การบำบัดน้ำเสียที่มีสารประกอบฟีนอลโดยใช้ถังหมักฟลูอิไดซ์เบส
คณะนักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้มีการศึกษาและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของสารฟีนอลโดยการออกแบบระบบบำบัดชั้นลอยตัว (fluidized bed reactor) แบบต่อเนื่อง 3 ขั้นตอนโดยทำการศึกษาผลการทดลองกับตัวอย่างการปนเปื้อน 7 กรณีศึกษา “สารประกอบฟีนอลเป็นสารที่อุตสาหกรรมต่างๆ เลือกใช้ แต่เป็นที่รู้กันดีว่าสารประกอบฟีนอลเหล่านั้นมีความเป็นพิษสูง มีฤทธิ์กัดกร่อน สามารถทำลายชั้นผิวหนัีงแลแะเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต แล้วสารประกอบฟีนอลบางประเภทยังเป้นสารก่อมะเร็งอีกด้วย เนื่องจากสารประกอบฟีนอลมีความสามารถในการผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังโดยผ่านชั้นไขมันส่งผลกระทบไปยังตับ ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม และอาจส่งให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมที่มีการปนเปื้อนของสารประกอบฟีนอลก่อนปล่อยออกแหล่งน้ำเพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม” ดร.ประธาน วงศ์ศริเวช นักวิจัยห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและการเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนสารประกอบฟีนอลโดยอาศัยการใช้โอโซน (Ozone) ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) สารซีโอไลต์ (Zeolite) หรือสารที่มีคุณสมบัติในการบำบัดสารประกอบฟีนอล เติมลงในถังยำยัดแบบลอยตัว โครงการนี้นาโนเทคได้รับความร่วมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) งานวิจัยนี้ได้ทำการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Chinese Journal of Chemical Engineering