นักวิจัยนาโนเทคโนโลยีประเทศไทยร่วมคิดค้นผลิตภัณฑ์บรรเทาทุกข์จากอุทกภัย
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติภายใต้สังกัดของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้มีโอกาสนำชิ้นงานนวัตกรรมของศูนย์ฯ เพื่อใช้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นมุ้งนาโนมุ้งฆ่ายุง ซึ่งช่วยลดการเกิดโรคมาลาเรีย ส่วนการป้องกันน้ำท่วมที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติในอนาคต ตัวอย่างหนึ่งคือ กระสอบอุ้มน้ำ (N – sack) ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับผ้าอ้อมสำเร็จรูป โดยภายในถุงประกอบด้วยพอลิเมอร์ไฮโดรเจลที่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำ สามารถนำมาใช้ร่วมกับถุงทรายเพื่อเพิ่มศักยภาพให้การกั้่นน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด “โดยคาดหวังว่าเราจะสามารถพัฒนา และนำมาใช้ให้ทันกับฤดูฝนที่จะมาถึง โดยน้ำท่วมที่ผ่านมานั้นทำให้ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชนมีส่วนร่วมกันทำงาน และพัฒนาผลงานต่างๆเพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชน” ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงสิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติให้สัมภาษณ์กับ SciDev.Net ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่นการปรับปรุงมุ้งนาโนให้มีคุณสมบัติในการฆ่ายุง โดยการเคลือบสารเดลต้าเมทธริน ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อระบบประสาท โดยสารซึมผ่านตัวรับสัญญาณที่ขายุง เข้าไปยั้บยังการส่งกระแสประสาททำให้ยุงเป็นอัมพาตและตายในที่สุด, พัฒนาผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เป็นแบบโลชั่นและแบบผง โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนั้นถูกพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านนาโนเป็นหลัก นอกจากนี้ทางศูนย์ฯได้ร่วมมือกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ผลิตน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวเพื่อขจัดคราบสนิมเหล็ก กำจัดแบคทีเรีย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับทำความสะอาดบ้าน เพื่อแจกจ่ายให้กับ พนักงาน และประชาชนผู้ประสบอุทกภัย สำหรับ ทศวรรษที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้รับการลงทุนในการวิจัยนาโนเทคโนโลยีและการพัฒนา ที่พยายามสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ทำงานในระดับโมเลกุล โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการวิจัยนาโนเทคโนโลยีในเอเชีย และนับตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาช่วงของนาโนผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนในภาคเกษตรกรรม ซึ่งถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกที่ใหญ่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สุดของโลก