นักวิจัย ศน. ได้รับรางวัลนักวิจัยไทยได้รับรางวัลรางวัลดุษฎีบัณฑิต คปก. ดีเด่น

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 23 พ.ย.54 พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศ. ดร. นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำ คณะผู้บริหาร สกว. พร้อมด้วย ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2553-2554 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2553-2554 และดุษฎีบัณฑิต คปก. ดีเด่น ประจำปี 2554 เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานโล่เกียรติยศ เพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิจัยผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ รวม 39 ราย โดยหนึ่งในนั้นคือนักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและตัวเร่งปฏิกิริยา เข้าร่วมรับรางวัลดุษฎีบัณฑิต คปก. ดีเด่นประจำปี 2554 ดร.ขจรศักดิ์ จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทบาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาเคมี มีความสนใจทางด้านการออกแบบและการประยุกต์ถังปฏิกรณ์พลาสมาเพื่อใช้ในการบำบัดอากาศและน้ำเสีย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลงานวิจัยมากกว่า 30 ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างชาติ […]

สวทช.เปิดตัวหน่วยงาน FRIENDS of NSTDA (FoN)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนา ประเทศ ได้ร่วมมือกับ กลุ่มเครือข่ายเพื่อน สวทช. หรือ FRIENDS of NSTDA (FoN) ได้จัดงานเปิดตัวถุงฟื้นฟูบ้าน ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ณ โถงชั้น 1 กระทรวงวิทยาฯ โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนทางด้านเทคโนโลยี มาร่วมพลังกันนำเทคโนโลยีสนับสนุนการฟื้นฟูประเทศและช่วยเหลือผู้ที่ประสบ ภาวะน้ำท่วมให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว โดยใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละพันธมิตรมาร่วมกัน ซึ่งหน่วยงานที่เข้าร่วมนี้ มีหลายหน่วยงานกำลังดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤตินี้อยู่แล้ว ในงานได้รับเกียรติจากนายกมล  บันไดเพชร  เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานแถลงข่าว นายกมล  บันไดเพชร  เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่าจากเหตุอุทกภัยสิ่งที่เห็นนอกจากความสูญเสียแล้ว ยังเห็นความมีน้ำใจของคนไทย ที่ร่วมมือช่วยเหลือกันในทุกๆภาคส่วน และการที่ สวทช. ได้ริเริ่มโครงการเพื่อน สวทช. (FoN) ขึ้น เพื่อระดมเทคโนโลยี เชื่อมโยงกับทรัพยากรอื่นๆ ในการเข้าช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ โดยเน้นการเป็นแก้ปัญหา ให้ความรู้และความคาดหวังที่จะให้รวมกลุ่มกันดำเนินการช่วยเหลือต่อไปในระยะยาว ด้าน ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า  กลุ่มเพื่อน […]

การรายงานสถานการณ์ทางด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรและผู้ร่วมอภิปรายใน 4th WIFE-UiTM Global ซึ่งได้จัดการอภิปรายเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี งานนี้จัดขึ้นโดย World Islamic Economic Forum Foundation (WIFE) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับความสนใจจากภาคเอกชน ประชาชนและนักวิชาการที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้กว่า 170 คน “สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย”ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่าในรายงานเกี่ยวกับสถานะของการพัฒนานาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติทำหน้าที่สองบทบาท คือ เป็นสถาบันที่ให้บริการด้านการวิจัย และพัฒนาโดยนึกถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นลำดับแรก และเป็นหน่วยงานจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยและสถาบันการวิจัยอื่น ๆ นาโนเทคได้มีความร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศทางนาโนเทคโนโลยีในด้านต่างๆ กับแปดมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย (COEs) และมีนักวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีมากกว่า 400 คน เช่นเดียวกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีชั้นนำในต่างประเทศ ในงานนี้ทำให้เห็นว่าทั่วโลกจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นสหวิทยาการของนาโนเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น nanomedicine, nanoelectronics และืnanomaterial รวมถึงปัจจัยการเจริญเติบโตของนาโนเทคโนโลยี โอกาสในการเริ่มต้นขึ้น และปัญหาการชะลอตัวในรายผลิต นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์สำหรับอนาคตของสังคม, สิ่งแวดล้อม, จริยธรรมและประเด็นความเป็นส่วนตัวรวมทั้งผลกระทบของนาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสงครามในอนาคต

ไทยมองหาแนวทางบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติในงาน nanotech 2012

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ตัดสินใจที่จะใช้งาน nanotech 2012 ที่กำลังจะจัดขึ้น เป็นเวที ในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และมองหาผู้ร่วมลงทุนทางธุรกิจในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจะจัดงานภายใต้หัวข้อ “Thailand : Nanotechnology for natural disaster mitigation” ในวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2555 ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยว่าเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปี ซึ่งกินเวลามากกว่า 3 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน (ซึ่งน้ำในหลายพื้นที่ทยอยแห้งแล้วก็ตาม) สาเหตุเกิดจากมรสุมเหตุร้อนพัดผ่านเข้ามาทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด เป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานเสี่ยงที่จะตกงานกว่าล้านคนคิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่าแสนล้านบาท ธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็กทยอยกันปิดตัวลงโดยมีการคาดการณ์เอาไว้ว่ามูลค่าความเสียหายที่ประเทศไทยได้รับในอุทกภัยครั้งนี้กว่า แปดแสนล้านบาท นาโนเทคเองได้มีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชนโดยการที่ศูนย์ได้ประสานกันหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการนำถุงยังชีพที่ประกอบไปด้วยอาหารปรุงสำเร็จ, มุ้งนาโน, โลชันกันยุงนาโน, ผ้าหนูสะอาด, สเปรย์กันยุงจากบ.เครื่องหอมไทยจีน, ชุดเวชภัณฑ์จากองค์การเภสัชกรรม และผลิตภัณฑ์นมจากบ.โฟโมสต์ เข้าแจกจ่ายในพื้นที่ประสบอุทกภัยจำนวนกว่า 500 ชุด ในงาน Nanotech 2012 นาโนเทคได้จัดแสดงผลงานใน 6 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องการบรรเทาภัยธรรมชาติได้แก่ 1. งานวิจัยเกี่ยวกับน้ำสะอาด 2.งานวิจัยเกี่ยวกับการกันยุง 3.งานวิจัยชุดตรวจโรคฉี่หนู […]

การศึกษาผลของ ROS และ Cav- 1ต่อการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

งานวิจัยเรื่อง “Regulation of Lung Cancer Cell Migration and Invasion by Reactive Oxygen Species and Caveolin-1” เป็นผลงานความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย West Virginia ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Caveolin – 1 (Cav – 1) มีบทบาทสำคัญในการแผ่กระจาย และลุกลามของเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ และผลจากโปรตีน Caveolin-1 จะแสดงผลแตกต่างกันออกไปตาม reactive oxygen species (ROS) ที่แตกต่างกัน ในบทสรุปได้ให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาบทบาทที่สำคัญของความแตกต่างของ ROS และ Cav-1ในการลุกลามของเซลล์มะเร็ง  ซึ่งอาจเป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการควบคุมการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งได้ สามารถอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่  : http://www.uphs.upenn.edu/ifem/ins/documents/%289-8-11%29%20Marotta.pdf

งานวิจัยเรื่องยาปลูกผมได้รับรางวัลในงานประชุมวิชาการที่ประเทศเกาหลี

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ในงาน ” 2011 Asia Woman Eco-Science Forum” ดร.อภิรดา สุคนธ์พันธ์ นักวิจัยสาวจากห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีโอกาศนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Herbal Extracts and Formulation Development of Nanoemulsions for Hair Growth” หรือการสกัดและการพัฒนาปรับปรุงสูตรสมุนไพรโดยใช้นาโนเทคโนโลยีทำให้อิมัลชั่นอยู่ในระดับนาโน เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของเส้นผม ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการและผู้เ้ข้าร่วมประชุม ให้เป็น 1 ใน 4 ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล “2011 AWESF-AMORE PACIFIC AWARD” ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี งานวิจัยนี้ ดร.อภิรดา ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำเอานาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียทางการเกษตร  เช่น รำข้าว โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของน้ำมันรำข้าวให้มีความสามารถในการซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ง่ายโดยอาศัยกรรมวิธีทางด้านนาโนเทคโนโลยี ทำให้อิมัลชั่นมีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรจึงสามารถซึมผ่านหนังศีรษะ และเร่งการเจริญเติบโตของเส้นได้ ซึ่งงานวิจัยนี้ถูกนำเสนอในหัวข้อการประชุม Eco-friendly Forum โดยงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียจากการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา และลดองค์ประกอบที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ให้น้อยลง […]

1 46 47 48 52