นาโนเทค สวทช. ร่วมรับรางวัลในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568”

2 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา – สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568” (Thailand Investor’s Day 2025) และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2568 จำนวน 180 คน จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ภายในงาน ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมคณะผู้บริหารร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัยศูนย์วิจัยแห่งชาติ ภายใต้สังกัด สวทช. ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ รวม 33 รางวัล

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. นำโดย ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค พร้อมด้วยดร. ศิวพร มีจู สมิธ รักษาการรองผู้อำนวยการนาโนเทค ร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัยนาโนเทคที่ได้รับรางวัล ได้แก่

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจําปีงบประมาณ 2568

  • ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ และนายภูบดินทร์ มะโน ทีมวิจัยการคำนวณระดับนาโน กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “ฐานข้อมูลและหลักการสร้างวัสดุโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่จากสารตั้งต้น CO2 เพื่อนําไปใช้ประโยชน์จาก CO2 ขั้นสูงสุด” Database and Theory-based Design Principles for Unprecedentedly High Two-level CO2 Utilization of CO2-derived Metal-organic Frameworks)
  • ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คําแก้ว เป็นหัวหน้าทีมวิจัย และคณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “อนุภาคนาโนพอลิเมอร์ห่อหุ้มอนุพันธ์ของเอซา-บอดิปี้สําหรับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าโดยใช้ความร้อนจากการกระตุ้น ด้วยแสงพลังงานต่ำ”(Aza-BODIPY-based Polymeric Nanoparticles for Targeted Photothermal Cancer Therapy Triggered by Low-power Light)
  • ดร.สุวัสสา บํารุงทรัพย์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระดาษพลาสโมนิคสําหรับการประยุกต์ใช้ในการตรวจ วิเคราะห์ทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อมด้วยเทคนิค SERS” (The Development of Plasmonic Papers for Biomedical and Environmental Applications Using Surface Enhanced Raman Scattering (SERS) Technique)
  • ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ (หัวหน้าโครงการ) ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และคณะ ได้แก่ ดร.อัญชลี จันทร์แก้ว ทีมวิจัยการคำนวณระดับนาโน, ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา, ดร.ศิรภัสสร เกียรติพึ่งพร ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา, ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา และนางสาวสุฑารัตน์ ทองรัดแก้ว ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนการเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์เพื่อผลิตกรดอินทรีย์มูลค่าสูงจากเฮมิเซลลูโลสในชีวมวลเหลือทิ้ง ทางการเกษตร” (Development of Heterogeneous Catalysis to Produce High-value Organic Acids from the Hemicellulose Fraction in Biomass Waste)
  • ดร.ปวีณา ดานะ ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์และสัตวแพทย์ กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบนำส่งยาแบบมุ่งเป้าที่สภาวะแวดล้อมมะเร็ง เพื่อการยับยั้งความรุนแรงของโรคมะเร็งลำไส้” (Development of Nano-drug Delivery System for Suppressing Aggressiveness of Colorectal Cancer via Targeting Tumor Microenvironment)
  • ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กแบบหลายอะตอมชนิดใหม่บนตัวรองรับโครงข่ายโลหะ-อินทรีย์ สำหรับการเปลี่ยนมีเทนเป็นเมทานอลโดยตรงที่อุุณหภูมิต่ำ” (Development of A New Type of Few-atom Fe Catalysts Confined within Metal-organic Frameworks for Low-temperature Direct Methane Oxidation to Methanol)
  • ดร.กุลวดี การอรชัย และน.ส.อรุณศรี งามอรุณโชติ ทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในอุตสาหกรรมนม” (Electrochemical Sensor for On-site Detection of Hydrogen Peroxide Adulteration in Raw Cow Milk)
  • ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “สารเรืองแสงที่มีความสว่างสูงสำหรับการประยุกต์ใช้เชิงชีวการแพทย์” (Super Bright Fluorescent Dyes for Biomedical Applications)
  • ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมี ดร.เดวิด มกรพงศ์ เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงชีวภาพและความพร้อมในการดูดซึมของโปรตีนโคลอสตรัมโดยการออกแบบระบบการจัดส่งอนุภาคนาโนเชิงวิศวกรรฒ” (Enhancing Bio-accessibility and Oral Bioavailability of Colostrum Proteins by Engineered Nano Particulate-based Delivery Systems)
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และ ดร. สุวิไล เฉวียงหงส์ ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การใช้เปลือกไข่เป็นวัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์วัสดุบำบัดมลพิษ” (Eggshells as Raw Material in Production of Materials for Environmental Remediation)
  • ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และนายศรัณย์ ยวงจันทร์ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.จตุพร วิทยาคุณ  เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาฐานอะลูมิเนียมขนาดนาโนเมตรเพื่อการผลิตเคมีชีวภาพขั้นสูงจากน้ำตาล” (Design and Development of Nano-scale Aluminium-based Catalysts for Advanced Biochemical Platform Production from Sugar)
  • ดร. วีรกัญญา มณีประกรณ์ กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และคณะ ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจําปี 2568 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนานาโนเซ็นเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนฟลูออไรด์ โลหะหนัก และสารเคมีตกค้างในน้ำเพื่อประเมินความปลอดภัยเคมีในน้ำอุปโภคบริโภค” (The Development of Nanosensors for Detecting and Measuring Fluoride, Heavy Metals and Chemical Residues in Water to assess Chemical Safety in Drinking Water)

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2568

  • ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ทอง ทองนพคุณ เป็นหัวหน้าทีมวิจัย และคณะ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก (สาขาปรัชญา) ประจำปี 2568 จากผลงาน “นวัตกรรมผลิตภัณฑเซรามิกสร้างสรรค์จากลักษณะเฉพาะของขยะเปลือกหอยแมลงภู่”
  • ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ (หัวหน้าโครงการ) ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และคณะ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร. สนอง เอกสิทธิ์, นายปรินทร แจงทวี และ นายเดชณรงค์ พิมาลัย ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) ประจำปี 2568 จากผลงาน “สารหน่วงไฟผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่”
  • ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และคณะ ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ประจำปี 2568 จากผลงาน “การพัฒนาฟิล์มเคลือบชนิดอนุภาคระดับนาโนคอปเปอร์ (l) ออกไซด์-ซีโอไลท์ (copper (l) oxide-zeolite สำหรับยับยั้งเชื้อโควิด-19 และแบคทีเรีย” (Development of Coated film from copper (l) oxide-zeolite nanoparticles for antiviral (Covid-19) and bacterial activity)
  • ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ ทีมวิจัยกราฟีน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและกระบวนการนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และคณะ ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจำปี 2568 จากผลงาน “รู้กัญ: นวัตกรรมเซนเซอร์กราฟีนสำหรับตรวจวัดสารสกัด THC และ CBDจากกัญชาแบบพร้อมกัน” (RuCann: Innovative Printed-graphene Sensor for Simultaneous Detection of THC and CBD in Cannabis Products)
  • ดร.ชลิตา รัตนเทวะเนตร ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และคณะ ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ประจำปี 2568 จากผลงาน “การเปลี่ยนขยะขวดน้ำดื่มพลาสติกสู่วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง” (Conversion of Plastic Drinking Bottle to Value-added Metal Organic Frameworks)

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปีงบประมาณ 2568

  • ดร.นิศากร ยอดสนิท ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์และสัตวแพทย์ กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีเด่น (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาอนุภาคนาโนไมเซลล์ฐานเดนไดรเมอร์สําหรับนําส่งยา เพื่อรักษาภาวะผนังหลอดเลือดชั้นในเกิดการหนาตัว” (Development of Unimolecular Micelles as Efficient Drug Delivery Platforms for Intimal Hyperplasia Treatment)
  • ดร.วิศรุต ปิ่นรอด ทีมวิจัยระบบหุ่นยนต์และเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาคเพียโซอิเล็กทริกคานสองชั้นผลิตจาก เลดเซอร์โคเนตไททาเนตสําหรับประยุกต์ใช้ในระบบพลังงานต่ำ และการพัฒนาไจโรสโคปจากการแทรกสอดของคลื่นเสียง” (Piezoelectric MEMS: Microsystems Based on Bulk PZT Lateral Bimorphs for Low-Power Applications and Toward Bulk Diffraction Wave Gyroscopes)
  • ดร.นครินทร์ ทรัพย์เจริญดี ทีมวิจัยวัสดุเชิงประกอบขั้นสูงและสิ่งทอนาโน ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การขึ้นรูปขั้วไฟฟ้าแบบเส้นใยด้วยวิธีการปั่นเปียกและจุ่มเคลือบสำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออนชนิดเคเบิล/เส้น” (Fiber Electrode Fabrication via Wet Spinning and Dip Coating Technique for Cable/Fiber-shaped Zn-ion Batteries)
  • ดร.สุปรีดา แต้มบุญเลิศชัย ทีมวิจัยนาโนเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเรซิควิมอดในการรักษามะเร็งชนิดเมลาโนมา” (The Use of Resiquimod for Melanoma Treatment)
  • ดร.จิตติมา มีประเสริฐ ทีมวิจัยการคำนวณระดับนาโน  กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเชิงลึกของฟังก์ชั่นต่างๆ บนตัวเร่งปฏิกิริยาฐานไทเทเนียมไดออกไซด์” (Insight Into the Multifunctionality of TiO2-based Catalyst)
  • ดร.หฤษฎ์ พิทักษ์จักรพิภพ ทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การผลิตไมโครนีดเดิลชนิดไฮโดรเจลแบบไม่ใช้แม่พิมพ์เพื่อนำส่งยาผ่านผิวหนัง โดยใช้วิธีการเติมยาก่อนใช้” (Mold-less Microneedle Fabrication for Pre-loading Drug)
  • นายจักรภพ พันธศรี ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาระดับนาโน การดูดซับ และการคำนวณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ประจำปี 2568 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพใการกำจัดสารซีลีเนตโดยใช้วัสดุเหล็กนาโนประจุศูนย์ยึดติดบนซีโอไลต์” (Enhancement of Selenate Removal Using Zeolite-supported Nanoscale Zero-valent Iron)

สำหรับวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568” (Thailand Inventors’ Day 2025) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย : ความท้าทายของไทย” ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และยังเป็นเวทีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ในด้านการประดิษฐ์คิดค้นต่อการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพออกสู่สายตาคนไทยและประชาคมโลก

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือ https://www.inventorsdayregis.com