นาโนเทค สวทช.-มธ. จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์ และการประยุกต์ใช้เชิงอุตสาหกรรม”

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และหน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมพลังงานและฟิสิกส์แผนใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) รวมกันจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์ และการประยุกต์ใช้เชิงอุตสาหกรรม” ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จ.ปทุมธานี เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ เรื่องของการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพลังงานสะอาด ด้วยวัสดุเพอรอฟสไกท์ ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว หัวหน้าทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า เซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์ถือเป็นนวัตกรรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงในเชิงอุตสาหกรรม น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น และสามารถใช้วัสดุที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถปรับให้เป็นแผ่นโปร่งใส หรือใส่สีสันต่างๆ เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์เป็นนวัตกรรมที่แพร่หลายและเข้าถึงได้ง่าย จึงได้จัดงานนี้ขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยได้รับเกียรติจากผศ.ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์ ห้องปฏิบัติการพื้นผิวและรอยต่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ดร.อนุศิษย์ แก้วประจักษ์ นักวิจัยทีมนวัตกรรมเคลือบนาโน นาโนเทค ร่วมบรรยายให้ความรู้ รวมทั้งมีกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง การประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์จากพลังงานสะอาด ด้วยวัสดุต้นทุนต่ำอย่างเพอรอฟสไกท์ โดย ทีมงานวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค อีกด้วย

‘แมงกานีสเซนส์’ ชุดทดสอบไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ คว้าเหรียญเงิน และรางวัลพิเศษจาก FIRI ในงาน iENA 2022

ดร. กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ และคณะจากทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิจัย “ชุดทดสอบไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในน้ำ: แมงกานีสเซนส์  (Mn2+ Sense)” ที่ได้รับรางวัล Silver Medal และรางวัล Best Invention FIRI Award (Iran) เป็นการพัฒนาชุดทดสอบไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำอย่างง่าย และรวดเร็ว ใช้ร่วมกับเครื่องอ่านสีขนาดพกพา (DuoEye reader) ซึ่งพัฒนาร่วมกับทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับภาคสนาม สามารถตรวจวัด Mn2+ ได้ในความเข้มข้นต่ำถึง 0.1 ppm (ปริมาณ Mn2+ มาตรฐานในน้ำประปาต้องไม่เกิน 0.3 ppm) ปัจจุบัน มีความร่วมมือกับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ซึ่งมีความต้องการที่จะนำชุดทดสอบนี้ไปใช้ รวมทั้งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสที่พัฒนาขึ้น อาศัยหลักการออกแบบโมเลกุลให้มีความจำเพาะเจาะจงในการจับกับไอออนแมงกานีสในน้ำ โดยเมื่อโมเลกุลดังกล่าวจับกับไอออนแมงกานีสในน้ำ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนเป็นสีส้มอมน้ำตาล และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับเครื่องอ่านสีแบบพกพา (portable colorimetric […]

“กระบวนการผลิตไมโครนีดเดิลแบบอัจฉริยะ” คว้าเหรียญเงิน และรางวัลพิเศษจาก KIPA ในงาน iENA 2022

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนา “กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์” ด้วยเทคนิคการรวมลำแสง สู่กระบวนการผลิตไมโครนีดเดิลแบบอัจฉริยะที่สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วบนผืนผ้า เพิ่มกำลังการผลิตมากกว่า 20 เท่า และผลิตผลิตภัณฑ์ได้ขนาดใหญ่กว่าถึง 100 เท่าจากการผลิตด้วยเทคโนโลยีเดิม สร้างโอกาสทางนวัตกรรมสุขภาพ ความงาม และการแพทย์ ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ และคณะจากทีมวิจัยเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ (Ultra Fast Production of Microneedle Fabrics with Customizable Features)” ที่คว้ารางวัล Silver Medal และรางวัล Special Prize จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) จากงาน “The International Trade Fair – Ideas, Inventions and […]

“แผ่นกรองอากาศคาร์บาโน” จากนาโนเทค สวทช. คว้า 2 รางวัลจากเวที iENA 2022

งานวิจัย “แผ่นกรองอากาศคาร์บาโน (CARBANO air filter)” โดย ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับรางวัล An Excellent Invention from Research Institute of Creative Education in International Trade Fair for Ideas, Inventions & New Products, iENA 2022 และรางวัล Bronze Medal from International Trade Fair for Ideas, Inventions & New Products, iENA 2022 จากงาน “The International Trade […]

นาโนเทค สวทช. พัฒนาอนุภาคนาโนอิมัลชั่นขิง-ทองคำ สู่ครีมลดรอยแผลและครีมร้อนคลายกล้ามเนื้อ

ดร.กนกวรรณ ศันสนะพงษ์ปรีชา ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า งานวิจัย “อิมัลเจลที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนอิมัลชั่นบรรจุสารสกัดจากเหง้าขิงและอนุภาคนาโนทองคำ เพื่อยับยั้งการอักเสบและสมานแผล” เกิดจากความต้องการลดข้อจำกัดของสารสกัดจากเหง้าขิงที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้แม้จะทราบฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระที่สามารถต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ แต่หากไม่สามารถละลายน้ำได้ ก็จะทำให้การซึมผ่านสู่เซลล์ผิวหนังเป็นไปอย่างจำกัด และออกฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบและสมานแผลได้ไม่เต็มที่ “ขิงเป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของไทยที่ปลูกกันเยอะ ด้วยฤทธิ์ร้อนที่สามารถลดการอักเสบทำให้เกิดการนำไปใช้เป็นลูกประคบ เพื่อช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ แต่ด้วยเป็นรูปแบบที่ใช้ยาก ทีมวิจัยเราจึงอยากทำออกมาในรูปแบบที่ใช้ง่าย” ดร.กนกวรรณอธิบาย อนุภาคนาโนอิมัลชั่นที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นสามารถห่อหุ้มสารสกัดไขมันจากเหง้าขิงได้เป็นอย่างดี ทำให้สารสำคัญจากขิงซึมซาบเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้ดีขึ้น เพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลและลดการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ นอกจากสารสกัดจากเหง้าขิง ยังมีการใช้ทองคำซึ่งเป็นแร่ธาตุบริสุทธิ์เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เนียนและกระจ่างใสมากขึ้น แต่แผ่นทองคำที่มีขนาดใหญ่ มีข้อจำกัดในการซึมผ่านผิวหนัง และต้องใช้ในปริมาณมาก จนอาจก่อให้เกิดพิษได้ ทีมวิจัยจึงได้ทำการพัฒนาอนุภาคนาโนทองคำที่มีขนาดเล็กมาก สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดี และมีประสิทธิภาพในการยั้งการอักเสบและสมานแผลแม้ใช้ในปริมาณที่น้อยนิด โดยไม่เกิดพิษต่อร่างกาย

ปุ๋ยคีเลตจุลธาตุอาหาร นวัตกรรมลงสวนทุเรียน-นาข้าวตอบ BCG

ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยคีเลต เป็นการต่อยอดงานวิจัย “สารคีเลตจุลธาตุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่พืช” ที่แก้ปัญหาการสูญเสียและไม่ค่อยได้ประสิทธิภาพของการเติมจุลธาตุอาหารให้กับพืช เพื่อให้พืชมีความสมบูรณ์ ด้วยธาตุอาหารกลุ่มนี้ตกตะกอนง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มที่ “สารคีเลตจุลธาตุอาหาร” ที่นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาขึ้นนั้น เป็นการเตรียมจากกรดอะมิโนซึ่งเป็นหน่วยย่อยขององค์ประกอบประเภทโปรตีนของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ผ่านกระบวนการห่อหุ้มจุลธาตุอาหารในรูปแบบสารเชิงซ้อน ให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดี พร้อมพัฒนาให้สามารถห่อหุ้มจุลธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการยึดเกาะใบด้วยสารโมเลกุลขนาดใหญ่สลายตัวได้ตามธรรมชาติ จึงสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ได้ 20-50% ปุ๋ยคีเลตจุลธาตุอาหารพืชที่พัฒนาโดยทีมวิจัยนาโนเทคนี้ มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์เหมาะสำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป ใช้งานโดยการฉีดพ่นทางใบ ช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช,  เพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบ, เพิ่มกรดอะมิโนให้แก่พืช นอกจากนี้ ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดอันตรายจากการใช้สารสังเคราะห์ และลดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยเคมีที่เกินความจำเป็น หลังประสบความสำเร็จจากการต่อยอดงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ “ปุ๋ยคีเลต” เพิ่มผลผลิตให้กับสวนทุเรียน นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมนี้ ลงนาข้าว ช่วยชาวนาเพิ่มผลผลิต 25-50% ต่อไร่ ด้วยจุดเด่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมจุลธาตุอาหารเข้าสู่พืช ตอบนโยบาย BCG […]

1 19 20 21 55