เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง อว. (สป.อว.) จัดเวทีสัมมนา ASEAN-Japan Consortium on Nanopore and Emerging Technologies ภายในงาน ASEAN Talent Mobility หรือ “ATM CONNECT” ภายใต้แนวคิด “Green Talent Development to Enhance ASEAN Economic Co-Creation and Sustainable Society through STI-Based Solutions” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการนาโนเทค สวทช. กล่าวเปิดงาน
“งานนี้ เป็นการรวมตัวของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับนาโนพอร์ และเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างและเสริมเครือข่ายพันธมิตรให้แข็งแกร่งเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เทคโนโลยีนี้ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในมิติที่หลากหลาย เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม รวมถึงตอบโมเดลเศรษฐกิจ ESG (Environmental-Social-Governance) ให้ประเทศพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างระบบเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” ดร. ภาวดีกล่าว
ภายในงานสัมมนานี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนาโนพอร์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และงานวิจัยที่ทำอยู่อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน นาโนเทค สวทช. นำเสนอภาพรวมความก้าวหน้าของงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีนาโนเซนเซอร์และนาโนพอร์ในประเทศไทย ในหัวข้อ “From Detection to Commercialization: The Journey of Nanosensors and Nanopore Technologies in Thailand” Prof. Dr. Hiroaki Tateno Group Leader & Professor, National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอองค์ความรู้อย่าง “Single-Cell Glycan Sequencing” และ Dr. So Nakagawa Associate Professor, Tokai University School of Medicine ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอภาพของการวิเคราะห์ข้อมูลลำดับนาโนพอร์สำหรับการประยุกต์ใช้ด้านชีวสารสนเทศศาสตร์ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อต่างๆ ใน “Bioinformatics Pipeline for Nanopore Sequencing Data Analysis for Infectious Diseases”
ด้าน Ass. Prof. Dr. Slaven Garaj Assistant Professor, Department of Physics, National University of Singapore จากสิงคโปร์ นำเสนอนาโนพอร์ อิลาสโตเมอร์ ใน “Nanopore Elastometry: a new approach for the mechanical characterization of nanoscale biological structures” ส่วนการประยุกต์ใช้กับไวรัสนั้น Dr. Peter J. Bond Senior Principal Investigator, The Multiscale Simulation, Modelling and Design (MSMD) group, Bioinformatics Institute, Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) จากสิงคโปร์ นำเสนอในหัวข้อ “Multi-Resolution Modelling of Nanoscale Phenomena – Spotlight on Viruses” ตามมาด้วยด้านจุลชีววิทยากับ “Hybrid genome sequencing in clinical microbiology” โดย Asst. Prof. Pisut Pongchaikul Assistant Professor, Chakri Naruebodindra Medical Institute, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University ประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นน่าสนใจใน “Potential Zoonotic Pathogen from Wildlife Using the New Tool of Molecular Identification.” โดย Prof. Dr. Wayan T. Artama, DVM Coordinator of One Health Collaborating Center, Univeritas Gadjah Mada / Research Center for Biotechnology ประเทศอินโดนีเซีย, การประยุกต์ใช้ทางด้านการพิมพ์สามมิติสำหรับทางการแพทย์จาก Dr. Annabelle V. Briones Director, Industrial Technology Development Institute, Department of Science & Technologyจากฟิลิปปินส์ ในหัวข้อ “Advancing Biomedical Industry in the Philippines through Nanotechnology, 3D Printing, and Artificial Intelligence/Machine Learning” , การประยุกต์ใช้ทางด้านโรคติดเชื้อในเวียดนามจาก Mrs. Phan Ha My นักวิจัยจาก National Institute of Hygiene and Epidemiology (NIHE) ประเทศเวียดนาม ในหัวข้อ “NGS Application for Infectious Diseases in Vietnam” และภาพของมาเลเซียทั้งด้านงานวิจัย “Research Updates in Malaysia” จาก Mr. Mohd Helme Bin Mohd Helan Principal Assistant Director, National Nanotechnology Centre, Ministry of Science, Technology and Innovation จากมาเลเซีย และโอกาสทางการตลาดของนาโนพอร์ ใน “Market Insights and Growth Prospects of Nanopore Technologies in Malaysia” โดย Mr. Hazmy Iman Bin Abas Manager, Market Analysis, NanoVerify Sdn. Bhd./ Nano Malaysia Berhad จากมาเลเซีย
สามารถดูย้อนหลังได้ที่
The symposium of “ASEAN-Japan Consortium on Nanopore and Emerging Technologies”