นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ผลงานโดดเด่นได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2565

ศ.ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วย ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้เกียรติร่วมแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้ให้กับ ดร. อัญชลี จันทร์แก้ว นักวิจัยทีมวิจัยการคำนวณระดับนาโน กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) “สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ” ครั้งที่ 20 ประจำปี 2565 โดยมี ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน และคณะนักวิจัยร่วมแสดงความยินดี งานดังกล่าวจัดโดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ณ โรงแรม พลาซ่าแอทธินี กรุงเทพ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ดร.อัญชลี จันทร์แก้ว […]

Salinee Tubpila

25/11/2022

“ริเชอรัลจากสารสกัดเห็ดหลินจือ- ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยมุก” 2 นวัตกรรมนาโนเทค สวทช. คว้ารางวัลจากเวที SIIF 2022

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. นำนวัตกรรมความงามอย่างริเชอรอล เนเชอรัล เฟเชียว ซีรั่ม ที่ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บอนุภาคสารสกัดเห็ดหลินจือ และไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยมุกสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ไปคว้ารางวัลเหรียญทองและทองแดงจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติในงาน Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022) ณ สาธารณรัฐเกาหลี การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติในงาน Seoul International Invention Fair 2022 (SIIF 2022) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2565 ซึ่ง SIIF เป็นเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติที่มีขนาดใหญ่และสำคัญมากในเอเชีย ในแต่ละปีมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากประเทศต่างๆ  เข้าร่วมนำเสนอและประกวดกว่า 1,000 ผลงาน โดยนักวิจัย ศน.ได้นำผลงานวิจัยไปร่วมประกวดและสามารถคว้ารางวัลจากงาน ริเชอรอล (REISHURAL) ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Prize) จาก SIIF 2022 โดยเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากรรมวิธีสกัดสารสำคัญจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือและระบบอนุภาคนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเวชสำอาง ที่ ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด […]

Salinee Tubpila

24/11/2022

รับสมัคร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นองค์กรชั้นนำของประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต้องการรับสมัคร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เพื่อเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2566 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ มีภารกิจในการดำเนินการวิจัย การสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในด้านเทคโนโลยีโลหะและวัสดุ ซึ่งมีความสำคัญอย่างสูงต่อความสามารถในการผลิตและความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ในการนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จึงใคร่เชิญชวนผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2565 โดยมีรายละเอียดตามเอกสารดาวน์โหลด ประกาศ สวทช. เรื่องการรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็น ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ใบสมัคร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ [PDF] | [DOCX]   ติดต่อขอรายละเอียดประกาศรับสมัครและเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวโสภิดา เนตรวิจิตร e-mail: sopidan@nstda.or.th โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 71144 โทรสาร 0 2564 7021

Salinee Tubpila

15/11/2022

นาโนเทค สวทช.-มธ. จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์ และการประยุกต์ใช้เชิงอุตสาหกรรม”

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และหน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมพลังงานและฟิสิกส์แผนใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) รวมกันจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์ และการประยุกต์ใช้เชิงอุตสาหกรรม” ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จ.ปทุมธานี เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ เรื่องของการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพลังงานสะอาด ด้วยวัสดุเพอรอฟสไกท์ ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว หัวหน้าทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า เซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์ถือเป็นนวัตกรรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงในเชิงอุตสาหกรรม น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น และสามารถใช้วัสดุที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถปรับให้เป็นแผ่นโปร่งใส หรือใส่สีสันต่างๆ เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์เป็นนวัตกรรมที่แพร่หลายและเข้าถึงได้ง่าย จึงได้จัดงานนี้ขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยได้รับเกียรติจากผศ.ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์ ห้องปฏิบัติการพื้นผิวและรอยต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ดร.อนุศิษย์ แก้วประจักษ์ นักวิจัยทีมนวัตกรรมเคลือบนาโน นาโนเทค ร่วมบรรยายให้ความรู้ รวมทั้งมีกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง การประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพลังงานสะอาด ด้วยวัสดุต้นทุนต่ำอย่างเพอรอฟสไกท์ โดย ทีมงานวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค อีกด้วย

Salinee Tubpila

09/11/2022
1 22 23 24 53