นาโนเทค-เอ็มเทค กีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ประจำปี2554

นาโนเทค ร่วมกับเอ็มเทคได้จัดงานแข่งขันกีฬาประจำปีระหว่าง 2 ศูนย์แห่งชาติ เป็นครั้งที่ 4 ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร โดยในปีนี้เราได้เลื่นการจัดการแข่งขันขึ้นเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาสวทช.ได้ประสบอุทกภัยดังนั้นเราจึงเลื่อนมาจัดในวันที่ 2 มีนาคม 2555 โดยมีการจัดประเภทกีฬา 5 ประเภทด้วยกันคือ ว่ายน้ำ, วอลเลย์บอล,การเตะจุดโทษของนักกีฬาหญิง,futsol และกีฬาฮาเฮ ด้วยปริมาณบุคลากรนาโนเทคที่น้อยกว่าทำให้ เอ็มเทคได้ชนะไป 4 ประเภทกีฬา ในปีนี้ถ้วยรางวัลจึงตกอยู่กับ เอ็มเทค แล้วพบกับกิจกรรมกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ใหม่ปลายปี 2555

ขอ ครู อาจารย์ผู้สนใจ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการนาโนเทคโนโลยี

กลุ่มวิทยากรเครือข่ายนาโนเทคโนโลยี ศูนย์ประสานงานและเผยแพร่ความรู้ทางด้านนาโนเทคโนโลยี (ศูนย์เครือข่ายนาโนพลัส) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ   ได้คำนึงถึงการสร้างความตระหนักและถ่ายทอดความรู้นาโนเทคโนโลยีสู่สาธารณชนทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปให้ได้รับข้อมูล ความรู้  ทางด้านวิชาการที่ถูกต้องอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในทุกภูมิภาคของประเทศ  จึงมุ่งพัฒนาการเพิ่มกลไกการขยายองค์ความรู้ทางด้านนาโนเทคโนโลยีให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น   โดยการจัดโครงการฝึกอบรมวิทยากรเครือข่ายทางด้านนาโนเทคโนโลยีขึ้น  เพื่อเป็นการสร้างกลไกสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านนาโนเทคโนโลยีทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา   โดยมุ่งเน้นฝึกอบรมผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สาขาวิทยาศาสตร์  เพื่อช่วยเผยแพร่และส่งเสริมการเรียนรู้นาโนเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มเด็ก  เยาวชน  ประชาชนทั่วไป  และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้  ความเข้าใจและเกิดความตระหนักทางด้านนาโนเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง จึงขอเชิญครู อาจารย์  ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมนาโนเทคโนโลยีเบื้องต้น  ของแต่ละศูนย์เครือข่ายฯ ในละภูมิภาค  เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมวิทยากรเครือข่ายนาโนเทคโนโลยี ประจำปี 2555 (Training for the Trainer in Nanotecnology : TTN)  ของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติต่อไป สามารถเข้าดูตารางการลงทะเบียนได้ที่นี่ : Time Table for Trainning รายละเอียดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ปิดรับสมัคร รายละเอียดของภาคภาคใต้และภาคตะวันออก : Acknowledgement_SE Proposal_SE รายละเอียดของภาคกลาง :  Application form_Central (update) รายละเอียดของภาคเหนือ : Acknowledgement_north ProposalNANO_north

NANO Talk: อนุภาคทองคำนาโนสำหรับการพัฒนาเทคนิควิเคราะห์ทางชีวภาพระดับนาโน

เทคนิควิเคราะห์ทางชีวภาพ เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ดีในการพัฒนากระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเทคนิคดังกล่าวมีความว่องไว เฉพาะเจาะจงกับตัวอย่าง และเหมาะกับตัวอย่างที่ถูกจำกัดด้วยจำนวน และปริมาตร โดยนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับพวกอนุภาคโลหะที่มีขนาดเล็กระดับนาโนมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ Prof. Wolfgang Fritzsche, Head of Nanobiophotonics at Institute of Photonic Technology จากประเทศเยอรมันนี กล่าวไว้ในงานบรรยายพิเศษ NANOTALK จัดโดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่า อนุภาคโลหะขนาดนาโนนั้นมีคุณสมบัติที่น่าสนใจทั้งปฏิกิริยาทางเคมี คุณสมบัติทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคุณสมบัติทางด้านแสงซึ่งมีความสำคัญมากทางด้านชีวการแพทย์ โดยใช้ในกระบวนการวินิจฉัย และการรักษาเฉพาะเป้าหมาย อนุภาคที่ได้รับความสนใจในการศึกษาคุณสมบัติคืออนุภาคทองคำระดับนาโน ซึ่งพบว่าทองคำระดับนาโนมีคุณสมบัติที่สามารถใช้ในการผลิตเซนเซอร์ เนื่องด้วยคุณสมบัติเฉพาะของทองคำไม่ว่าขนาด และรูปร่างที่จะทำให้เกิดคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปเช่นคุณสมบัติทางแสง ค่าสัมประสิทธ์ high extinction และ super-quenching capability การบรรยายพิเศษนี้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยศน. และกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้จัดการบรรยายพิเศษ ขึ้นทุกเดือน เพื่อให้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยและบุคคลทั่วไปที่สนใจต้องการหาความรู้และวิทยาการใหม่ๆ หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมการบรรยายพิเศษได้ โดยสามารถอัพเดตกิจกรรมได้ที่ www.nanotec.or.th

ผู้สื่อข่าวยุโรปเข้าเยี่ยม สวทช.

ผู้สื่อข่าวชาวยุโรปจาก 8 สำนักหนังสือพิมพ์ ชั้นนำที่เดินทางมาถึงสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อเข้ามาทำข่าวสถานะของการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย โดย ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกล่าวต้อนรับโดยให้ข้อมูลว่าประเทศไทยและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือภายใต้การดำเนินการของโครงการ SEA-EU-NET ภายใต้ทุนของ FP-7  ในช่วงแรกได้เน้นงานวิจัยทางด้านการเกษตรการเพาะปลูกและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรซึ่งในปัจจุบันอนี้สวทช.ได้เน้นด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการพัฒนายาใหม่เพื่อต่อสู้กับความหลากหลายของโรคติดเชื้อโดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยและสหภาพยุโรปร่วมเผยแพร่ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติต่างๆ กว่า 700บทความ ในครั้งนี้นักวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จำนวน 3 ท่าน ได้เข้าร่วมนำเสนอเกี่ยวกับการวิจัยในปัจจุบันโดย รศ.ดร. อุบลทิพย์ นิมมานนิตย์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอางได้นำเสนอ”งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารสกัดทางธรรมชาติเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของเส้นผม” และนำเสนอต่อด้วย ดร. อุรชา รักษตานนท์ชัย หัวหน้าห้องปฏิบัติการระบบนำส่งได้นำเสนอ”งานวิจัยที่ใช้ในการต่อสู้กับ ยุง คือ มุ้งนาโน และโลชั่นกันยุง และท่านสุดท้าย คือ ดร.จามร เชวงกิจวานิช นักวิจัยห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิทได้นำเสนอเกี่ยวกับ” เครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนได้ดื่มน้ำสะอาดในช่วงเวลาที่วิกฤต

งานจัดแสดงผลงานทางวิชาการ และงานนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านนาโนที่โตเกียวประเทศญี่ปุ่น

nanotech 2012 งานจัดแสดงผลงานทางวิชาการ และงานนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านนาโน ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น งานนิทรรศการฯนี้มีผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการมากกว่า 20,000 คน ทำให้งานนิทรรศการนี้เป็น “งานนิทรรศการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านนาโนเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด”  โดยได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทาง ด้านนาโน ในครั้งนี้คณะผู้แทนไทยนำโดย รศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วย ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยศูนย์นาโนเทคโนโลยี และผู้แทนจากกลุ่มบีโอไอ (BOI) โดยในงานศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้รับเกรียติ บรรยายเกี่ยวกับ “การบรรเทาภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ ” โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของตัวแทนจากประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งในปีนี้นักวิจัยทั้งสองท่านได้เป็นตัวแทนจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีนำโดยผู้ แทน ดร. ณัฏฐิพร พิมพะ และ ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล ผลงานที่นำไปจัดแสดงมีดังนี้ 1 เครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (SOS water) 2 ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง (,มุ้งนาโน และโลชั่นกันยุง) 3 ชุดทดสอบโรค 4 nSack (ผลิตภัณฑ์แทนกระสอบทราย) 5 […]

งานประชุมวิชาการ นาโนเทคโนโลยีระดับนานาชาติ NanoThailand 2012

ในวันที่ 09-11 เมษายน 2012 สมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย , ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศไทยและนาโนเทคโนโลยีที่ศูนย์บูรณาการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดประชุม NanoThailand 2012 ที่โรงแรมพูลแมนขอนแก่นราชาออร์คิด จังหวัดขอนแก่น โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ Prof. Shuit-Tong Lee, U of Hong Kong, China: Director of the Center of Super-Diamond and Advanced Films เขายื่นกว่า 20 สิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาและมากกว่า 630 เอกสารเกี่ยวกับการวิจัย Prof. Kenneth Dawson, University College Dublin, Ireland: เป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาของหน่วยงานรัฐบาลสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับของนาโนศาสตร์และ นาโนเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ Prof. Nico Voelcker, Flinders U, Australia : ผู้นำการวิจัยวัสดุโครงสร้างระดับนาโนที่ทำเลียนแบบโครงสร้างทางชีวภาพ Prof. Lau Shu […]

1 68 69 70 79