12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมบอร์ดรูม อาคาร INC2 ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) โดย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้านสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ผศ. ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ด้านวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วย ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน และ คุณเบญญาภา สุวรรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือและประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ รศ. ดร.ศรุต อำมาตย์โยธิน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เพื่อประชุมแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน โครงการยุวชนอาสา โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง ร่วมดำเนินการวิจัยตอบโจทย์เชิงพื้นที่ (นำร่อง) โครงการพัฒนาคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีกับนักวิจัยของนาโนเทค
ในโอกาสนี้ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ หัวหน้าทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอผลงานวิจัยโครงการพัฒนาคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีในจังหวัดลำปาง ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน นำเสนอโครงการตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดลำปาง และ ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง นักวิจัยกลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน นำเสนอผลงานวิจัยปุ๋ยคีเลต จุลธาตุอาหารพืชเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช จากนั้นได้เชิญผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ
“” โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอุดมศึกษา โดยโครงการมุ่งเน้น
- ปฏิบัติงานจริงของนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีและอนุปริญญาทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เข้าไปแลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาวิเคราะห์และประมวลผลปัญหาของชุมชน และให้ความช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน (1 ภาคการศึกษา)
- เน้นการมีส่วนร่วมของชุนที่จะเป็นฐานในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติผ่านโครงการที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่
- มุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำและปัญหาคุณภาพชีวิต ส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
- สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาและจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติงานในชุมชน (Community Integrated Learning: CIL) ผ่านโครงการที่ดำเนินร่วมกับชุมชน (Project based learning: PBL)
- เกิดการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปช่วยแก้ไขปัญหาชุมชน