นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีเคลือบนาโน หนุนการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน

ทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. ลงพื้นที่วัดปากน้ำ (สมุทรคงคาราม) จังหวัดระยอง ในโครงการ “เทคโนโลยีสารเคลือบนาโนเพื่อการอนุรักษ์อาคารศาสนสถาน” ดูความก้าวหน้าจากการต่อยอดใช้ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยีสู่สารเคลือบพื้นผิว ลดการเกิดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ และเชื้อรา เพิ่มความคงทนและสวยงาม ลดต้นทุนการดูแลรักษาอาคารศาสนสถาน หนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า นาโนเทคมีพันธกิจหลักในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งเราได้ให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ “นาโนเทคเองให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาที่สามารถตอบความต้องการได้แบบ 360 องศา รอบด้านทุกมิติ ซึ่งในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา เราถ่ายทอดผลงาน 39 โครงการ ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ รวม 30 หน่วยงาน สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม 3,543 ล้านบาท ผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของภาคการผลิตและบริการ มูลค่ากว่า 117 ล้านบาท” ดร.ภาวดีกล่าว ในขณะเดียวกัน นาโนเทคก็มีงานวิจัยเพื่อตอบประโยชน์ในเชิงสังคม ล้อไปกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG […]

กรองน้ำกร่อย/เค็มด้วย “อัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเส้นใยท่อกลวง”

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติหรือนาโนเทค สวทช. เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและ มนุษยชาติผ่านงานวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและสามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ เรื่องน้ำ ที่นาโนเทคพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกรอง/บำบัด เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสม เช่นน้ำดีสำหรับอุปโภคบริโภค หรือน้ำทิ้งตามมาตรฐาน สำหรับปล่อยทิ้งแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งการรี-ไซเคิล นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ โดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green technology) รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ปัญหา (Solution provider) ที่เหมาะสม รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรเพื่อบูรณาการร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านน้ำเพื่อตอบโจทย์ที่ท้าทายของประเทศ จุดเด่นด้านเทคโนโลยีนาโนที่ตอบโจทย์เรื่องน้ำ คือ ขนาด ซึ่งขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรสูงขึ้น ดังนั้นจึงมีพื้นที่สำหรับดักจับหรือย่อยสลายสารปนเปื้อน (มลสาร) ได้มากขึ้น รวมถึงสมบัติทางพื้นผิว สามารถปรับปรุงพื้นผิวของวัสดุกรองให้มีสมบัติพิเศษ เช่น กรองและยับยั้งเชื้อ หรือพัฒนาชั้นฟิลม์บางบนไส้กรองเพื่อเลือกดักจับเกลือ งานวิจัย “ไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันที่มีชั้นฟิลม์บางพิเศษ (Thin-film nanocomposite ultrafiltration membrane)” โดยดร.วรายุทธ สะโจมแสง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน นาโนเทค เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำกร่อย โดยเพิ่มคุณสมบัติให้กับไส้กรองอัลตราฟิลเตรชันด้วยการเคลือบฟิล์มบาง ให้สามารถกรองสิ่งที่มีขนาดเล็ก เช่น […]

นาโนเทคพัฒนาเทคนิคเคลือบฟิล์มบาง เพิ่มประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคนิคการเคลือบแบบสารละลายรูปวงเดือนสำหรับการเคลือบฟิล์มบางสารกึ่งตัวนำไฟฟ้าแบบสารละลาย ช่วยจัดเรียงอนุภาคระดับไมโครเมตรถึงนาโนเมตรของพอลิเมอร์และควอนตัมดอตให้เก็บพลังงานจากแสงได้ที่ความยาวคลื่นกว้างขึ้น ปูทางพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ที่ประสิทธิภาพ-เสถียรภาพสูงขึ้นเทียบเคียงชนิดซิลิคอน แต่ต้นทุนถูกกว่า หวังสร้างนวัตกรรมไทยใช้เอง ไม่ง้อของนอก          กระแสพลังงานหมุนเวียนที่จะเป็นพระเอกในยุคที่ทั่วโลกต้องช่วยกันลดใช้พลังงาน และพัฒนาพลังงานทางเลือกให้ตอบความต้องการ แสงแดดเป็น 1 ในตัวเลือก ที่นำสู่การวิจัยและพัฒนา “เซลล์แสงอาทิตย์” ตัวช่วยเก็บและแปลงแสงแดดเป็นพลังงาน           ดร. อนุศิษย์ แก้วประจักร์ ทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กล่าวว่า เซลล์แสงอาทิตย์มีอยู่ 3 รุ่น รุ่นแรก เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากผลึกซิลิคอน ที่เดิมมีต้นทุนสูงมาก ด้วยต้องใช้ซิลิคอนความบริสุทธิ์สูง อุณหภูมิในการหลอมเหลวสูง และกระบวนการที่ซับซ้อน ทำให้ราคาสูงในช่วงแรก แต่ปัจจุบัน เริ่มจับต้องได้ รุ่นที่ 2 เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบาง ที่ใช้กระบวนการเตรียมฟิล์มบางในสุญญากาศสูง ใช้สารที่มีราคาแพงและสารบางตัวมีความเป็นพิษสูง และสุดท้ายคือ เซลล์แสงอาทิตย์อุบัติใหม่            […]