นาโนเทค-มข. นำเสนอผลงานวิจัยเพื่อบูรณาเครือข่ายพัฒนาสุขภาพและคุณภาพน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

(8 มีนาคม 2565) ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน และดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมการสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงข้อมูลด้านปริมาณน้ำและคุณภาพเพื่อเฝ้าระวัง เตือนภัย และบริหารจัดการด้านคุณภาพพื้นที่ลุ่มน้ำพอง โดยมีนางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายชิณกร แก่นคง นายอำเภอน้ำพอง นายชัยวุฒิ ประกิระเค ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 ขอนแก่น ผู้แทนจากโรงงานอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและประชาชน และภาคีเครือข่ายการบริหารจัดการน้ำพองเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ที่ว่าการอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CKDNET) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินกิจกรรมการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตโดยไม่ทราบสาเหตุของประชาชนในพื้นอุบลรัตน์และน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น  ซึ่งรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง        อนุตระกูลชัย หัวหน้าโครงการ CKDNET ได้นำเสนอผลการตรวจสุขภาพของอาสาสมัครพื้นที่อำเภออุบลรัตน์และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง และดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลำน้ำพองที่คาดว่าจะมีส่วนเหนี่ยวนำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรัง นับเป็นการสร้างความร่วมมือเพื่อนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ร่วมสะท้อนปัญหาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การบูรณาเครือข่ายกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลด้านปริมาณน้ำและคุณภาพเพื่อเฝ้าระวัง เตือนภัย และบริหารจัดการด้านคุณภาพพื้นที่ลุ่มน้ำพองเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและความร่วมมือทุกภาคส่วนในทุกมิติเพื่อการป้องกัน แก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

พร้อมกันนี้ในวันเดียวกันนักวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ร่วมหารือกับนายชัยวุฒิ ประกิระเค ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 ขอนแก่น เพื่อสร้างความร่วมมือและแนวทางที่สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการเฝ้าระวังและพัฒนาคุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคที่มีการปนเปื้อนมลสารซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนด้วยนวัตกรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในอนาคตอีกด้ว