ไอออนิกซิลเวอร์ นวัตกรรมนาโนเทค สวทช. ทลายข้อจำกัดสู่ “สารฆ่าเชื้อทนร้อน ทนแสง”

เมื่อน้ำยาฆ่าเชื้อ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ด้วยผลพวงจากการระบาดของโควิด-19 การค้นคว้าวิจัยสารฆ่าเชื้อต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตอบความต้องการใช้งานที่แพร่หลาย ก็มากขึ้นเช่นกัน นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนา “ไอออนิกซิลเวอร์” ที่ทนความร้อนและแสง ลดข้อจำกัดเดิมที่มี เพิ่มโอกาสประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายขึ้น สามารถต่อยอดสู่สารฆ่าเชื้อทั่วไป หรือสารฆ่าเชื้อเฉพาะทาง อาทิ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์สารเคลือบต่างๆบนพื้นผิว สารนำไฟฟ้า ลดการนำเข้า เพิ่มขีดความสามารถเพื่อแข่งขันในตลาดโลกด้วยนวัตกรรมไทย ตอบโมเดลเศรษฐกิจ BCG โลหะต่าง ๆ เช่น เงิน (silver) ทองแดง (copper) และสังกะสี (zinc) มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ดี (Anti-Microbial) โดยเฉพาะซิลเวอร์ไอออน (Silver ion; Ag+) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้ โดยซิลเวอร์ไอออนจะทำให้เอนไซม์ต่างๆ เสียสภาพด้วยการเข้าจับและทำให้ตกตะกอน นอกจากนี้ ยังสามารถฆ่าแบคทีเรียด้วยกลไกการยับยั้งโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์ตาย ในขณะเดียวกัน เมื่อซิลเวอร์ไอออนเข้าไปในดีเอ็นเอ (DNA) ของแบคทีเรียจะส่งผลให้ดีเอ็นเอเสียสภาพจากภายใน ทำให้เซลล์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ โดยโลหะเงินจึงถือได้ว่าเป็นโลหะที่มีความปลอดภัย เนื่องจากเงินในสถานะโลหะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์เพียงเล็กน้อย […]

คณะวิทยาศาสตร์ มธ. – นาโนเทคร่วมหารือแนวทางผลักดันโครงการวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ผ่าน “โครงการยุวชนอาสา”  

12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมบอร์ดรูม  อาคาร INC2 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) โดย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้านสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ผศ. ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้านวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน และ คุณเบญญาภา  สุวรรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือและประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ รศ. ดร.ศรุต อำมาตย์โยธิน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อประชุมแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน โครงการยุวชนอาสา โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง ร่วมดำเนินการวิจัยตอบโจทย์เชิงพื้นที่ (นำร่อง) โครงการพัฒนาคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีกับนักวิจัยของนาโนเทค ในโอกาสนี้ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอผลงานวิจัยโครงการพัฒนาคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีในจังหวัดลำปาง  ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน นำเสนอโครงการตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดลำปาง และ ดร.คมสันต์ […]

นาโนเทค สวทช. รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติฯ ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 (Thailand Inventors’ Day 2024) พร้อมพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมด้วย ดร. วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และ ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ ด้านบริหารทั่วไป สวทช.และ รองผู้อำนวยการนาโนเทค แสดงความยินดีกับนักวิจัยนาโนเทค ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ รวม 10 รางวัล ดังนี้ 1. ดร. ณัฏฐิกา แสงกฤช ตำแหน่งนักวิจัยอาวุโส/ หัวหน้าทีมวิจัย สังกัดทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน […]

ระบบบำบัดน้ำบาดาลด้วยนาโนไฮบริดเมมเบรน นวัตกรรมนาโนเทค สวทช. รับ BCG เพื่อความยั่งยืน

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านวัสดุนาโน ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตและภัยแล้งที่ชุมชนหลายแห่งของไทยต้องเผชิญเมื่อใช้น้ำบาดาลในการดำรงชีวิต “นาโนไฮบริดเมมเบรน” ที่ผสานวัสดุกราฟีนออกไซด์และนาโนเคลย์ สู่แผ่นเมมเบรนที่มีรูพรุนระดับนาโน/ไมครอนสำหรับใช้ในระบบกรอง ถอดเปลี่ยน-ล้าง (regenerate) ใหม่ได้ ตอบโจทย์ความต้องการระบบการบำบัดน้ำบาดาลที่มีการปนเปื้อนไอออนต่างๆ เช่น เหล็ก แมงกานีส แคลเซียม เกลือ พร้อมต่อยอดพัฒนาต้นแบบระบบน้ำกรองของโรงเรียน ณ จังหวัดอุดรธานี หวังเป็นตัวช่วยกลุ่มชุมชน โรงเรียน หมู่บ้าน และพื้นที่ชายขอบที่ประสบปัญหาในเรื่องของคุณภาพน้ำด้วยระบบการจัดการน้ำสะอาดที่มีประสิทธิภาพ ตอบ BCG ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทย ดร. กฤตภาส เลาหสุรโยธิน ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ระบบน้ำบาดาลมีความสำคัญมากในพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค ซึ่งในหลายพื้นที่ พบว่า น้ำบาดาลมีการปนเปื้อนไอออนต่างๆ เช่น เหล็ก แมงกานีส แคลเซียม หรือเกลือ ที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ และคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ใช้น้ำ ทีมวิจัยนาโนเทคจึงนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดจากวัสดุนาโนที่มีโครงสร้าง 2 มิติ จากนาโนเคลย์หรือเลเยอร์ดับเบิ้ลไฮดรอกไซด์ที่มีสมบัติในการดูดซับและแลกเปลี่ยนไอออนในการตรึงไอออนและโมเลกุลของสารประกอบต่างๆ เพื่อให้สามารถเพิ่มสมบัติการดูดซับสารปนเปื้อนดียิ่งขึ้น “เราศึกษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการพัฒนาเสริมวัสดุกราฟีนออกไซด์ให้เป็นคอมพอสิตระดับนาโนไฮบริดของวัสดุสองมิติ 2 ชนิด ที่มีความเข้ากันได้ […]

2 สตาร์ทอัพนาโนเทค สวทช. อวดศักยภาพรับทุนสนับสนุนจากโปรแกรม Idea Landing Programme @ HKSTP

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TSP) และเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ร่วมกันสนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงสตาร์ทอัพภายใต้ สวทช. (NSTDA Startup) ไป pitching เพื่อรับการสนับสนุนการทำธุรกิจในประเทศฮ่องกง (Landing Programme) ภายใต้โปรแกรม Idea Landing Programme @ HKSTP ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยร่วมมือกับ Hong Kong Science and Technology Park (HKSTP) เปิดตัว โดยเป็นโปรแกรมที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อผลักดันผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในกลุ่ม Food Tech, Agricultural Tech, Green Tech และ Sustainability เข้าสู่การลงทุนในฮ่องกง และเปิดประตูสู่โปรแกรมการเงินต่างๆ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่ต้องการทำ Market Exploration and Validation ในตลาดในฮ่องกงและจีน ผลการคัดเลือกพบว่า มีบริษัทสตาร์ทอัพผ่านและได้รับการสนับสนุน 8 ราย […]

นาโนเทค สวทช. ส่งนวัตกรรม CCUS ร่วมขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร. สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ได้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงกรอบความร่วมมือ 15 เครือข่ายพลังงานภาครัฐและเอกชนเพื่อเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ “PPP-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City” ชู วทน. เสริมทัพพลังงานสะอาด ตอบนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของไทย โดยมีกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค-สวทช.) นำโดย ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน, นายพงศ์สิทธิ์ รัตนกรวิทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเทคโนโลยีฐานและบูรณาการเครือข่ายวิจัย พร้อมด้วยดร.สัญชัย คูบูรณ์, ดร.ดร.รุ่งนภา แก้วมีศรี และ ดร.จตุพร ปานทอง นักวิจัยทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมนำเสนอผลงาน อ่านเพิ่มเติม 

1 8 9 10 55