กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ไขอ้อย (sugarcane wax) เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำที่น่าสนใจ ส่วนมากไขอ้อยจะได้จากการสกัดกากหม้อกรองที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในปัจจุบันมีประโยชน์ในแง่การนำเอาไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมยา และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้แทนไขคาร์นูบา (carnauba wax) ที่มีราคาแพงในการผลิตเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์ยาได้เป็นอย่างดี โดยสารสำคัญที่มีอยู่ในไขอ้อยมีหลายชนิดและมีปริมาณไม่แน่นอน ได้แก่ กลุ่มกรดไขมัน (fatty acid) คีโตน (ketone) แอลดีไฮด์ (aldehyde) เอสเทอร์ (ester) กลุ่มของสารพวกไฟโตสเตอรอล (phytosterols) และแอลกอฮอล์สายโซ่คาร์บอนยาวหลายชนิดที่ไม่ชอบน้ำหรือเรียกว่ากลุ่มสารโพลิโคซานอล (a mixture of long chain primary aliphatic alcohols หรือ policosanol) องค์ประกอบหลักของสารโพลิโคซานอลที่ได้จากไขอ้อย ได้แก่ เตตระโคซานอล (tetracosanol, C24) เฮกซะโคซานอล (hexacosanol; C26) ออกตะโคซานอล […]

สิ่งทอย่อยสลายได้ นวัตกรรมเพื่อโลกอนาคต :: Environmentally-Friendly Textile for Future

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ สิ่งทอย่อยสลายได้ นวัตกรรมเพื่อโลกอนาคต :: Environmentally-Friendly Textile for Future วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วรล อินทะสันตา และคณะทีมวิจัยนวัตกรรมเส้นใยนาโน (NFT) กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน (NHIC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ จากสถานการณ์การรณรงค์ลดการใช้พลาสติกทั่วโลก หลายๆ ประเทศขานรับนโยบายและมีการกระตุ้นให้ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทย มีการผลักดันให้เกิดการพัฒนาวัสดุใหม่ทดแทน (Renewable material) เพื่อลดการใช้พลาสติกซึ่งมีที่มาจากซากฟอสซิล (Fossil feedstock) ตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร วัสดุทางการแพทย์ หรือแม้กระทั่งเส้นใยในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สิ่งทอ หรือเส้นใยย่อยสลายได้ จะพัฒนาจากการขึ้นรูปด้วยพอลิเมอร์ทางชีวภาพ เช่น พลาสติกที่ผลิตจากพืช หรือพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (biodegradable) โดยทั่วไปวัสดุสิ่งทอเหล่านี้ แม้จะมีข้อดีด้านการย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ แต่สมบัติในด้านอื่นๆ เช่น การทนต่อแรงดึงขาด ความยืดหยุ่น ความคงตัวต่อความร้อน ตลอดจนสมบัติผิวสัมผัสของเส้นใย ยังจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้สามารถใช้งานในฟังก์ชันที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น โดยอาจขึ้นรูปด้วยการผสมร่วมกันระหว่างพลาสติกชีวภาพหลายชนิด การเพิ่มตัวเติม หรือการใช้เทคนิคการขึ้นรูปพิเศษ เป็นต้น […]

ถ่านคาร์บอนกัมมันต์อัจฉริยะ “CARBANO”

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ ถ่านคาร์บอนกัมมันต์อัจฉริยะ “CARBANO”   วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และคณะทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา (CAT) กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน (NCAS) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรมและมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่หลากหลาย ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ ถ่านคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon) ชื่อเรียกที่หลายคนคุ้นชินและแฝงไปด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ดังนั้น จึงไม่น่าเปลกใจ หากเราจะเห็นการนำถ่านคาร์บอนกัมมันต์ไปใช้กำจัดหรือดูดซับสิ่งปนเปื้อน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดเหมาะกับการนำไปใช้อุปโภคและบริโภคในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น สรุปเทคโนโลยี การผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์มีหลายขั้นตอนขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและสมบัติของถ่านคาร์บอนกัมมันต์ที่ต้องการ โดยหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของการผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์คือ การกระตุ้น (activation) ซึ่งมีทั้งวิธีการกระตุ้นทางเคมี (chemical activation) และทางกายภาพ (physical activation) เพื่อทำให้เกิดหมู่ฟังก์ชันพิเศษบนพื้นผิวและสร้างรูพรุนขนาดต่างๆ ตามที่ต้องการบนถ่านคาร์บอนกัมมันต์ ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และคณะ มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนากระบวนการผลิตถ่านคาร์บอน กัมมันต์ทั้งวิธีการกระตุ้นทางเคมีและทางกายภาพ […]

สเปรย์นาโนอิมัลชันผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ สเปรย์นาโนอิมัลชันผสมสารสกัดกระชายดำสำหรับดับกลิ่น   วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อุดม อัศวาภิรมย์ และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ กระชายดำเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถพบได้มากในประเทศไทย อาทิ จังหวัดเพชรบูรณ์ กาญจนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ มีรายงานว่ากระชายดำมีสรรพคุณตามตำรายาไทยในด้านบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้อาการเหนื่อยล้า เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาท รักษาความสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ รักษาสมดุลของระบบการย่อย แก้โรคบิด ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งนอกจากสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายดำยังมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพ จากการศึกษาเบื้องต้นโดยทีมนักวิจัยวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. พบว่า สารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทางชีวภาพที่เป็นสาเหตุของโรคทางผิวหนัง ที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เช่น Micrococcus sedentarius, Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum […]

ชุดตรวจสำหรับตรวจหาการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ “NanoFlu Rapid Test”

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ ชุดตรวจสำหรับตรวจหาการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่    “NanoFlu Rapid Test” วิจัยและพัฒนาโดย      ภญ.ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)     ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน และนับเป็นโรค ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่ง โดยสามารถพบได้บ่อยในประชากรทุกเพศทุกวัย และสามารถพบได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้นับเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากก่อให้เกิด ภาระในด้านต่างๆ ตามมา ได้แก่ ภาระทางด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมและชุมชนที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย การขาดงานและรายได้ รวมทั้งภาระในการรักษาและดูแลผู้ป่วย ดังนั้น หากไม่มีการตรวจวินิจฉัย คัดกรอง การรักษา การติดตาม และการควบคุมโรคที่ดี อาจสามารถนำไปสู่การระบาดในพื้นที่ต่างๆ ได้ โดยการระบาดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นการระบาดแบบฤดูกาลดังที่พบทุกปี (epidemic) และแบบระบาดใหญ่ (pandemic) สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดของไวรัสได้เกิดจากการที่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโปรตีนของเชื้อไวรัสเองได้ง่าย การปรับตัวของไวรัสนี้ จึงทำให้เชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์ การตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้น อาจทำได้โดยการสังเกตอาการทางคลินิกของผู้ป่วย […]

ขมิ้นชันลดสีเพื่อใช้ทางผิวหนัง (Destained Turmeric for Skin)

ขมิ้นชันลดสีเพื่อใช้ทางผิวหนัง (Destained Turmeric for Skin)        วิจัยและพัฒนาโดย       ดร.ชญานันท์ เอี่ยมสำอางค์ และคณะทีมวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ที่มีอยู่ในเหง้าของขมิ้นชัน โดยขมิ้นชันมีสรรพคุณตามตำราอายุรเวทและแพทย์แผนไทยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดริ้วรอยตามผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผื่นคัน ช่วยสมานแผล รักษาแผลพุพอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย มีสารต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคกลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดในการนำขมิ้นชันมาใช้งานในรูปแบบการใช้ที่ผิวหนังคือ มีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นฉุน เกิดการติดสีที่เสื้อผ้าและผิวหนัง ละลายน้ำได้ต่ำ สารสำคัญเสื่อมสลายได้ไวเมื่อสัมผัสแสง ซึมผ่านผิวหนังได้น้อย สรุปเทคโนโลยี การพัฒนาขมิ้นชันลดสีด้วยเทคนิคการห่อหุ้มอนุภาคนาโน ช่วยคงประสิทธิภาพของสารสำคัญในขมิ้นชัน เพิ่มความคงตัว และควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญได้ดีขึ้น สามารถนำไปพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางผิวหนังได้หลากหลายรูปแบบ […]

1 2 3 17