ฝุ่น: ปัญหา และการรับมือด้วย วทน.

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 -15.30 น. ณ ห้อง CC-307 อาคารศูนย์ประชุมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งขาติ (สวทช.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) จัดงานสัมมนา “ฝุ่น: ปัญหา และการรับมือ” ภายใต้งานประชุมวิชาการ NAC2024 โดยภายในงาน ได้รับเกียรติจากพลตรี รศ. ดร. ชัยณรงค์ เชิดชู ประธานคณะทำงานเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมเรื่องความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี กล่าวเปิดสัมมนา จากนั้น ดร. เวฬุรีย์ ทองคำได้เรียนเชิญวิทยากรขึ้นบรรยาย ดร. ศักดา ตรีเดช ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ นำเสนอเรื่อง การดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่นลอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยได้กล่าวถึงแหล่งที่มาของฝุ่นในประเทศไทย รวมถึงการป้องกัน และติดตามสถานะการณ์ฝุ่นที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การอ่านค่าคุณภาพของอากาศ หรือ AQI และการใช้ supercomputer ในการประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเพื่อประโยชน์ในแก้ไขและควบคุมปัญหาฝุ่น PM2.5 ในประเทศ […]

นาโนเทค สวทช. ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ชูประเด็นระดับประเทศ ภายใต้งานสัมมนา“รู้ใจ ไม่รู้ไต : ร่วมชะลอภัยโรคไต ด้วยระบบนิเวศนวัตกรรมไทย”  ในงาน NAC2024

วันที่ 29 มีนาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. สวทช. โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) จัดงานสัมมนา“รู้ใจ ไม่รู้ไต : ร่วมชะลอภัยโรคไต ด้วยระบบนิเวศนวัตกรรมไทย” ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. ภายใต้งานประชุมวิชาการ NAC2024 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน กับการรับมือกับปัญหาโรคไตในประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันในการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการนำนวัตกรรมไทยไปใช้ประโยชน์ในการชะลอและป้องกันโรคไตให้กับประชาชนไทยได้อย่างแท้จริง โดยมี ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเปิดงาน ต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา ภายในงานได้รับเกียรติจากวิทยากร ทั้งจากทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ. วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย รศ.พญ. ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย หัวหน้าโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (CKDNET) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เภสัชกร กฤษณภัชฏ์ จิตจักร […]

นาโนเทค สวทช. – สป.อว. จัด ASEAN-Japan Consortium on Nanopore and Emerging Technologies

 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) จัดเวทีสัมมนา ASEAN-Japan Consortium on Nanopore and Emerging Technologies ภายในงาน ASEAN Talent Mobility หรือ “ATM CONNECT” ภายใต้แนวคิด “Green Talent Development to Enhance ASEAN Economic Co-Creation and Sustainable Society through STI-Based Solutions” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการนาโนเทค […]

“ระบบนำส่งยาแบบแม่นยำ” นวัตกรรมนาโนเทค สวทช.-ศิริราช ปูทางสู่การรักษาโรคมะเร็งสมอง

“มะเร็งสมอง” หนึ่งในมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงส่งผลต่องบประมาณที่หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในประเทศต้องใช้เพื่อรักษาและดูแลผู้ป่วยจากโรคเหล่านี้ อว. โดย นาโนเทค สวทช. จับมือศิริราช ใช้นาโนเทคโนโลยีพัฒนา “ระบบนำส่งยาเพื่อการรักษาและการวินิจฉัยมะเร็งสมอง” ออกแบบอนุภาคนำส่งยาแบบมุ่งเป้าข้ามผ่าน “BBB หรือตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและสมอง” อุปสรรคสำคัญของการรักษา ผลในสัตว์ทดลองได้ผลดี เป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลาง สามารถต่อยอดประยุกต์ใช้กับเปลี่ยนยา โมเลกุลมุ่งเป้า หรือสารทึบรังสี เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ รวมถึงโรคทางสมอง อาทิ พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ได้อีกด้วย ดร. ณัฏฐิกา แสงกฤช หัวหน้าทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การค้นคว้าหาวิธีการและยารักษาโรคที่ดีขึ้นเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางนับเป็นความท้าทายของนักวิจัยทั่วโลก เนื่องจากอุปสรรคสำคัญในการส่งผ่านยารักษาเข้าสู่เซลล์สมอง ทีมวิจัยนาโนเทค จึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ. นพ. สิทธิ์ สาธรสุเมธี ภายใต้โครงการศูนย์เครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี (Research Network of NANOTEC […]

นาโนเทค สวทช. ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ ในงานประชุมระดมความเห็น เพื่อการขับเคลื่อน CCUS TRM จัดโดย สกสว.

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม Sigma ชั้น 6 โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรม ประชุมระดมความเห็นเพื่อการขับเคลื่อนแผนที่นำทางเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำทางประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage Technology Roadmap : CCUS TRM) โดยมี ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. ได้แจ้งวัตถุประสงค์ และเล่าถึงความสำคัญของการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ Net Zero Emission ทั้งนี้ การประชุมนี้ถือเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากที่ สกสว. ได้สนับสนุนให้ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร จัดทำโครงการ […]

ไอออนิกซิลเวอร์ นวัตกรรมนาโนเทค สวทช. ทลายข้อจำกัดสู่ “สารฆ่าเชื้อทนร้อน ทนแสง”

เมื่อน้ำยาฆ่าเชื้อ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ด้วยผลพวงจากการระบาดของโควิด-19 การค้นคว้าวิจัยสารฆ่าเชื้อต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตอบความต้องการใช้งานที่แพร่หลาย ก็มากขึ้นเช่นกัน นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนา “ไอออนิกซิลเวอร์” ที่ทนความร้อนและแสง ลดข้อจำกัดเดิมที่มี เพิ่มโอกาสประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายขึ้น สามารถต่อยอดสู่สารฆ่าเชื้อทั่วไป หรือสารฆ่าเชื้อเฉพาะทาง อาทิ ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์สารเคลือบต่างๆบนพื้นผิว สารนำไฟฟ้า ลดการนำเข้า เพิ่มขีดความสามารถเพื่อแข่งขันในตลาดโลกด้วยนวัตกรรมไทย ตอบโมเดลเศรษฐกิจ BCG โลหะต่าง ๆ เช่น เงิน (silver) ทองแดง (copper) และสังกะสี (zinc) มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ดี (Anti-Microbial) โดยเฉพาะซิลเวอร์ไอออน (Silver ion; Ag+) ที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้ โดยซิลเวอร์ไอออนจะทำให้เอนไซม์ต่างๆ เสียสภาพด้วยการเข้าจับและทำให้ตกตะกอน นอกจากนี้ ยังสามารถฆ่าแบคทีเรียด้วยกลไกการยับยั้งโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์ตาย ในขณะเดียวกัน เมื่อซิลเวอร์ไอออนเข้าไปในดีเอ็นเอ (DNA) ของแบคทีเรียจะส่งผลให้ดีเอ็นเอเสียสภาพจากภายใน ทำให้เซลล์ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ โดยโลหะเงินจึงถือได้ว่าเป็นโลหะที่มีความปลอดภัย เนื่องจากเงินในสถานะโลหะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์เพียงเล็กน้อย […]

1 7 8 9 52