เม็ดบีดส์เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ เม็ดบีดส์เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม (Hydrogel Beads for Environmental Applications) วิจัยและพัฒนาโดย ดร.สินีนาฏ ไทยบุญรอด และคณะ ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จัดเป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมหนัก อันเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและให้ผลผลิตในจำนวนมหาศาล สะท้อนปริมาณของของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีปริมาณมากตามไปด้วย คล้ายกับกลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ในกระบวนการบำบัดและกำจัดของเสียของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง ซึ่งหากมีการบำบัดอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษ อันประกอบไปด้วยสารอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ที่จะปะปนอยู่กับน้ำทิ้งของอุตสาหกรรม แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานปิโตรเคมีหรือโรงงานปิโตรเลียม คือ กระบวนการย่อยสารอินทรีย์ด้วยแบคทีเรีย โดยอาศัยการสร้างแหล่งที่อยู่ให้กับแบคทีเรีย หรือการตรึงเซลล์ไว้ในตัวกลาง (Cell Immobilization) ตัวกลางดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่มีรูพรุน เพื่อให้แบคทีเรียที่ทำหน้าที่ย่อยยึดเกาะ ทั้งยังเป็นแหล่งให้ออกซิเจนและอาหารผ่านได้และเป็นสภาวะที่เหมาะสมส่งเสริมให้แบคทีเรียมีอัตราการเจริญเติบโตได้ดี รูปตัวกลางที่ทำหน้าที่ตรึงเซลล์เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม https://www.japanchemicaldaily.com/2017/10/20/kuraray-targets-zld-systems-in-pursuit-of-growing-water-treatment-business/http://www.en.sumiowater.com/waste-water-sectors/wastewater-treatment-oil-refineries/   สรุปเทคโนโลยี TRL ความท้าทายของการพัฒนาตัวกลางที่ใช้ในการตรึงเซลล์ สามารถพัฒนาได้ทั้งในรูปของสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ ซึ่งสามารถพัฒนาได้จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ และพอลิเมอร์ธรรมชาติ […]

Salinee Tubpila

31/08/2020

“FRAcelle” เส้นใยเซลลูโลสระดับนาโน

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ “FRAcelle” เส้นใยเซลลูโลสระดับนาโน นวัตกรรมทางวัสดุชีวภาพขั้นสูงและยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 21 วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วรนุช อิทธิเบญจพงศ์ และคณะ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา (CAT) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.   ที่มาและความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เส้นใยนาโนเซลลูโลส (Cellulose Nanofiber) เป็นเส้นใยละเอียดพิเศษขนาดนาโนเมตรที่ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลสที่มีอยู่ในธรรมชาติขนาดไมโครเมตรมาผ่านกรรมวิธีการผลิตให้ได้เส้นใยเซลลูโลสที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร โดยสมบัติพิเศษต่างๆ ของนาโนเซลลูโลสทำให้มีการขนานนามนาโนเซลลูโลสเป็นวัสดุแห่งอนาคตที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ด้านวัสดุเสริมแรง ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ด้านอาหารและเวชภัณฑ์ ด้านชีวการแพทย์ เป็นต้น สรุปเทคโนโลยี ความน่าสนใจ และความพิเศษของนาโนเซลลูโลส คือ 1. น้ำหนักเบาเพียง 1 ใน 5 ของวัสดุโลหะแต่มีความแข็งแรงมากกว่าถึง 5 เท่า และมีพื้นที่ผิวสูง 2. สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (biodegradable) 3. มีความสามารถเข้ากันได้กับเนื้อเยี่อของร่างกาย (biocompatible) เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำ (low cytotoxicity) 4. […]

Salinee Tubpila

31/08/2020

นาโนเทคพาสื่อมวลชนลงใต้ชมนวัตกรรมเด็กในโครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. นำผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ภาคใต้ เยี่ยมชม “เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน” และ “เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ” นวัตกรรมเยาวชนจากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีในโครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ที่มองปัญหาภายในชุมชนเป็นโจทย์สร้างนวัตกรรมต้นแบบสู่การใช้ประโยชน์ในระดับชุมชนในอนาคต เตรียมความพร้อมประกวดรอบชิงชนะเลิศ 4-6 กย. นี้ โครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และโครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก รองผู้อำนวยการนาโนเทคชี้ว่า โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดค้น สร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดผลงาน ด้วยการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยนาโนเทคโนโลยี นำไปสู่ทักษะในการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และสื่อสารการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยนาโนเทคโนโลยีของครู และนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงช่วยสร้างความตระหนักและเกิดการกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยนาโนเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องอีกด้วย โดย 2 นวัตกรรมเยาวชนที่นาโนเทคพาไปเยี่ยมชมได้แก่ “เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน” (Nano Ocean Bin) คือ ทุ่นลอยระดับผิวน้ำ […]

Salinee Tubpila

10/08/2020

สเปรย์เคลือบหน้ากากผ้ากันน้ำ กันน้ำมัน กันฝุ่น และกันการยึดเกาะของเชื้อโรค (Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray)

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray “สเปรย์เคลือบหน้ากากผ้ากันน้ำ กันน้ำมัน กันฝุ่น และกันการยึดเกาะของเชื้อโรค” วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี เนื่องด้วยวิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในท้องตลาด คณะผู้วิจัยจึงมีความตั้งใจในการพัฒนาสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า ให้มีคุณสมบัติกันน้ำ กันน้ำมัน และกันฝุ่น เพื่อลดการเกาะจากละอองฝอยของน้ำ น้ำมัน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปะปน นอกจากนี้สเปรย์ดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ในระยะยาวด้านอาชีวอนามัยเพื่อความปลอดภัย (Occupational health) ของอาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันและฝุ่นในปริมาณมาก สรุปเทคโนโลยี Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray คือ สเปรย์ที่สามารถพ่นเคลือบทำให้พื้นผิวสิ่งทอมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ กันน้ำมัน และกันฝุ่น เพื่อลดการเกาะจากละอองฝอยของน้ำ น้ำมัน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปะปน โดยสเปรย์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่เปลี่ยนแปลงสีและรูปร่างของพื้นผิวที่พ่นเคลือบ สามารถใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า ทดแทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ลดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน โดยสารเคลือบดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบ Standard Toxicity Test […]

Salinee Tubpila

21/07/2020

กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ไขอ้อย (sugarcane wax) เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำที่น่าสนใจ ส่วนมากไขอ้อยจะได้จากการสกัดกากหม้อกรองที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในปัจจุบันมีประโยชน์ในแง่การนำเอาไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมยา และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้แทนไขคาร์นูบา (carnauba wax) ที่มีราคาแพงในการผลิตเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์ยาได้เป็นอย่างดี โดยสารสำคัญที่มีอยู่ในไขอ้อยมีหลายชนิดและมีปริมาณไม่แน่นอน ได้แก่ กลุ่มกรดไขมัน (fatty acid) คีโตน (ketone) แอลดีไฮด์ (aldehyde) เอสเทอร์ (ester) กลุ่มของสารพวกไฟโตสเตอรอล (phytosterols) และแอลกอฮอล์สายโซ่คาร์บอนยาวหลายชนิดที่ไม่ชอบน้ำหรือเรียกว่ากลุ่มสารโพลิโคซานอล (a mixture of long chain primary aliphatic alcohols หรือ policosanol) องค์ประกอบหลักของสารโพลิโคซานอลที่ได้จากไขอ้อย ได้แก่ เตตระโคซานอล (tetracosanol, C24) เฮกซะโคซานอล (hexacosanol; C26) ออกตะโคซานอล […]

Salinee Tubpila

21/07/2020

นาโนเทค สวทช. เปิดบริการทดสอบพิษวิทยาในตัวอ่อนปลาม้าลายที่แรกของไทย

นาโนเทค สวทช. เปิดบริการทดสอบพิษวิทยาในตัวอ่อนปลาม้าลายที่แรกของไทย เตรียมต่อยอดประยุกต์ทดสอบฤทธิ์ยาต้านมะเร็ง ตอบความต้องการทางการแพทย์ นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการทดสอบความปลอดภัยและฤทธิ์ทางชีวภาพโดยใช้ตัวอ่อนปลาม้าลายแทนการใช้สัตว์ทดลอง นำร่องให้บริการ 2 วิธีคือ การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน และการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเม็ดสีเมลานิน รองรับการวิจัยพัฒนายา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ชูจุดเด่นเรื่องมาตรฐานสากล ใช้เวลาและสารที่ต้องการทดสอบน้อย ค่าใช้จ่ายถูกกว่า เดินหน้าต่อยอดพัฒนาการทดสอบฤทธิ์ต้านการกำเนิดหลอดเลือด สำหรับใช้ทดสอบยาต้านมะเร็ง รวมถึงการทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ดร.วิทยา พิมทอง นักวิจัยจากทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ทีมวิจัยฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัยด้านความปลอดภัยของอนุภาคนาโน สารสมุนไพร สารเคมี รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยในการทดสอบความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ทางศูนย์ได้ใช้ปลาม้าลาย (zebrafish) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Danio rerio เป็นแบบจำลองในการทดสอบ ซึ่งปลาม้าลายเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) ได้แนะนำให้ใช้ปลาม้าลายเป็นต้นแบบในการทดสอบความเป็นพิษและการทดสอบฤทธิ์ยา “ตัวอ่อนปลาม้าลายมีข้อดีต่อการวิจัยเกี่ยวกับพันธุกรรมและพัฒนาการของตัวอ่อนหลายด้าน ไม่ว่าด้านปริมาณ ซึ่งปลาม้าลายตัวเมียที่โตเต็มวัยหนึ่งตัวสามารถให้ไข่ได้มากถึง […]

Salinee Tubpila

22/06/2020
1 48 49 50 53