รายงานประจำปี 2561
"15 ปีแห่งการก่อตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ภารกิจวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนาโนเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สู่อนาคตที่ดีกว่า..."
ภาพรวมองค์กร
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) เป็นองค์กรในกำกับของรัฐ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 13 สิงหาคม 2546 มีภารกิจหลักในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพด้านนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศ และมนุษยชาติ
พันธกิจ
ดำเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม ด้านนาโนเทคโนโลยี สู่ความเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิต เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม อันจะนำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์และเกิดนวัตกรรมใหม่ ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ในปี พ.ศ. 2561 เป็นปีที่ครบรอบการก่อตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) 15 ปี เป็น 15 ปีที่นาโนเทคเติบโตทั้งในเชิงการสร้างผลงานวิจัยที่มุ่งการสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม การถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อการนําาไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและสาธารณประโยชน์ในระดับชุมชน การสร้างเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การสร้างและพัฒนากำลังคนด้านนาโนเทคโนโลยี ตลอดทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสร้างความตระหนักทางด้านความปลอดภัยทางด้านนาโนเทคโนโลยี
คณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีบทบาทสําาคัญในการสะท้อนความเห็นต่อนโยบาย แผนงาน โครงการและทิศทางการดําาเนินงานของนาโนเทค เพื่อเป้าหมายการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคมตลอดทั้งได้ให้คำปรึกษาและเสนอแนะเพื่อตอบโจทย์สำคัญของประเทศในการสร้างองค์ความรู้ เครือข่าย ตลอดทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชนและการนําาผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานในปี 2561 นาโนเทคได้มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ผ่านกลไกการสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 3 โดยสนับสนุนให้เกิดการสร้างงานวิจัยร่วมกันระหว่างนาโนเทคกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากภาครัฐและเอกชน เพื่อขยายฐานเทคโนโลยีและต่อยอดผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์ได้จริงเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์ โดยเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
พร้อมกันนี้ นาโนเทคได้ดำเนินโครงการวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการ ของประเทศผ่านโครงการขับเคลื่อนสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ เพื่อการบูรณาการและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศ ในเชิงเป้าหมายหลักในการดำเนินงานนาโนเทคสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการวิจัยและพัฒนาจนนำไปสู่การสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคมมีมูลค่า 8,855 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้จากการวิจัยและพัฒนา จำนวน 48.97 ล้านบาท สามารถสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการการผ่านบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในระดับนานาชาติ จำนวน 86 เรื่อง เหล่านี้คือผลการดำเนินงานของนาโนเทคทั้งการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
ในนามของประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ผมขอขอบคุณและส่งความปรารถนาดีมายังผู้บริหาร นักวิจัย และบุคลากรทุกท่าน รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร และมหาวิทยาลัย ที่ช่วยผลักดันและสร้างความเข้มแข็งในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์
ประธานกรรมการบริหาร
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจในการดำเนินงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศ และสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต อันจะนำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เป็นฐานสำคัญของประเทศไทย ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันประเทศและยกระดับคุณภาะชีวิตของประชาชนภายใต้ความตระหนักในการรักษาและดูแลใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานของนาโนเทค ตามแผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ในปีงบประมาณ 2561 ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม การสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน ภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคการเกษตร และภาคชุมชนอย่างต่อเนื่อง เกิดผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จำนวน 86 เรื่อง ต้นแบบเชิงพาณิชย์/ สาธารณประโยชน์ จำนวน 10 ต้นแบบ รางวัล ด้านวิจัย/วิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติและทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ที่นำไปใช้ประโยชน์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
ในปี 2561 นาโนเทคได้ดำเนินโครงการศูนย์ เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2561-2564) มุ่งเน้นให้เกิดเครือข่ายวิจัยเฉพาะทางที่ ทําางานวิจัยร่วมกัน สร้างฐานเทคโนโลยีและต่อยอดผลงาน ไปสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการดำเนินงานตามหัวข้อวิจัย ในประเด็นมุ่งเน้นของนาโนเทค สวทช. ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายวิจัย ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี เพื่อการแพทย์และสาธารณสุข นาโนเทคโนโลยี เพื่อสิ่งแวดล้อม นาโนเทคโนโลยีเพื่ออาหารและการเกษตร นาโนเทคโนโลยีเพื่อมาตรวิทยาและการวิเคราะห์ทดสอบ และ นาโนเทคโนโลยีเพื่อพลังงาน ทำงานร่วมกับ 11 ศูนย์เครือข่ายจาก 7 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิทยสิริเมธี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พร้อมกันนี้ นาโนเทคได้สร้างความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยท้ังในและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ซ่ึงเป็นกลยุทธ์ความ ร่วมมือ (strategic partner) ที่สำคัญของนาโนเทคด้าน วิชาการและการถ่ายทอดผลงานวิจัย สำหรับกระบวนการ ภายในนาโนเทคได้มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของ องค์กรและบุคลากร เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของการวิจัย และพัฒนา โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภายใน กระบวนการทำงาน การสื่อสารภายใน การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทําางาน สำหรับบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรที่สําาคัญขององค์กรในการ พัฒนางานวิจัย และผลักดันผลงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของ ประเทศในระยะต่อไป
ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อ หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ตลอดจนผู้ที่ สนใจงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี พร้อมกันนี้ ขอขอบคณุ คณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ นักวิจัย บุคลากร หน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนและร่วม สร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนาของนาโนเทคให้เป็นที่ประจักษ์
ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ผู้อำนวยการ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทสรุปผู้บริหาร 2561
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโดยมีภารกิจเพื่อสร้าง สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนแม่บทนาโนเทคโนโลยีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 นาโนเทคมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
การวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี
นาโนเทคดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ตอบโจทย์ความต้องการ ของประเทศ รวมไปถึงส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมตาม ประเด็นมุ่งเน้นของ สวทช. ในการขับเคลื่อน 5 กลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายสู่ไทยแลนด์ 4.0 ประกอบไปด้วย
-
กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
-
กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
-
กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
-
กลุ่มดิจิทัลเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อ และบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี สมองกลฝังตัว
-
กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และ บริการที่มีมูลค่าสูง
ในปีงบประมาณ 2561 ผลงานจากการวิจัย และพัฒนาได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับ นานาชาติ จำนวน 86 บทความ ซึ่งเป็นวารสารที่มีค่า impact factor มากกว่า 4 จำนวน 25 บทความ ได้รับอนุสิทธิบัตร จำนวน 29 ผลงานยื่นขออนุสิทธิบัตร จำนวน 66 ขออนุสิทธิบัตร จำนวน 66 ผลงาน ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 25 ผลงาน ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบจำนวน 4 ผลงาน ยื่นคำขอรับความลับทางการค้า จำนวน 1 ผลงาน ต้นแบบจำนวน 10 ผลงาน และนักวิจัย นาโนเทคได้รับรางวัลจากผลงานวิจัย ทุนวิจัยและรางวัล ประเภทอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวน 26 รางวัล
การพัฒนากำลังคนและบุคลากรด้านนาโนเทคโนโลยี
นาโนเทคส่งเสริมการสร้างบุคลากรด้านนาโนเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานาโนเทคโนโลยี ของประเทศผ่านการจัดสรรทุนรัฐบาลตามความต้องการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเฉลี่ยปีละ 10 ทุน และในขณะเดียวกัน นาโนเทคร่วมกับโครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 1-2 (พ.ศ. 2549-2560) ผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 628 คน และปริญญาเอก จำนวน 417 คน และในปี 2561 โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2561-2564) มีเป้าหมายจะผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 139 คน และปริญญาเอก จำนวน 89 คน
การบริหารจัดการภายในเชิงรุก
นาโนเทคให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรเพื่อรองรับการเจริญเติบโตการวิจัยและพัฒนา โดยดำเนินการปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายใน กระบวนการทำงาน การสื่อสารภายใน การพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งพัฒนาขีดความสามารถ การเสริมสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเสริมสร้างความสมดุลในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน โดยในปี 2561 ได้คัดเลือกกระบวนการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบและกระบวนการภายใน จําานวน 5 กระบวนการ ได้แก่การบริหารคลังสารเคมีและวัสดุ การจัดซื้อสารเคมี วัสดุ และ PPE การสร้างระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการบริหารงาน การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายในการบริหารจัดการภายใน ศน. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การดำเนินงานด้านงบประมาณ
นาโนเทคได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสวทช. จำนวน 506.31 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 475.72 ล้านบาท จำแนกเป็นค่าใช้จ่ายตามพันธกิจหลักในการดำเนินงานได้เป็นโปรแกรมวิจัยและศูนย์เครือข่าย จำนวน 124.69 ล้านบาท โปรแกรมพันธกิจและการบริหารจัดการ จำนวน 82.08 ล้านบาท งบลงทุนด้านครุภัณฑ์ จำนวน 65.29 ล้านบาท งบลงทุนด้านการก่อสร้าง จำนวน 11.53 ล้านบาท และงบประมาณด้านบุคลากร จําานวน 192.13 ล้านบาท
การวิจัยและพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบ
นาโนเทคได้พัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จำนวน 60 โครงการ ในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 12 โครงการ โครงการร่วมวิจัยและรับจ้างวิจัย จำนวน 48 โครงการ โดยเป็นโครงการใหม่ จำนวน 30 โครงการ และโครงการต่อเนื่อง จำนวน 18 โครงการ ให้บริการด้านเทคนิควิเคราะห์ทดสอบให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 1,752 รายการ ให้บริการด้านการผลิตเครื่องสำอางจากโรงงานต้นแบบ เครื่องสำอางจำนวน 21 รายการ
นาโนเทคได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศรวม 8,864.1 ล้านบาท ตัวอย่าง ผลงานวิจัย เช่น 1) ชุดตรวจ Dextran ปนเปื้อนใน กระบวนการผลิตน้ำตาล สร้างผลกระทบมูลค่ามากกว่า 623 ล้านบาท 2) ผลิตภัณฑ์ดูดจับสารพิษจากเชื้อราปนเปื้อนในอาหารสัตว์ สร้างผลกระทบมูลค่ามากกว่า 3,264 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ นาโนเทคดําาเนินโครงการสมุนไพร เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจ ภายใต้แผนบูรณาการ การขับเคลื่อนสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจและโครงการเมือง สมุนไพรกลุ่มจังหวัด ตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) ด้วยนาโน เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าสารสกัดสมุนไพรและนำรายได้เข้าสู่ประเทศ
บทบาทการดำเนินงานด้านความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี
นาโนเทคสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในระดับภาคอุตสาหกรรมและสังคมที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2561 นาโนเทค ได้ผลักดันให้เกิดการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี (มอก.2691) และพัฒนาสื่อเผยแพร่ ความรู้ และ7 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี (มอก.2691)
การพัฒนาความร่วมมือด้านนาโนเทคโนโลยีกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ
นาโนเทคให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ก้าวทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีระดับชาติและระดับโลกโดยมุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรการวิจัยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรวิจัยและบุคลากรสนับสนุน
นาโนเทคได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัย ในประเทศ เช่น มูลนิธิชัยพัฒนาและสถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมกันนี้ ได้มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อการถ่ายทอดผลงานวิจัยไปใช้ เชิงสาธารณประโยชน์ และสําาหรับการลงนามความร่วมมือต่างประเทศ เช่น National Center for Nanoscience and Technology (NCNST) Nanoscience and Technology Research Center (NTC) และ Institute for Molecular Science (IMS) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความ เข้มแข็งทางวิชาการและการพัฒนากำลังคนด้านนาโนเทคโนโลยี
พร้อมกันนี้ นาโนเทคได้ลงนามความร่วมมือในการดำเนินการโครงการศูนย์เครือข่าย การวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2561-2564) ร่วมกับ 11 ศูนย์ เครือข่ายฯ จาก 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิทยสิริเมธี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดเครือข่ายวิจัยเฉพาะทางในการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน สร้างฐานเทคโนโลยีต่อยอดนำผลงานไปใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศ