ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม

ชื่อเทคโนโลยี/สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม  วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ น้ำมันเมล็ดงาม้อนอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวหลายชนิด ได้แก่ กรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) 55-60% กรดไลโนเออิก (โอเมก้า 6) 18-22% และกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) 0.08-0.17% ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังพบสารสำคัญในกลุ่มโพลีฟีนอลที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะกรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid) และสารลูทีโอลิน (Luteolin) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ระบบนำส่งยาอิมัลชันชนิดเกิดเอง (Self-emulsifying drug delivery system; SEDDS) เป็นระบบนำส่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการนำส่งสารออกฤทธิ์และยาชนิดที่มีค่าการละลายน้ำต่ำที่ให้โดยการรับประทาน สารออกฤทธิ์และยาที่ละลายน้ำยากจะละลายอยู่ในกรดไขมันขนาดเล็ก และถูกดูดซึมผ่านกลไกของการย่อยและการดูดซึมของไขมันในร่างกาย ส่งผลให้มีชีวประสิทธิผลดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพจากน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบของแคปซูลนิ่มพร้อมบริโภคที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการดูดซึมและการนำส่งสารสำคัญทั้ง โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 ไปยังลำไส้เล็กของมนุษย์ โดยผู้ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกงาม้อน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สนใจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคต่อไป สรุปเทคโนโลยี […]

กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ไขอ้อย (sugarcane wax) เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำที่น่าสนใจ ส่วนมากไขอ้อยจะได้จากการสกัดกากหม้อกรองที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในปัจจุบันมีประโยชน์ในแง่การนำเอาไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมยา และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้แทนไขคาร์นูบา (carnauba wax) ที่มีราคาแพงในการผลิตเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์ยาได้เป็นอย่างดี โดยสารสำคัญที่มีอยู่ในไขอ้อยมีหลายชนิดและมีปริมาณไม่แน่นอน ได้แก่ กลุ่มกรดไขมัน (fatty acid) คีโตน (ketone) แอลดีไฮด์ (aldehyde) เอสเทอร์ (ester) กลุ่มของสารพวกไฟโตสเตอรอล (phytosterols) และแอลกอฮอล์สายโซ่คาร์บอนยาวหลายชนิดที่ไม่ชอบน้ำหรือเรียกว่ากลุ่มสารโพลิโคซานอล (a mixture of long chain primary aliphatic alcohols หรือ policosanol) องค์ประกอบหลักของสารโพลิโคซานอลที่ได้จากไขอ้อย ได้แก่ เตตระโคซานอล (tetracosanol, C24) เฮกซะโคซานอล (hexacosanol; C26) ออกตะโคซานอล […]