Special Seminar “Role of S&T in Natural Disaster Mitigation and Recovery”

ขอเชิญเข้าร่วม: สัมมนาพิเศษเรื่อง ” Role of S&T in Natural Disaster Mitigation and Recovery ” โดย Prof Maki Kawai Executive Director of RIKEN จากประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 23 มีนาคมที่ 9:00-11:30 น. ณ ห้องประชุม Auditorium อาคาร BIOTEC อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  สามารถเข้าลงทะเบียนได้ที่: https://www2.mtec.or.th/eventnstda/user/regisnow.aspx?EventID=S12014

NANOTEC: “Getting our acts together”

เป้าหมายของเราใน 5 ปีถัดไปคือการเพิ่มผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลการวิจัย “ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวในช่วงสองวัน ที่ศูนย์ฯ จัดประชุมสัมมนาเมื่อ 3-4 กุมภาพันธ์ 55  “เราต้องทำงานอย่างหนักเพื่อคิดค้น และหางานวิจัยที่จะสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และคาดว่าสิ่งที่จะได้รับคือเงินทุนจากอุตสาหกรรมอย่างน้อย 20% ของค่าใช้จ่ายในงานวิจัยต่อปี ดังนัน้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้เราต้องมุ่งเน้นไปที่ R & D เพื่อสร้า่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเป็นประโยชน์ของประเทศโดยรวม” หลังจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้แผนการจัดประชุมสัมมนานี้ถูกเลื่อน โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานคือการหารือและทำความเข้าใจแผนการดำงาน 5 ปีและความสัมพันธ์ของตนกับ Basic Score Card (BSC) และKey Performance Indicator (KPI) ผู้จัดงานยังใช้โอกาสนี้เพื่อแจ้งให้ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการสร้างทีมงานที่มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม, ความสามัคคี, ความไว้วางใจและการสื่อสาร

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ลงนามความร่วมมือกับ Flinders University ในออสเตรเลีย

ศูนย์นาโนเทคโนโยลีแห่งชาติได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางการวิจัยกับมหาวิทยาลัย Flinders ประเทศออสเตเรีย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบนำส่งยาเพื่อให้ไปถึงยังเป้าหมาย, การตรวจจับแบคทีเรีย, วัสด6ต่อเชื่อมอินทีย์และบริการทดสอบ ทั้งนี้จะทำการแลกเปลี่ยนนักวิจัยเพื่อร่วมกันพัฒนราตัวงานวิจัยให้ก้าวหน้าต่อไป “ข้อตกลงนี้เป็นก้าวย่างไปสู่ความร่วมมือต่อไประหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงของกิจกรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี การทำงานร่วมกันเราจะสามารถมีความเข้าใจโดยรวมของเราจากระบบนำส่งยาไปยังเป้าหมาย, การตรวจสอบแบคทีเรีย, วัสดุเชื่อมต่ออินทรีย์และบริการทดสอบ “ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมกันพัฒนางานวิจัยกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ” Prof. Dean Forbes, Deputy Vice-Chancellor (International and Communities), Flinders University กล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนนักวิจัยที่อยู่ระหว่างสองสถาบันของเราจะช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการค้นพบใหม่ “

การเพิ่มประสิทธิภาพของ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง (dye-sensitized solar cell, DSSC)

นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดประสบความสำเร็จในการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของ DSSCs โดยใช้การสังเคราะห์อนุภาคนาโนไททาเนียมรวมกับท่อนาโนคาร์บอน (CNT) โดยใช้กระบวนการละลายน้ำภายใต้ที่อุณหภูมิ และความดันสูง (hydrothermal) “เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง(DSSCs) เป็นงานวิจัยที่ได้รับความสนใจมากในปีที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าแบบพลังงานหมุนเวียน โดยไม่ใช้แหล่งพลังงานฟอสซิล ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์ Hydrothermal ที่ใช้นั้นสามารถสร้างวัสดุนาโนไฮบริดของอนุภาคไททาเนียมและท่อนาโนคาร์บอนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก” ดร. กมลวรรณ ธรรมเจริญหัวหน้าห้องปฏิบัติการเซนเซอร์นาโนโมเลกุลศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ DSSCs ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องมาจากสามารถเป็นอุปกรณ์ที่ใช้การทดแทนแหล่งพลังงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เนื่องมาจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีต้นทุนต่ำโดยเทียบกับรุ่นเก่าและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนในการผลิตเซลล์ชนิดนี้ นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบมีลักษณะเป็นแผ่นมีความยืดหยุ่นและมีเพิ่มประสิทธิภาพทางกลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่นพายุลูกเห็บหรือต้นไม้ล้ม ด้วยเหตุนี้ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพของ DSSCs จึงเป็นที่สนใจมาก งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวัสดุศาสตร์นานาชาติ  โดยได้รับความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรพลังงานที่ มหาวิทยาลัย Stanford  ประเทศสหรัฐอเมริกาและ ห้องปฏิบัติการเซนเซอร์นาโนโมเลกุลศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

ศน. ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศโดยเข้าพบตัวแทน JST

ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เข้าพบ Mr.Geng Tu (Manager, Dept. of International Affairs, Japan Science and Technology Agency (JST) และ Mr. Yano Masahito, Senior program Coordinator ณ สำนักงาน JST ที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งตัวแทนของ JST ที่อยู่ในเมืองไทยได้เดินทางเข้ามาที่ สวทช. เพื่อนำเสนอโครงการวิจัยร่วมทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออก (East Asia Science and Innovation Area Joint Research Program: e-Asia JRP) โดยส่งเสริมการวิจัยร่วมระหว่างสวทช.กับทาง JST ศน.ได้สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ e-Asia JRP เพื่อเป็นการขยายความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างนักวิจัย ศน.กับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายโครงการนี้เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานร่วมกันระหว่างพันธมิตรพหุภาคีในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการให้เงินทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา

ประกาศรับข้อเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้าน
นาโนเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดำเนินงานตาม (ร่าง) กรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔ แผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ โดยมีพันธกิจดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม การประยุกต์นาโนเทคโนโลยีให้เกิดความเป็นเลิศ และสามารถถ่ายทอดสู่ภาคการผลิตที่เป็นรากฐานสำคัญของของประเทศไทยในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศ  ภายใต้ความตระหนักในการรักษาและดูแลใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการพัฒนากลุ่มวิจัยที่มีศักยภาพ สามารถดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ  ศน.ในฐานะหน่วยงานหลักหนึ่งในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนากลุ่มวิจัยที่มีศักยภาพสูงและสามารถดำเนินการวิจัยได้ตรงตามความต้องการของประเทศ อีกทั้งความสำคัญของการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร จึงได้มีการจัดทำโครงการศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการศึกษาซึ่งมีศักยภาพการวิจัยและการผลิตบุคลากร รวมทั้งมีงานวิจัยที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของประเทศ กำหนดการและขั้นตอนการดำเนินการ ๑. ผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์มายัง ศน.                                   :    ๑ มี.ค.–๓๐ เม.ย. ๒๕๕๕ ๒. ศน. แจ้งผลพิจารณาข้อเสนอโครงการ                                 […]

1 67 68 69 79