กรรมการธนาคารกสิกรไทย
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต
– ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
– ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
– กรรมการบริหารสถาบันบริหารสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
– กรรมการการอุดมศึกษา
โครงการ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2011”
(QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2011)
ความเป็นมา
มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551
เป็น องค์กร เพื่อการกุศลสาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเสนอแนะนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ ในปี 2554 คณะกรรมการมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้ดำริให้มีการ จัดทำโครงการ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2011” (QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2011) ขึ้น เพื่อประกาศเกียรติคุณและเป็นการยกย่องบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนิน ชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีและควรค่าต่อการส่งเสริมเพื่อประกาศเชิดชู เกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ คณะกรรมการมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยยังเห็นชอบให้จัด กิจกรรมประกาศเกียรติคุณ “บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2011” เพื่อยกย่องเชิดชูบุคคลภาคธุรกิจที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการประยุกต์ใช้วิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีในการทางานและทำประโยชน์เพื่อสังคม และกิจกรรมมอบทุนการศึกษา “ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2011” ให้แก่ นิสิต นักศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ และทากิจกรรมหรือผลงานเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อสนับสนุนและเป็นขวัญกาลังใจให้กับบุคลากรด้านการศึกษาและด้านการค้น คว้า เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
คณะ กรรมการฯ ได้กำหนดให้มีการจัดงานเพื่อเผยแพร่กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย ในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554 ซึ่งตรงกับวันเทคโนโลยีแห่งชาติ (สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 หรือเมื่อ 38 ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของ โลกด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และทรงพระปรีชาสามารถบังคับให้ฝนตกลงตรงเป้าหมาย ท่ามกลางสายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลจากต่างประเทศ ข้าราชการและพสกนิกรชาวไทยที่เข้าชมการสาธิตต่างพากันชื่นชมยินดีในพระปรีชา การสาธิตฝนเทียมครั้งนั้น ถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนาเป็นการทำฝนเทียมมาถึงปัจจุบัน และเพื่อจารึกไว้เป็นเหตุการณ์สาคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะรัฐบาลจึงมีมติให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดย ได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการ กระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย) และยังเป็นวันครบรอบปีที่ 3 ของการสถาปนามูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอีกด้วย
แหล่งที่มาของข่าว : ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)