ไทยมองหาแนวทางบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติในงาน nanotech 2012

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ตัดสินใจที่จะใช้งาน nanotech 2012 ที่กำลังจะจัดขึ้น เป็นเวที ในการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และมองหาผู้ร่วมลงทุนทางธุรกิจในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยจะจัดงานภายใต้หัวข้อ “Thailand : Nanotechnology for natural disaster mitigation” ในวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2555 ณ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยว่าเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปี ซึ่งกินเวลามากกว่า 3 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน (ซึ่งน้ำในหลายพื้นที่ทยอยแห้งแล้วก็ตาม) สาเหตุเกิดจากมรสุมเหตุร้อนพัดผ่านเข้ามาทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด เป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานเสี่ยงที่จะตกงานกว่าล้านคนคิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่าแสนล้านบาท ธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็กทยอยกันปิดตัวลงโดยมีการคาดการณ์เอาไว้ว่ามูลค่าความเสียหายที่ประเทศไทยได้รับในอุทกภัยครั้งนี้กว่า แปดแสนล้านบาท นาโนเทคเองได้มีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชนโดยการที่ศูนย์ได้ประสานกันหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการนำถุงยังชีพที่ประกอบไปด้วยอาหารปรุงสำเร็จ, มุ้งนาโน, โลชันกันยุงนาโน, ผ้าหนูสะอาด, สเปรย์กันยุงจากบ.เครื่องหอมไทยจีน, ชุดเวชภัณฑ์จากองค์การเภสัชกรรม และผลิตภัณฑ์นมจากบ.โฟโมสต์ เข้าแจกจ่ายในพื้นที่ประสบอุทกภัยจำนวนกว่า 500 ชุด ในงาน Nanotech 2012 นาโนเทคได้จัดแสดงผลงานใน 6 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องการบรรเทาภัยธรรมชาติได้แก่ 1. งานวิจัยเกี่ยวกับน้ำสะอาด 2.งานวิจัยเกี่ยวกับการกันยุง 3.งานวิจัยชุดตรวจโรคฉี่หนู […]

การศึกษาผลของ ROS และ Cav- 1ต่อการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

งานวิจัยเรื่อง “Regulation of Lung Cancer Cell Migration and Invasion by Reactive Oxygen Species and Caveolin-1” เป็นผลงานความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย West Virginia ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Caveolin – 1 (Cav – 1) มีบทบาทสำคัญในการแผ่กระจาย และลุกลามของเซลล์มะเร็งปอดของมนุษย์ และผลจากโปรตีน Caveolin-1 จะแสดงผลแตกต่างกันออกไปตาม reactive oxygen species (ROS) ที่แตกต่างกัน ในบทสรุปได้ให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาบทบาทที่สำคัญของความแตกต่างของ ROS และ Cav-1ในการลุกลามของเซลล์มะเร็ง  ซึ่งอาจเป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการควบคุมการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งได้ สามารถอ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่  : http://www.uphs.upenn.edu/ifem/ins/documents/%289-8-11%29%20Marotta.pdf

งานวิจัยเรื่องยาปลูกผมได้รับรางวัลในงานประชุมวิชาการที่ประเทศเกาหลี

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ในงาน ” 2011 Asia Woman Eco-Science Forum” ดร.อภิรดา สุคนธ์พันธ์ นักวิจัยสาวจากห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีโอกาศนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Herbal Extracts and Formulation Development of Nanoemulsions for Hair Growth” หรือการสกัดและการพัฒนาปรับปรุงสูตรสมุนไพรโดยใช้นาโนเทคโนโลยีทำให้อิมัลชั่นอยู่ในระดับนาโน เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของเส้นผม ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการและผู้เ้ข้าร่วมประชุม ให้เป็น 1 ใน 4 ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล “2011 AWESF-AMORE PACIFIC AWARD” ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี งานวิจัยนี้ ดร.อภิรดา ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำเอานาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียทางการเกษตร  เช่น รำข้าว โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของน้ำมันรำข้าวให้มีความสามารถในการซึมผ่านชั้นผิวหนังได้ง่ายโดยอาศัยกรรมวิธีทางด้านนาโนเทคโนโลยี ทำให้อิมัลชั่นมีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรจึงสามารถซึมผ่านหนังศีรษะ และเร่งการเจริญเติบโตของเส้นได้ ซึ่งงานวิจัยนี้ถูกนำเสนอในหัวข้อการประชุม Eco-friendly Forum โดยงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียจากการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา และลดองค์ประกอบที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ให้น้อยลง […]

การบำบัดน้ำเสียที่มีสารประกอบฟีนอลโดยใช้ถังหมักฟลูอิไดซ์เบส

คณะนักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้มีการศึกษาและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของสารฟีนอลโดยการออกแบบระบบบำบัดชั้นลอยตัว (fluidized bed reactor) แบบต่อเนื่อง 3 ขั้นตอนโดยทำการศึกษาผลการทดลองกับตัวอย่างการปนเปื้อน 7 กรณีศึกษา “สารประกอบฟีนอลเป็นสารที่อุตสาหกรรมต่างๆ เลือกใช้ แต่เป็นที่รู้กันดีว่าสารประกอบฟีนอลเหล่านั้นมีความเป็นพิษสูง มีฤทธิ์กัดกร่อน สามารถทำลายชั้นผิวหนัีงแลแะเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต แล้วสารประกอบฟีนอลบางประเภทยังเป้นสารก่อมะเร็งอีกด้วย เนื่องจากสารประกอบฟีนอลมีความสามารถในการผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังโดยผ่านชั้นไขมันส่งผลกระทบไปยังตับ ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม และอาจส่งให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมที่มีการปนเปื้อนของสารประกอบฟีนอลก่อนปล่อยออกแหล่งน้ำเพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม” ดร.ประธาน วงศ์ศริเวช นักวิจัยห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเพื่อพลังงานและการเร่งปฏิกิริยา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนสารประกอบฟีนอลโดยอาศัยการใช้โอโซน (Ozone) ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) สารซีโอไลต์ (Zeolite) หรือสารที่มีคุณสมบัติในการบำบัดสารประกอบฟีนอล เติมลงในถังยำยัดแบบลอยตัว โครงการนี้นาโนเทคได้รับความร่วมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) งานวิจัยนี้ได้ทำการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Chinese  Journal of Chemical Engineering

ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ Asia Nano Forum Summit 2012

เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้เข้าร่วมการประชุม นานาชาติ Asia Nano Forum (ANF) จัดขึ้น ณ  กรุงเตห์ราน ประเทศอิหร่าน สมาชิกในกลุ่ม Asia Nano Forum  ตอบรับข้อเสนอที่ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม Asia Nano Forum  2012 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2555  “เรารู้สึกเป็นเกียรติ และมีความยินดีที่ได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม Asia Nano Forum  Summit 2012  ซึ่งเป็นการแสดงในให้นานาชาติเห็นความสามารถในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย รวมถึงการแสดงผลงานวิจัย และเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่ม ANF แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อมูลงานวิจัย” ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวในงาน  Asia Nano Forum  Summit 2011 ณ  กรุงเตห์ราน ประเทศอิหร่าน ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าว “ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้แบ่งดำเนินงานวิจัยออกเป็น 7 […]

NANOTEC ร่วมกับ UNITAR สนับสนุนการสร้างความตระหนักในด้านความปลอดภัยของนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับสถาบัน UNITAR (United Nation Institute for Training and Research) สนับสนุึนด้านการจัดฝึกอบรม และสร้างอาคารสถานที่เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการนำร่องทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนในการจัดฝึกอบรมจากรัฐบาลประเทศสวีเดน ในช่วงเวลา 18 เดือนแรก ศูนย์นาเทคฯ จะจัดรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และสร้างความตระหนักทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศในการดำเนินงานการจัดอบรม และสร้างสถานที่เพื่อใช้ในการนำร่องการสนับสนุนการเผยแพร่ความตระหนักด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี เพราะมีสำคัญในการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รู้จัก เข้าใจถึงผลิตภัณฑ์ทางด้านนาโนเทคโนโลยี และการใช้ผลิตภัณฑ์ได้ถูกวิธี โดยทั้งสองหน่วยงานเห็นพร้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีนั้นเป็นกุญแจหลักในการปกป้องสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เนื่องด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ทางด้านนาโนเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง หากไม่มีการจัดการทั้งการใช้ และการกำจัดอย่างถููกวิธีก็จะส่งผลเสียได้จึงมีความจำเป็นที่ให้หน่วยงานระดับชาติเข้ามาจัดการดูแลผลิตภัณฑ์เหหล่านั้น ซึ่งการโครงการ และจัดฝึกอบรมนั้นจะครอบคลุมถึง : การตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทางด้านนาโนฯ เพื่อช่วยในการประสานงาน การจัดตั้งโครงการ และการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านนาโนฯ การจัดทำแผนความปลอดภัยทางด้านนาโนฯให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน พัฒนานโยบายของชาติเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านนาโนฯ การจัดฝึกอบรมให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านนาโนฯ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการให้ใบรับรอง การประเมินและติดตามผล

1 72 73 74 79