ความสำเร็จในการดำเนินงานอันเกิดจากความสามารถของบุคลากรนาโนเทค ความร่วมมือจากพันธมิตรและผลงานที่ได้รับการยอมรับจากเวทีทั้งในและต่างประเทศล้วนเกิดจากความพยายามและศักยภาพที่เพิ่มขึ้นทุกขวบปี นาโนเทคหรือศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในปีที่ 19 อยู่ระหว่างการเติบโตที่เปล่งประกายท่ามกลางวิกฤตต่าง ๆ NANOTEC Newsletter ฉบับนี้ จะพาทุกคนไปร่วมฟังพี่ๆ ผู้บริหารทั้ง 4 คนของนาโนเทค คือ พี่ฉิน-ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการ, พี่หน่อง-ผศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รักษาการรองผู้อำนวยการ, พี่ใหม่-ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการ และพี่จูน-ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ที่จะมาบอกการเดินทาง ความท้าทาย ความสำเร็จ และเป้าที่เราปักธงไว้ว่าจะไปให้ถึง ภายในงาน NANOTEC 19th Anniversary: Grow with VALUES
ปีแห่งการเติบโตอย่างมีพลังและมีคุณค่า
“นาโนเทคกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 19 ซึ่งเป็นปีแห่งการเติบโตอย่างมีพลังและมีคุณค่า” ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการนาโนเทค กล่าว พร้อมบอกเล่าถึงเส้นทางที่ผ่านมาว่า หากย้อนกลับไปตอนปีที่ 13 ของนาโนเทคในธีม The art of We ซึ่งคำว่า We สำคัญและมีความหมายมาก
“เราจะเห็นได้ว่า We อยู่ในทุกๆ ธีมวันเกิดของนาโนเทค นั่นเพราะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ สปิริตของพวกเราที่ยิ่งใหญ่ และทำให้เกิดผลงานจำนวนมาก หรือที่ชอบเรียกกันติดปากว่า Power of WE, Unity of NANOTEC ซึ่งจะกลับมาเป็นธีมในวันเกิดครบรอบ 20 ปี เพราะเราทุกคน คือ Engine สำคัญในการพัฒนาประเทศ”
โดยมีหัวใจคือ 4 Dots ที่เชื่อมโยงภายในนาโนเทคไว้ ได้แก่ Business Arm, Capability Building Team, R&D Team และ Support Engine ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จต่างๆ มากมาย ดังเช่นในปีนี้ที่ BSC KPI ในปี 2565 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สำเร็จและบรรลุเป้าหมายไปแล้ว 3 ตัว คือ มูลค่าผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม, รายได้ และการนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
“ศาสตร์ทางนาโนเทคโนโลยี เมื่อไปบูรณาการกับอะไรแล้วก็เหมือนทำให้ทุกอย่างเติบโต ในอีก 20 ปีข้างหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ นาโนเทคโนโลยี ถือเป็น 1 ใน 4 เทคโนโลยีหลักที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ” ดร.วรรณีย้ำ
ผู้อำนวยการนาโนเทคชี้ว่า นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (Visibility) ตอบปัญหาสำคัญๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นการนำไปสู่นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Carbon neutrality หรือ การลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Nanobiotechnology ที่นำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือ หรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา และอาหาร ซึ่งเป็นทิศทางที่เราจะเดินไปด้วยกันในอนาคต โดยยึดหลัก 5 Strategic Initiatives towards Goal (5SI)
นอกจากนี้ นาโนเทคเรายังมีบทบาทใน NSTDA Agenda ที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Sustainable food and ingredient, Agenda ที่ 4 เรื่อง Medicine and Biopharmaceuticals, Agenda ที่ 5 เรื่อง Medical Devices, Digital Health & Assistive Technology, Agenda ที่ 7 เรื่อง Biochemicals & Biobased Materials และ Agenda ที่ 8 เรื่อง Digital Services & Smart Electronics
วิจัยและพัฒนา สร้างพันธมิตรและความมั่นคง
หากเอ่ยถึงงานวิจัยและพัฒนา คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นาโนเทค เราอยู่ในระดับสากล ด้วยบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การดำเนินการที่สอดคล้องและสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยให้เดินหน้า ก็ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ผศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รักษาการรองผู้อำนวยการนาโนเทค นำเสนอ 3 เรื่องหลักที่ต้องผลักดัน เป็นเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนานาโนเทค ใน 3 มิติ ทั้ง Big initiatives, New Mechanism หรือ Big Output/Outcome
Big initiatives สำหรับฝั่งวิจัย เป็นโครงการใหญ่ที่ต้องใช้เวลาและพัฒนาทีมขนาดใหญ่ เช่น โครงการพัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็ว ที่ต้องการการผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ หรือโครงการบูรณาการน้ำ ที่มีมูลค่ากว่า 35+14 ล้านบาท และใช้ระยะเวลาการพัฒนาผลงานมากว่า 10 ปี เป็นต้น
New Mechanism เป็นการมองหาความร่วมมือใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ (Around the World Strategy) ซึ่งจะสร้างการรับรู้ โดยเริ่มสร้าง Visibility กับต่างประเทศ ผ่านการผลักดันให้เกิดการฝึกอบรม และความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในต่างประเทศ รวมถึงภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรวิจัย มหาวิทยลัย รวมถึงความร่วมมือภายในนาโนเทค
Big Output/Outcome ความท้าทายในการบริหารโครงการขนาดใหญ่ของนักวิจัยนาโนเทคที่ต้องร่วมมือกับฝ่ายสนับสนุน ในการสร้างรายได้และมั่นคงทางการเงินให้กับ สวทช. นับเป็นการสนับสนุนการของบประมาณจากโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้ สวทช. มีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นในระยะยาว
เสริมกำลังผลักดันขีดความสามารถและศักยภาพสู่สากล
ในส่วนของ Capability Building และ Business Arm ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการนาโนเทค ฉายภาพของการดำเนินงานเพื่อผลักดันขีดความสามารถและศักยภาพของนาโนเทคให้เกิดผลที่เห็นได้ชัด ผ่านโครงการวิจัยใหม่ รายได้ที่เข้ามา หรือการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ใน 3 มิติ ได้แก่
Big initiatives เริ่มจากกลไกการสนับสนุนโครงการวิจัยภายในนาโนเทคเชิงรุก ในการสนับสนุนโครงการ R&D Grant Funding ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ NPR เพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยใหม่ หรือโครงการขนาดเล็ก, NCB ที่ ดร.วรรณีให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการสร้างขีดความสามารถของศูนย์ ถือเป็นการมองหรือคาดการณ์ผลงานที่สำคัญในอนาคต และ NFT เป็นโครงการที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องภายในนาโนเทค นับเป็นจุดเริ่มต้นในการบ่มเพาะการทำโครงการขนาดเล็ก ไปสู่การขอทุนในโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงต่อยอด ขยายผลการทำงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ตอบโจทย์สำคัญของประเทศ ตามมาด้วยกลไกการเชื่อมแหล่งทุนและหาแหล่งทุนวิจัยน่านน้ำใหม่ ด้วยวิธีการเชิญแหล่งทุนมาเยี่ยมชม และมีโอกาสได้พูดคุยและชมผลงานวิจัยของทีมวิจัยนาโนเทค
New Mechanism โดยมีการเพิ่มบริการทดสอบด้านฤทธิ์ชะลอวัยและต้านอนุมูลอิสระ (Anti-aging & Antioxidant testing services) ที่จะเริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 และเพิ่มงานพัฒนาธุรกิจเชิงสังคม (SBD) ซึ่งจะมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ร่วมกับภาคเอกชน และชุมชน
Big Output/Outcome จะมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับนักวิจัยเพื่อสร้าง Visibility รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับภาคเอกชน เพื่อทำงานในโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เช่น โครงการโตโยต้าลดเปลี่ยนโลก โครงการ CSR ร่วมกับบริษัท GPSC เป็นต้น รวมถึงมองหาความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ยืดหยุ่น ใส่ใจ เพื่อบุคลากร
ในส่วนของ Support Engine ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการนาโนเทค วางแผนนำร่องและนับเป็นก้าวสำคัญด้วย 3 มิติ คือ
Big initiatives ที่ใช้เทคนิคบูรณาการในการขอทุน ปรับตัวชี้วัดใหม่ ได้แก่ SI4 ขยายผลการใช้ประโยชน์งานวิจัยด้วยกลยุทธ์บูรณาการนวัตกรรม และ SI5 การยกระดับค่า Field-Weighted Citation Impact (FWCI) เพื่อวัดผลการทำงานที่สอดรับกับการบูรณาการผลงานวิจัยต่างๆ ของทีมวิจัย รวมถึงการบริหารงบประมาณตามบริบทที่เปลี่ยนไป เน้นผลักดัน-สร้างความตระหนัก และหนุนเกิดนโยบายเปลี่ยน ปรับ ขยับ ลด/งด
New Mechanism ซึ่งจะมุ่งเน้นกลไกการดูแลและพัฒนาบุคลากร ทั้งพนักงานและพันธมิตรร่วมวิจัย เช่น NSTDA Postdoc, NSTDA Postgrad ไม่ว่าจะเป็กนระบวนการพัฒนาบุคลากร ทุนบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง หรือการดูแลในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่มีการดูแลติดตามผู้ติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยง
Big Output/Outcome เป็นการขยายพื้นที่ปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์ในงานวิจัย เพื่อสร้างให้เกิดพื้นที่ในการสร้างงานวิจัยใหม่ๆ อาทิ เพิ่มพื้นที่ LAB ถาวรเพิ่มเติม ชั้น 4 ชั้น 5 INC2 B เป็นต้น
"GROW with VALUES เป็นการเติบโตของผลงานนาโนเทค ไม่ว่าจะเป็น Excellence Growth / Collaboration Growth / Income Growth เกิดจากการสร้างคุณค่าจากผลงาน ซึ่งต้องให้ความสมดุลระหว่างผลงานและคุณภาพงานด้วย เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้นาโนเทคเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับเส้นทางในการเดินทางไปสู่ปีที่ 20 ที่เติบโต ก้าวหน้า มีความสุข ภาคภูมิใจ และประสบความสำเร็จ เราปักธงอะไรไว้หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ความพร้อมปักธงการเป็นเจ้าภาพจัด NANOTHAILAND ร่วมกับ VISTEC อยากชวนทุกคนมาเดินทางไปด้วยกันและหวังว่าพวกเราทุกคนจะสามัคคีและมีความสุขไปด้วยกัน" ดร.วรรณีกล่าวทิ้งท้าย