นาโนเทค สวทช. – สป.อว. จัด ASEAN-Japan Consortium on Nanopore and Emerging Technologies

 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) จัดเวทีสัมมนา ASEAN-Japan Consortium on Nanopore and Emerging Technologies ภายในงาน ASEAN Talent Mobility หรือ “ATM CONNECT” ภายใต้แนวคิด “Green Talent Development to Enhance ASEAN Economic Co-Creation and Sustainable Society through STI-Based Solutions” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการนาโนเทค […]

Salinee Tubpila

04/03/2024

“ระบบนำส่งยาแบบแม่นยำ” นวัตกรรมนาโนเทค สวทช.-ศิริราช ปูทางสู่การรักษาโรคมะเร็งสมอง

“มะเร็งสมอง” หนึ่งในมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงส่งผลต่องบประมาณที่หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในประเทศต้องใช้เพื่อรักษาและดูแลผู้ป่วยจากโรคเหล่านี้ อว. โดย นาโนเทค สวทช. จับมือศิริราช ใช้นาโนเทคโนโลยีพัฒนา “ระบบนำส่งยาเพื่อการรักษาและการวินิจฉัยมะเร็งสมอง” ออกแบบอนุภาคนำส่งยาแบบมุ่งเป้าข้ามผ่าน “BBB หรือตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและสมอง” อุปสรรคสำคัญของการรักษา ผลในสัตว์ทดลองได้ผลดี เป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลาง สามารถต่อยอดประยุกต์ใช้กับเปลี่ยนยา โมเลกุลมุ่งเป้า หรือสารทึบรังสี เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ รวมถึงโรคทางสมอง อาทิ พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ได้อีกด้วย ดร. ณัฏฐิกา แสงกฤช หัวหน้าทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การค้นคว้าหาวิธีการและยารักษาโรคที่ดีขึ้นเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางนับเป็นความท้าทายของนักวิจัยทั่วโลก เนื่องจากอุปสรรคสำคัญในการส่งผ่านยารักษาเข้าสู่เซลล์สมอง ทีมวิจัยนาโนเทค จึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ. นพ. สิทธิ์ สาธรสุเมธี ภายใต้โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC […]

Salinee Tubpila

29/02/2024

นาโนเทค สวทช. ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ ในงานประชุมระดมความเห็น เพื่อการขับเคลื่อน CCUS TRM จัดโดย สกสว.

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม Sigma ชั้น 6 โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรม ประชุมระดมความเห็นเพื่อการขับเคลื่อนแผนที่นำทางเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage Technology Roadmap : CCUS TRM) โดยมี ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. ได้แจ้งวัตถุประสงค์ และเล่าถึงความสำคัญของการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ Net Zero Emission ทั้งนี้ การประชุมนี้ถือเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่ สกสว. ได้สนับสนุนให้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร จัดทำโครงการ […]

Salinee Tubpila

22/02/2024

ไอออนิกซิลเวอร์ นวัตกรรมนาโนเทค สวทช. ทลายข้อจำกัดสู่ “สารฆ่าเชื้อทนร้อน ทนแสง”

เมื่อน้ำยาฆ่าเชื้อ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ด้วยผลพวงจากการระบาดของโควิด-19 การค้นคว้าวิจัยสารฆ่าเชื้อต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตอบความต้องการใช้งานที่แพร่หลาย ก็มากขึ้นเช่นกัน นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนา “ไอออนิกซิลเวอร์” ที่ทนความร้อนและแสง ลดข้อจำกัดเดิมที่มี เพิ่มโอกาสประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายขึ้น สามารถต่อยอดสู่สารฆ่าเชื้อทั่วไป หรือสารฆ่าเชื้อเฉพาะทาง อาทิ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์สารเคลือบต่างๆบนพื้นผิว สารนำไฟฟ้า ลดการนำเข้า เพิ่มขีดความสามารถเพื่อแข่งขันในตลาดโลกด้วยนวัตกรรมไทย ตอบโมเดลเศรษฐกิจ BCG โลหะต่าง ๆ เช่น เงิน (silver) ทองแดง (copper) และสังกะสี (zinc) มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ดี (Anti-Microbial) โดยเฉพาะซิลเวอร์ไอออน (Silver ion; Ag+) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้ โดยซิลเวอร์ไอออนจะทำให้เอนไซม์ต่างๆ เสียสภาพด้วยการเข้าจับและทำให้ตกตะกอน นอกจากนี้ ยังสามารถฆ่าแบคทีเรียด้วยกลไกการยับยั้งโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์ตาย ในขณะเดียวกัน เมื่อซิลเวอร์ไอออนเข้าไปในดีเอ็นเอ (DNA) ของแบคทีเรียจะส่งผลให้ดีเอ็นเอเสียสภาพจากภายใน ทำให้เซลล์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ โดยโลหะเงินจึงถือได้ว่าเป็นโลหะที่มีความปลอดภัย เนื่องจากเงินในสถานะโลหะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์เพียงเล็กน้อย […]

Salinee Tubpila

15/02/2024

คณะวิทยาศาสตร์ มธ. – นาโนเทคร่วมหารือแนวทางผลักดันโครงการวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ผ่าน “โครงการยุวชนอาสา”  

12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมบอร์ดรูม  อาคาร INC2 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) โดย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้านสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ผศ. ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้านวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน และ คุณเบญญาภา  สุวรรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือและประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ รศ. ดร.ศรุต อำมาตย์โยธิน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อประชุมแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน โครงการยุวชนอาสา โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง ร่วมดำเนินการวิจัยตอบโจทย์เชิงพื้นที่ (นำร่อง) โครงการพัฒนาคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีกับนักวิจัยของนาโนเทค ในโอกาสนี้ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอผลงานวิจัยโครงการพัฒนาคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีในจังหวัดลำปาง  ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน นำเสนอโครงการตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดลำปาง และ ดร.คมสันต์ […]

Salinee Tubpila

15/02/2024
1 10 11 12 55