นาโนเทคเดินหน้าหารือผู้ประกอบการรอบ 2 มั่นใจ “เมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” ตอบโจทย์อุตฯ เครื่องสำอางไทย

เครื่องสำอางและเวชสำอางเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศกำลังผลักดัน ซึ่งนาโนเทคเองกำลังทำงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง ผ่านการระดมความคิดเห็นในหลายๆ กลุ่ม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งในวันนี้ และในการประชุมครั้งแรกถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมนี้ เราจึงอยากรับฟังแนวทางที่สร้างสรรค์ในการยกระดับขีดความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมนี้ – ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา นาโนเทค สวทช. (6 พย. 2562)   จากความตื่นตัวของผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางของไทยที่มุ่งเน้นการส่งออกและผลิตวัตถุดิบ รวมไปถึงนักวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการประชุมระดมความเห็นจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ในการเดินหน้าโครงการเมืองนวัตกรรมเครื่องสำอาง” หรือ Thai Cosmepolis นำมาสู่การประชุมระดมความเห็นฯ ในครั้งที่ 2 ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับลูกนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ โดย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา และ ดร. สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการด้านบริหาร นาโนเทค ร่วมดำเนินการ […]

Re-establishing research initiatives in Korea (part 2)

On 12 February 2019 (morning), NANOTEC Team led by Dr. Wannee Chinsirikul visited Korea Research Institute of Standards and Science (KRISS), Daejeon, South Korea. Dr. Dong-Jin Yoon, Director of Division of Industrial Metrology and Dr. Tae Geol Lee, Head of Center for Nano-Bio Measurement and Center for Nanosafety Metrology welcomed NANOTEC delegates. This visit aims […]

ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง นาโนเทค (NANOTEC) กับ สถาบัน Institute for Molecular Science (IMS)

ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง นาโนเทค (NANOTEC) กับ สถาบัน Institute for Molecular Science (IMS)   เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ สถาบัน Institute for Molecular Science (IMS)  ณ ห้องประชุม Boardroom อาคาร INC2 การลงนามความร่วมมือนั้นสืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน (Nanoscale Simulation Laboratory; SIM) ได้มีความร่วมมือกับ Professor Masahiro Ehara สถาบัน Institute for Molecular Science (IMS), Okazaki ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยทางทฤษฏีควอนตัม และยังเป็น editor ของวารสาร Journal of […]

นักวิจัยนาโนเทคได้รับประกาศเกียรติคุณ

  20 ตุลาคม 60  ดร.ธีรพงศ์ ยะทา นักวิจัยห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ เข้ารับประกาศเกียรติคุณจากพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี  ในงานแถลงข่าว “การนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐและนวัตกรรมไทยร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติ”  ณ อาคาร วช.1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ   โอกาสนี้ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วย ดร.อุดม   อัศวาภิรมย์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร. ธีรพงศ์ ยะทา และผู้แทนศูนย์วิจัยและพัฒนา Vet Products Research and Innovation Center (VRI) เครือเวทโปรดักส์ ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทองและเหรียญเกียรติยศ จากผลงานนวัตกรรมการนำส่งยาต้านจุลซีพทิลมิโคชินด้วยพาหะนำส่งระดับนาโนผ่านระบบทางเดินอาหารประสิทธิภาพสูงตรงเป้าหมาย พร้อมกันนี้ได้ร่วมแสดงความยินดีกับ น.สพ. กิตติ ทรัพย์ชูกุล จากบริษัท คลีน กรีนเทค เจ้าของผลงานวิจัยไข่ออกแบบได้ (Designer8) และผลงาน SEDDS ระบบการนำส่งสารที่แตกตัวได้เอง  3 เหรียญรางวัล […]

นักวิจัยนาโนเทค “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน” ผลิตไบโอดีเซลเทียบเท่าน้ำมันปิโตรเลียม

 นักวิจัยนาโนเทค พัฒนา “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน” ผลิตไบโอดีเซลที่สามารถนำตัวเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผลิตไบโอดีเซลได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันปิโตรเลียม ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และหัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโครงสร้างระดับนาโน เพื่อการผลิตไบโอดีเซล และไบโอไฮโดรดีออกซิจิเนตดีเซล กล่าวว่า งานวิจัยพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียนนั้นสำคัญต่อโลกและต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากทรัพยากรมูลค่าการนำเข้าน้ำมันมีอยู่อย่างจำกัด และประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปราว 1 ล้านล้านบาท “ทางศูนย์วิจัยจึงได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ สารเคมีชีวภาพ สารเคมีที่มีมูลค่าสูงและวัสดุขั้นสูงด้วยการใช้นาโมเทคโนโลยี เพื่อเป็นการการช่วยประเทศลดการพึ่งพาต่างประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นการส่งเสริมการนำของเสียจากภาคเกษตรมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม” ทีมวิจัยได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ในการเร่งปฏิกิริยาในการทำไบโอดีเซลให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายๆ ครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในการลดมลพิษที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยการลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยใช้คอมพิวเตอร์ในจำลองการเกิดปฏิกิริยาของตัวเร่งชนิดต่างๆ เพื่อดูว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีประสิทธิภาพที่ขนาดเท่าใด จากนั้นทีมวิจัยได้ผลิตตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่พัฒนาขึ้นมานี้ มีความพรุนสูงและมีขนาดเล็กกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวเดิม ที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้ตัวสารตั้งต้นที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ เข้าทำปฏิกิริยาได้กับตัวเร่งง่ายขึ้นและเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีตัวเร่งปฏิกิริยามีพื้นผิวให้สารตั้งต้นเข้าไปทำปฏิกิริยาได้เยอะขึ้น งานวิจัยอีกส่วนของทีมวิจัย คือการพัฒนา “ไบโอไฮโดรออกซิจิเนตดีเซล” หรือ “กรีนไบโอดีเซล” ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดเรื่องคุณสมบัติของไบโอดีเซล ที่มีความแตกต่างกับน้ำมันดีเซล โดยทีมวิจัยได้ศึกษาการผลิตกรีนไบโอดีเซลจากปาล์มและไขมันไก่ โดยใช้โลหะนิกเกิลโมลิดินัมซัลเฟต (NiMoS2) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตกรีนไบโอดีเซลผ่านกระบวนการกระบวนการกำจัดออกซิเจนออกมาในรูปของน้ำ (Hydrodeoxygenation) ทว่าโลหะนิกเกิลโมลิดินัมซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีกระบวนการเตรียมค่อนข้างยุ่งยาก […]

1 5 6 7 21