เส้นพลาสติกรักษ์โลก จากเปลือกหอยแมลงภู่-ขยะ PLA สำหรับการพิมพ์สามมิติ ย่อยสลาย 100%

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. จับมือจุฬาฯ ต่อยอดไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ ผสมขยะพลาสติกชีวภาพ (PLA) พัฒนา “Re-ECOFILA เส้นพลาสติกรักษ์โลกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติ” ย่อยสลายได้ 100% คุณภาพเทียบเท่าของที่มีในท้องตลาดในราคาที่ถูกกว่า หวังทดแทนของนำเข้าราคาสูง สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติของนักเรียน นักศึกษาและคนทั่วไป ตอบ BCG เศรษฐกิจหมุนเวียน-สีเขียว ช่วยคืนชีพขยะ PLA จัดการขยะเปลือกหอยแมลงภู่ในชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า Re-ECOFILA มาจากงานวิจัย “เส้นพลาสติกสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่และขยะพลาสติกชีวภาพ” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. โดยนาโนเทค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร. สนอง เอกสิทธิ์ ที่มีแนวคิดการใช้ประโยชน์ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่ได้ทำงานวิจัยมาก่อนหน้านั้น จากความเป็นไปได้สำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ โดยจะไปแทนที่แคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนที่ใช้ในกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ ข้อมูลจากกลุ่มสถิติการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ประเทศไทยผลิตหอยแมลงภู่เฉลี่ยมากกว่า 50,000 ตันต่อปี โดยน้ำหนักมากกว่าครึ่งเป็นน้ำหนักของเปลือกหอย ทำให้เกิดขยะเปลือกหอยสะสมเป็นจำนวนมากตามพื้นที่ชุมชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยและแกะเนื้อหอยขาย […]

อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม   วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ สารสำคัญในกระเทียมที่ได้รับการยอมรับ คือ อัลลิซิน มีการศึกษาของ Cavallito และ Bailey (1994) พบว่า อัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านการแข็งตัวของเม็ดเลือดแดง ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ลดคลอเรสเตอรอลและระดับน้ำตาล ช่วยรักษาการอักเสบ สมานแผล อีกทั้งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อปรสิตได้หลายชนิดอีกด้วย โดยสารอัลลิซินเป็นสารที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับความชื้นหรืออุณหภูมิที่สูงขึ้น เนื่องจากสารสำคัญในกระเทียมไม่เสถียรและสลายตัวได้ง่าย ดังนั้น ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. โดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ จึงนำสารสกัดกระเทียมมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของอนุภาคนาโนไขมันที่มีการกักเก็บสารสกัดกระเทียม ช่วยในการเก็บรักษาและควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญออกมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ได้ดีและยาวนานขึ้น   สรุปเทคโนโลยี อนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัดจากระเทียมนี้ถูกออกแบบให้สารสกัดกระเทียมมีความคงตัว […]

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม

ชื่อเทคโนโลยี/สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม  วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ น้ำมันเมล็ดงาม้อนอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวหลายชนิด ได้แก่ กรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) 55-60% กรดไลโนเออิก (โอเมก้า 6) 18-22% และกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) 0.08-0.17% ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังพบสารสำคัญในกลุ่มโพลีฟีนอลที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะกรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid) และสารลูทีโอลิน (Luteolin) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ระบบนำส่งยาอิมัลชันชนิดเกิดเอง (Self-emulsifying drug delivery system; SEDDS) เป็นระบบนำส่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการนำส่งสารออกฤทธิ์และยาชนิดที่มีค่าการละลายน้ำต่ำที่ให้โดยการรับประทาน สารออกฤทธิ์และยาที่ละลายน้ำยากจะละลายอยู่ในกรดไขมันขนาดเล็ก และถูกดูดซึมผ่านกลไกของการย่อยและการดูดซึมของไขมันในร่างกาย ส่งผลให้มีชีวประสิทธิผลดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพจากน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบของแคปซูลนิ่มพร้อมบริโภคที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการดูดซึมและการนำส่งสารสำคัญทั้ง โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 ไปยังลำไส้เล็กของมนุษย์ โดยผู้ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกงาม้อน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สนใจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคต่อไป สรุปเทคโนโลยี […]

เม็ดบีดส์เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ เม็ดบีดส์เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม (Hydrogel Beads for Environmental Applications) วิจัยและพัฒนาโดย ดร.สินีนาฏ ไทยบุญรอด และคณะ ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จัดเป็นกลุ่มของอุตสาหกรรมหนัก อันเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและให้ผลผลิตในจำนวนมหาศาล สะท้อนปริมาณของของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีปริมาณมากตามไปด้วย คล้ายกับกลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ในกระบวนการบำบัดและกำจัดของเสียของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง ซึ่งหากมีการบำบัดอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษ อันประกอบไปด้วยสารอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ที่จะปะปนอยู่กับน้ำทิ้งของอุตสาหกรรม แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานปิโตรเคมีหรือโรงงานปิโตรเลียม คือ กระบวนการย่อยสารอินทรีย์ด้วยแบคทีเรีย โดยอาศัยการสร้างแหล่งที่อยู่ให้กับแบคทีเรีย หรือการตรึงเซลล์ไว้ในตัวกลาง (Cell Immobilization) ตัวกลางดังกล่าวนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่มีรูพรุน เพื่อให้แบคทีเรียที่ทำหน้าที่ย่อยยึดเกาะ ทั้งยังเป็นแหล่งให้ออกซิเจนและอาหารผ่านได้และเป็นสภาวะที่เหมาะสมส่งเสริมให้แบคทีเรียมีอัตราการเจริญเติบโตได้ดี รูปตัวกลางที่ทำหน้าที่ตรึงเซลล์เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม https://www.japanchemicaldaily.com/2017/10/20/kuraray-targets-zld-systems-in-pursuit-of-growing-water-treatment-business/http://www.en.sumiowater.com/waste-water-sectors/wastewater-treatment-oil-refineries/   สรุปเทคโนโลยี TRL ความท้าทายของการพัฒนาตัวกลางที่ใช้ในการตรึงเซลล์ สามารถพัฒนาได้ทั้งในรูปของสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ ซึ่งสามารถพัฒนาได้จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ และพอลิเมอร์ธรรมชาติ […]

“FRAcelle” เส้นใยเซลลูโลสระดับนาโน

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ “FRAcelle” เส้นใยเซลลูโลสระดับนาโน นวัตกรรมทางวัสดุชีวภาพขั้นสูงและยั่งยืนแห่งศตวรรษที่ 21 วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วรนุช อิทธิเบญจพงศ์ และคณะ ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา (CAT) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.   ที่มาและความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เส้นใยนาโนเซลลูโลส (Cellulose Nanofiber) เป็นเส้นใยละเอียดพิเศษขนาดนาโนเมตรที่ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลสที่มีอยู่ในธรรมชาติขนาดไมโครเมตรมาผ่านกรรมวิธีการผลิตให้ได้เส้นใยเซลลูโลสที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร โดยสมบัติพิเศษต่างๆ ของนาโนเซลลูโลสทำให้มีการขนานนามนาโนเซลลูโลสเป็นวัสดุแห่งอนาคตที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ด้านวัสดุเสริมแรง ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ด้านอาหารและเวชภัณฑ์ ด้านชีวการแพทย์ เป็นต้น สรุปเทคโนโลยี ความน่าสนใจ และความพิเศษของนาโนเซลลูโลส คือ 1. น้ำหนักเบาเพียง 1 ใน 5 ของวัสดุโลหะแต่มีความแข็งแรงมากกว่าถึง 5 เท่า และมีพื้นที่ผิวสูง 2. สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (biodegradable) 3. มีความสามารถเข้ากันได้กับเนื้อเยี่อของร่างกาย (biocompatible) เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำ (low cytotoxicity) 4. […]

สเปรย์เคลือบหน้ากากผ้ากันน้ำ กันน้ำมัน กันฝุ่น และกันการยึดเกาะของเชื้อโรค (Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray)

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray “สเปรย์เคลือบหน้ากากผ้ากันน้ำ กันน้ำมัน กันฝุ่น และกันการยึดเกาะของเชื้อโรค” วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี เนื่องด้วยวิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในท้องตลาด คณะผู้วิจัยจึงมีความตั้งใจในการพัฒนาสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า ให้มีคุณสมบัติกันน้ำ กันน้ำมัน และกันฝุ่น เพื่อลดการเกาะจากละอองฝอยของน้ำ น้ำมัน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปะปน นอกจากนี้สเปรย์ดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ในระยะยาวด้านอาชีวอนามัยเพื่อความปลอดภัย (Occupational health) ของอาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันและฝุ่นในปริมาณมาก สรุปเทคโนโลยี Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray คือ สเปรย์ที่สามารถพ่นเคลือบทำให้พื้นผิวสิ่งทอมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ กันน้ำมัน และกันฝุ่น เพื่อลดการเกาะจากละอองฝอยของน้ำ น้ำมัน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปะปน โดยสเปรย์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่เปลี่ยนแปลงสีและรูปร่างของพื้นผิวที่พ่นเคลือบ สามารถใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า ทดแทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ลดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน โดยสารเคลือบดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบ Standard Toxicity Test […]

1 2 17