อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ อนุภาคนาโนและไมโครบีดส์กักเก็บสารสกัดกระเทียม   วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ สารสำคัญในกระเทียมที่ได้รับการยอมรับ คือ อัลลิซิน มีการศึกษาของ Cavallito และ Bailey (1994) พบว่า อัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านการแข็งตัวของเม็ดเลือดแดง ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ลดคลอเรสเตอรอลและระดับน้ำตาล ช่วยรักษาการอักเสบ สมานแผล อีกทั้งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อปรสิตได้หลายชนิดอีกด้วย โดยสารอัลลิซินเป็นสารที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับความชื้นหรืออุณหภูมิที่สูงขึ้น เนื่องจากสารสำคัญในกระเทียมไม่เสถียรและสลายตัวได้ง่าย ดังนั้น ทีมวิจัยเวชศาสตร์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. โดย ดร.ณัฎฐิกา แสงกฤช และคณะ จึงนำสารสกัดกระเทียมมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของอนุภาคนาโนไขมันที่มีการกักเก็บสารสกัดกระเทียม ช่วยในการเก็บรักษาและควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญออกมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ได้ดีและยาวนานขึ้น   สรุปเทคโนโลยี อนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัดจากระเทียมนี้ถูกออกแบบให้สารสกัดกระเทียมมีความคงตัว […]

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม

ชื่อเทคโนโลยี/สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพน้ำมันเมล็ดงาม้อนชนิดบรรจุแคปซูลนิ่ม  วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ น้ำมันเมล็ดงาม้อนอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวหลายชนิด ได้แก่ กรดไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) 55-60% กรดไลโนเออิก (โอเมก้า 6) 18-22% และกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) 0.08-0.17% ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังพบสารสำคัญในกลุ่มโพลีฟีนอลที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะกรดโรสมารินิก (Rosmarinic acid) และสารลูทีโอลิน (Luteolin) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ระบบนำส่งยาอิมัลชันชนิดเกิดเอง (Self-emulsifying drug delivery system; SEDDS) เป็นระบบนำส่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการนำส่งสารออกฤทธิ์และยาชนิดที่มีค่าการละลายน้ำต่ำที่ให้โดยการรับประทาน สารออกฤทธิ์และยาที่ละลายน้ำยากจะละลายอยู่ในกรดไขมันขนาดเล็ก และถูกดูดซึมผ่านกลไกของการย่อยและการดูดซึมของไขมันในร่างกาย ส่งผลให้มีชีวประสิทธิผลดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสุขภาพจากน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบของแคปซูลนิ่มพร้อมบริโภคที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการดูดซึมและการนำส่งสารสำคัญทั้ง โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 ไปยังลำไส้เล็กของมนุษย์ โดยผู้ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกงาม้อน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สนใจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเมล็ดงาม้อนในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคต่อไป สรุปเทคโนโลยี […]

นาโนเทค สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีเคลือบนาโน หนุนการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน

ทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. ลงพื้นที่วัดปากน้ำ (สมุทรคงคาราม) จังหวัดระยอง ในโครงการ “เทคโนโลยีสารเคลือบนาโนเพื่อการอนุรักษ์อาคารศาสนสถาน” ดูความก้าวหน้าจากการต่อยอดใช้ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยีสู่สารเคลือบพื้นผิว ลดการเกิดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ และเชื้อรา เพิ่มความคงทนและสวยงาม ลดต้นทุนการดูแลรักษาอาคารศาสนสถาน หนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า นาโนเทคมีพันธกิจหลักในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งเราได้ให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ “นาโนเทคเองให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาที่สามารถตอบความต้องการได้แบบ 360 องศา รอบด้านทุกมิติ ซึ่งในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา เราถ่ายทอดผลงาน 39 โครงการ ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ รวม 30 หน่วยงาน สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม 3,543 ล้านบาท ผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของภาคการผลิตและบริการ มูลค่ากว่า 117 ล้านบาท” ดร.ภาวดีกล่าว ในขณะเดียวกัน นาโนเทคก็มีงานวิจัยเพื่อตอบประโยชน์ในเชิงสังคม ล้อไปกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG […]

นาโนเทคพาสื่อมวลชนลงใต้ชมนวัตกรรมเด็กในโครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. นำผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ภาคใต้ เยี่ยมชม “เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน” และ “เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ” นวัตกรรมเยาวชนจากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีในโครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ที่มองปัญหาภายในชุมชนเป็นโจทย์สร้างนวัตกรรมต้นแบบสู่การใช้ประโยชน์ในระดับชุมชนในอนาคต เตรียมความพร้อมประกวดรอบชิงชนะเลิศ 4-6 กย. นี้ โครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และโครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก รองผู้อำนวยการนาโนเทคชี้ว่า โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดค้น สร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดผลงาน ด้วยการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยนาโนเทคโนโลยี นำไปสู่ทักษะในการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และสื่อสารการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยนาโนเทคโนโลยีของครู และนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงช่วยสร้างความตระหนักและเกิดการกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยนาโนเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องอีกด้วย โดย 2 นวัตกรรมเยาวชนที่นาโนเทคพาไปเยี่ยมชมได้แก่ “เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน” (Nano Ocean Bin) คือ ทุ่นลอยระดับผิวน้ำ […]

สเปรย์เคลือบหน้ากากผ้ากันน้ำ กันน้ำมัน กันฝุ่น และกันการยึดเกาะของเชื้อโรค (Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray)

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray “สเปรย์เคลือบหน้ากากผ้ากันน้ำ กันน้ำมัน กันฝุ่น และกันการยึดเกาะของเชื้อโรค” วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว และคณะทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี เนื่องด้วยวิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในท้องตลาด คณะผู้วิจัยจึงมีความตั้งใจในการพัฒนาสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า ให้มีคุณสมบัติกันน้ำ กันน้ำมัน และกันฝุ่น เพื่อลดการเกาะจากละอองฝอยของน้ำ น้ำมัน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปะปน นอกจากนี้สเปรย์ดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ในระยะยาวด้านอาชีวอนามัยเพื่อความปลอดภัย (Occupational health) ของอาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันและฝุ่นในปริมาณมาก สรุปเทคโนโลยี Multifunctional N-Coating Fabric Mask Spray คือ สเปรย์ที่สามารถพ่นเคลือบทำให้พื้นผิวสิ่งทอมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ กันน้ำมัน และกันฝุ่น เพื่อลดการเกาะจากละอองฝอยของน้ำ น้ำมัน หรือฝุ่นที่มีเชื้อโรคปะปน โดยสเปรย์ดังกล่าวสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่เปลี่ยนแปลงสีและรูปร่างของพื้นผิวที่พ่นเคลือบ สามารถใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า ทดแทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ลดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน โดยสารเคลือบดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบ Standard Toxicity Test […]

กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง

ชื่อเทคโนโลยี / สิ่งประดิษฐ์ กระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สารโพลิโคซานอลจากกากหม้อกรองแบบรวดเร็วเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร (ACP) ที่มา และความสำคัญที่นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ไขอ้อย (sugarcane wax) เป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำที่น่าสนใจ ส่วนมากไขอ้อยจะได้จากการสกัดกากหม้อกรองที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในปัจจุบันมีประโยชน์ในแง่การนำเอาไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมยา และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้แทนไขคาร์นูบา (carnauba wax) ที่มีราคาแพงในการผลิตเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์ยาได้เป็นอย่างดี โดยสารสำคัญที่มีอยู่ในไขอ้อยมีหลายชนิดและมีปริมาณไม่แน่นอน ได้แก่ กลุ่มกรดไขมัน (fatty acid) คีโตน (ketone) แอลดีไฮด์ (aldehyde) เอสเทอร์ (ester) กลุ่มของสารพวกไฟโตสเตอรอล (phytosterols) และแอลกอฮอล์สายโซ่คาร์บอนยาวหลายชนิดที่ไม่ชอบน้ำหรือเรียกว่ากลุ่มสารโพลิโคซานอล (a mixture of long chain primary aliphatic alcohols หรือ policosanol) องค์ประกอบหลักของสารโพลิโคซานอลที่ได้จากไขอ้อย ได้แก่ เตตระโคซานอล (tetracosanol, C24) เฮกซะโคซานอล (hexacosanol; C26) ออกตะโคซานอล […]

1 2 5