บทบาทของงานความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี

งานความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี กำหนดบทบาทในการดำเนินงานตามแผนแม่บทศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) และแผนยุทธศาสตร์จริยธรรมและความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : สร้างและบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโน

๑. พัฒนาสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและประชาชนทั่วไปในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย
๒. พัฒนาคู่มือและแนวปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางการใช้นาโนเทคโนโลยีอย่างปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรม นักวิชาการ นักวิจัย ในระดับห้องปฏิบัติการ และระดับผู้ใช้งาน
๓. สืบค้นและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีให้ทันต่อสถานการณ์

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของมาตรการและกลไกการควบคุมกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๑. จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน ๗ เล่ม ได้แก่
๑) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 1 : แนวทางระบุข้อกำหนดวัสดุนาโนจากการผลิต
๒) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 2 : แนวทางการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะสำหรับวัสดุนาโนจากการผลิต
๓) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 3 : แนวทางการจัดกระทำ และกำจัดวัสดุนาโนอย่างปลอดภัย
๔) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 4 : แนวทางการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางฟิสิกส์ – เคมี สำหรับการประเมินพิษวิทยาของวัสดุนาโนจากการผลิต
๕) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 5 : แนวทางการประเมินความเสี่ยงของวัสดุนาโน
๖) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 6 : การวิเคราะห์ขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคการกระเจิงแสงแบบพลวัต
๗) นาโนเทคโนโลยี เล่มที่ 7 : วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

๑) สร้างและพัฒนาเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม ให้มีความรู้และเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยี
๒) สร้างความตระหนักในความสำคัญของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนาโนเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อการนำมาตรฐานฯ ไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๓) เผยแพร่ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข่าวสาร สู่กลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป ผ่านกิจกรรมการจัดอบรม/สัมมนา/นิทรรศการ/สื่อสิ่งพิมพ์/สื่ออิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ งานความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี ยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ ตลอดจนทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ เช่น การเข้าร่วมประชุม OECD/WPMN, การเข้าร่วมประชุม ANF/EU, การจัดโครงการ Interlab Comparison ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นต้น