NANOTEC Newsletter ชวนมาร่วมยินดีกับ 8 นักวิจัยนาโนเทคที่คว้ารางวัลจากงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” (Thailand Investor’s Day 2023) ที่จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเปิดงาน และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติเพื่อสนับสนุนให้มีการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง และสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพออกสู่สายตาคนไทยและประชาคมโลก
งานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 (Thailand Investor’s Day 2023) จัดขึ้นเป็นปีที่ 24 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และยังเป็นเวทีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ในด้านการประดิษฐ์คิดค้น โดยในปีนี้มีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักประดิษฐ์ไทยและนานาชาติส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 1,000 ผลงาน ซึ่งในโอกาสนี้ นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ร่วมเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติฯ โดยมี ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้เกียรติมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับนักวิจัย ดังนี้
1.รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีมาก (สาขา วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ ทีมวิจัยระบบหุ่นยนต์และเข็มระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ผลงานวิจัย : กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ (Instant production of microneedle on fabrics with customizable features)
2. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการวินิจฉัยระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ผลงานวิจัย : ไบโอแคลเซียมคาร์บอเนตผลิตจากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง (Bio-Calcium Carbonate Produced from Wasted Green Mussel Shell)
3. รางวัลวิจัยระดับดี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
ดร.ธีระ บุตรบุรี : นักวิจัย ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ผลงานวิจัย : การปลูกโครงสร้างนาโนของไททาเนียมไดออกไซด์แบบผลึกเดี่ยวที่มีรูพรุนสูงลงบนซับสเตรทตัวนำโดยตรง เพื่อประยุกต์ใช้ในงานเกี่ยวกับการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง (Direct Growth of Porous Single-crystalline Titanium Dioxide Nanostructures on Conductive Substrates for Photocatalytic Applications)
4. รางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง นักวิจัยอาวุโสทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ผลงานวิจัย : บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิเคราะห์สำหรับพัฒนาและออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะฟอสไฟด์ที่จำเพาะต่อการผลิตเชื้องเพลิงชีวภาพเหลวแห่งอนาคต (Integrating the Technology and innovative Research for Developing Biogreen Diesel over Bifucntional Metal Phosphide Catalysts)
5. รางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
ดร.อรรณพ คล้ำชื่น (ผู้ร่วมโครงการ) หัวหน้าทีมวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโน กลุ่มวิจัยการวิเคราะห์ระดับนาโนขั้นสูงและความปลอดภัย ผลงานวิจัย : การพัฒนาแหล่งกำเนิดไฟฟ้า นาโนแบบไตรโบอิเล็กทริก จากวัสดุคอมโพสิตซีเมนต์สู่การเป็นพื้นพลังงานอัจฉริยะ (Development of Triboelectric Nanogenerators from Cement Composite Materials Toward Smart Energy Floor)
6. รางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ (ผู้ร่วมโครงการ) นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ผลงานวิจัย : กลยุทธ์ในการมุ่งเป้าทำลายมะเร็งโดยใช้สีย้อมเรืองแสงในช่วงใกล้อินฟาเรด ((Strategies to Target Cancer Therapy Using Near-Infrared Fluorescent Dyes)
- รางวัลผลงานวิจัยระดับดี (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
ดร.สุวิมล บุญรังสิมันตุ์ (ผู้ร่วมโครงการ) นักวิจัยทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน
ผลงานวิจัย : นาโนเซลลูโลสจากชานอ้อย: องค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์ เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย (Nanocellulose from Sugarcane Bagasse: Knowledge Towards Utilization for Sustainability of Thai Sugar Industry)
- รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)
ดร.สุรัฐ ธีรพิทยานนท์ นักวิจัย ทีมวิจัยนาโนสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ผลงานวิทยานิพนธ์ เรื่อง : เครือข่ายปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ (Intelligence Distribution Network)
นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยนาโนเทคที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
ดร.พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทองได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ CARBAN-Ag แผ่นคาร์บอนสำหรับกรองากาศ ณ เวทีกิจกรรม Hall 101
และนักวิจัยนาโนเทคที่ได้รับเชิญร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานต่างๆ ดังนี้
ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน กับผลงานวิจัย ริเชอรอล (REISHURAL)
ดร. กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน กับผลงานวิจัย แมงกานีสเซ็นส์: ชุดตรวจแมงกานีสและเครื่องอ่านดูโออาย
และ ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว หัวหน้าทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน กับผลงาน นวัตกรรมเทคโนโลยีเคลือบนาโนและกระบวนการเคลือบดูดซับความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของท่อนำความร้อนที่ใช้กับแผงรวมแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา (Parabolic Trough Solar Concentrator) เทคโนโลยีสารเคลือบนาโนเพื่อการอนุรักษ์อาคารศาสนสถาน และ N-Shield แผ่นฟิล์มฆ่าแบคทีเรียและไวรัส ร่วมจัดแสดง