NANOTEC Newsletter ฉบับที่ 23: Cover Story
การคำนวณเชิงทฤษฎีในระดับอะตอมนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ถูกประยุกต์ร่วมกับการทดลองในการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านวัสดุและตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายด้าน และด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 8 ปีที่ ดร.อัญชลี จันทร์แก้ว ได้ประยุกต์ใช้ความเชี่ยวชาญเชิงคำนวณด้วยระเบียบวิธีฟังก์ชันนอลความหนาแน่นคลื่นระนาบ (plane-wave based DFT) ในการสร้างองค์ความรู้สำคัญในการพัฒนาวัสดุนาโนในงานด้านต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คือ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมของโมเดลเศรษฐกิจ BCG และเป็นที่มาของงานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยลอรีอัลในปีนี้นั่นเอง