นาโนเทคหารือรอบ 3 ดัน “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” ยกระดับอุตฯ เครื่องสำอางไทย

         ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อร่วมพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยด้วย “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง (Thai Cosmepolis)” ครั้งที่ 3 โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เป็นตัวแทนจากภาคสนับสนุนและส่งเสริม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย รวมถึงตัวแทนจากภาคส่งเสริมอุตสาหกรรม (เอกชน) บางส่วน เช่น สภาอุตสาหกรรม คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย เป็นต้น เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นจากภาคสนับสนุนและส่งเสริมที่กล่าวมาข้างต้น โดย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา นาโนเทค ดำเนินการ ซึ่งในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆกว่า 65 คน ผลจากการประชุมระดมความคิดเห็นทั้ง 3 ครั้ง ใน 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่มุ่งเน้นการส่งออกและผลิตวัตถุดิบ, ผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่เน้นการขายในประเทศ และภาคสนับสนุนและส่งเสริม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย รวมถึงตัวแทนจากภาคส่งเสริมอุตสาหกรรม เห็นไปในทิศทางเดียวกันที่จะขับเคลื่อนและผลักดันให้โครงการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” หรือ […]

Salinee Tubpila

06/02/2020

สวทช. TCELS จับมือพันธมิตร ปั้นนวัตกรรมเครื่องสำอางไทย

  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายพันธมิตร จัดโครงการประกวดนวัตกรรมเครื่องสำอาง (CosmeNovation) ภายใต้ โครงการเชื่อมโยงธุรกิจนวัตกรรมเครื่องสำอางสู่ตลาดต่างประเทศ ปี 2563 (CIB 2020*) เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการไทยที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรมสารสกัด หรือสารออกฤทธิ์จากธรรมชาติเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยเน้นสารที่มีคุณสมบัติด้านการชะลอวัย (Anti-aging) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Cosmetic 360 ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมการเสริมทักษะเตรียมความพร้อม (Masterclass) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ครั้งและได้รับการช่วยเหลือด้านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยโดยนักวิจัยพี่เลี้ยง (Mentor) พร้อมการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทดสอบถึง 400,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้ายจะได้นำสินค้าไปออกแสดงในงาน Cosmetic 360 ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมูลค่าถึง 80,000 บาท คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าร่วมโครงการ ·       เป็นนิติบุคคลไทย ·       เป็นผู้ผลิต และ/หรือ พัฒนาสารสกัด หรือสารออกฤทธิ์จากธรรมชาติ ·       มีความพร้อมในการสมทบค่าใช้จ่าย ค่าทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย 100,000 บาท […]

Salinee Tubpila

03/02/2020

นาโนเทค สวทช. โชว์ศักยภาพในงาน nano tech 2020

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำคณะนักวิจัยและผู้ประกอบการไทย ร่วมนำเสนองานวิจัยและศักยภาพการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ Thailand Pavilion ในงานนิทรรศการวิชาการนานาชาติ nano tech 2020 (The 19th International Nanotechnology Exhibition and Conference) ระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการนานาชาติ Tokyo Big Sight กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับเกียรติจาก นางสาววีรกา มุทิตาภรณ์ผู้อำนวยการกองสนเทศเศรษฐกิจ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, นายร่มเดช พิศาลพงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เปิดงาน ร่วมกับ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. พร้อมด้วย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ ประธานคณะทำงานจัดแสดงนิทรรศการ nano tech 2020 และผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน […]

Salinee Tubpila

30/01/2020

กรองน้ำกร่อย/เค็มด้วย “อัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวง”

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติหรือนาโนเทค สวทช. เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและ มนุษยชาติผ่านงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ เรื่องน้ำ ที่นาโนเทคพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกรอง/บำบัด เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสม เช่นน้ำดีสำหรับอุปโภคบริโภค หรือน้ำทิ้งตามมาตรฐาน สำหรับปล่อยทิ้งแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งการรี-ไซเคิล นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ โดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green technology) รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ปัญหา (Solution provider) ที่เหมาะสม รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรเพื่อบูรณาการร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านน้ำเพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของประเทศ จุดเด่นด้านเทคโนโลยีนาโนที่ตอบโจทย์เรื่องน้ำ คือ ขนาด ซึ่งขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีพื้นที่สำหรับดักจับหรือย่อยสลายสารปนเปื้อน (มลสาร) ได้มากขึ้น รวมถึงสมบัติทางพื้นผิว สามารถปรับปรุงพื้นผิวของวัสดุกรองให้มีสมบัติพิเศษ เช่น กรองและยับยั้งเชื้อ หรือพัฒนาชั้นฟิลม์บางบนไส้กรองเพื่อเลือกดักจับเกลือ งานวิจัย “ไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันที่มีชั้นฟิลม์บางพิเศษ (Thin-film nanocomposite ultrafiltration membrane)” โดยดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำกร่อย โดยเพิ่มคุณสมบัติให้กับไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันด้วยการเคลือบฟิล์มบาง ให้สามารถกรองสิ่งที่มีขนาดเล็ก เช่น […]

Salinee Tubpila

13/01/2020

นาโนเทคพัฒนาชุดตรวจ Dextran ปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล

นักวิจัยนาโนเทค พัฒนาชุดตรวจวิเคราะห์ “เดกซ์แทรน (dextran)” ปนเปื้อนในกระบวนการผลิตน้ำตาล ลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิต ส่งต่อเอกชนใช้ควบคุมคุณภาพการผลิตของโรงงานผลิตน้ำตาล สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 112.5 ล้านบาท           ดร.สาธิตา ตปนียากร ห้องปฏิบัติการทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การปนเปื้อนจากโมเลกุลเดกซ์แทรน เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เนื่องจากทำให้เกิดการสูญเสียปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงผลกำไรและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ           เดกซ์แทรนเป็นสารชีวโมเลกุลที่เป็นพอลิเมอร์ของกลูโคส อัตราส่วนของการสูญเสียจากการเกิดโมเลกุลเดกซ์แทรนในกระบวนการผลิตน้ำตาล พบว่า ถ้ามีการปนเปื้อนของเดกซ์แทรน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำอ้อย จะสูญเสียน้ำตาล 1.123 กิโลกรัมต่อตันอ้อย โดยปริมาณเดกซ์แทรนที่ปนเปื้อนจะสัมพันธ์กับปริมาณน้ำตาลที่สูญเสียไปในลักษณะสมการเชิงเส้น จากข้อมูลการผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิตปี 2560/61 พบว่ามีปริมาณอ้อยที่เข้าหีบทั้งหมด 125.81 ล้านตัน โดยเฉลี่ยอ้อย 1 ตัน สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ประมาณ 105.33 กิโลกรัม ดังนั้นหากโรงงานสามารถผลิตน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นเพียง 1 กิโลกรัมจากอ้อย 1 ตัน ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายได้ถึง 125.81 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ามากกว่า […]

Salinee Tubpila

03/01/2020

E-Nose & E-Sensory นาโนเซ็นเซอร์ จับกลิ่น สี รส

จมูกใครที่ว่าแน่ ยังไม่อาจดมกลิ่นและวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้แม่นยำเหมือน “เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Nose)” นวัตกรรมที่นักวิจัยนาโนเทคพัฒนาขึ้นเลียนแบบจมูกมนุษย์ โดยพัฒนา “นาโนเซ็นเซอร์” ที่สามารถตรวจจับกลิ่น สี รส และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้จริง ในอุตสาหกรรมถุงมือยางธรรมชาติ ธุรกิจเบเกอรี่ รวมถึงการควบคุมคุณภาพอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า 7 พันล้านบาท   ดร.รุ่งโรจน์ เมาลานนท์ ห้องปฏิบัติการทีมวิจัยวิศวกรรมกระบวนการและระบบตรวจติดตาม กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า E-Nose หรือ เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมาจากการเลียนแบบจมูกมนุษย์ โดยประยุกต์ใช้ระบบประมวลผล Principal Component Analysis หรือ PCA ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถนำมาใช้สร้างเงื่อนไขหรือขอบเขตในการวิเคราะห์กลิ่นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกลิ่นที่กำลังตรวจสอบกับกลิ่นเดิมที่ได้เคยบันทึกไว้ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์นี้ การนำพากลิ่นจะเป็นไปตามลักษณะจำเพาะของกลิ่นเอง ผลการวัดจึงใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงที่จมูกมนุษย์ได้รับ ทั้งยังช่วยลดความซับซ้อนในการควบคุมการนำพากลิ่นจากระบบปั๊ม อีกทั้งยังง่ายและสะดวกกับผู้ใช้งานเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะมีข้อแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานเครื่อง Gas Chromatography (GC) ที่ใช้หลักการวิเคราะห์ผลในเชิงปริมาณที่มีความแม่นยำแต่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการแปรผล และใช้เวลาในการทดสอบที่นานกว่ามาก ซึ่งเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพที่ดูแพทเทิร์นของแต่ละกลิ่นจดจำไว้เพื่อทำการเปรียบเทียบความเหมือนกันหรือต่างกันของกลิ่น ที่คล้ายกับการจดจำกลิ่นของมนุษย์ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าในกลิ่นนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบของสารชนิดใด จมูกอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ […]

Salinee Tubpila

03/01/2020
1 51 52 53