หน้าหลัก

ข่าวและประกาศ

นาโนเทค สวทช. ต้อนรับบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากสารสกัดสมุนไพรไทย

นาโนเทค สวทช. ต้อนรับบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากสารสกัดสมุนไพรไทย วันที่ 11 เมษายน 2568 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย – ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการนาโนเทค พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักวิจัย ให้การต้อนรับผู้แทนจากบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมศักยภาพของศูนย์ฯและหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาโดยอาศัยองค์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี นาโนเทคได้นำเสนอความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถด้านการวิจัยที่ครอบคลุมหลายมิติ อาทิ เทคโนโลยีการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ รวมถึงแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรไทยและอนุภาคนาโนกักเก็บสารสำคัญ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของทีมวิจัยนาโนเทคที่พร้อมสนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย นอกจากนี้ คณะจากลอรีอัลฯ ยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยของนาโนเทค ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทีมวิจัยความปลอดภัยระดับนาโนและฤทธิ์ทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติการ in vivo Nanotoxicology Analysis ตลอดจนโรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ที่สามารถรองรับการพัฒนาสูตรตำรับและกระบวนการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม การเยี่ยมชมในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิจัยและภาคอุตสาหกรรม โดยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะด้านการพัฒนาสูตรตำรับจากสารสกัดจากสมุนไพรไทย ต่อยอดศักยภาพและจุดแข็งของพืชสมุนไพรภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เป็นมิตรกับผู้บริโภค และตอบโจทย์ตลาดความงามในระดับสากล

ประกาศผลการประกวดนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกปีที่ 2

วันที่ 9 เมษายน 2568 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)  จัดพิธีมอบรางวัลถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และรางวัลเกียรติคุณ โครงการลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 ให้แก่ผู้ชนะในโครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และ นวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ดำเนินงานหลักโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดค้น สร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดผลงาน จากการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน นำมาพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อปรับใช้ในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม   โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) และนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา  (สายอาชีวศึกษา)   ผลการประกวดนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกปีที่ 2   รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวิทยาศาสตรตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการนวัตกรรมกังหันลมดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เสริมประสิทธิภาพด้วยเส้นใยไมซีเลียม เงินรางวัล 50,000 บาท […]

สวทช. – กฟผ. จับมือใช้ “ระบบตรวจวัดและจำแนกแหล่งกำเนิด PM2.5” หาต้นตอฝุ่นจิ๋ว

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีปริมาณสูงจนเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยที่มักเกิดในช่วงเดือนมกราคม –เมษายนของทุกปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จับมือนักวิจัย สวทช. โดยนาโนเทค พัฒนาระบบตรวจวัดและจำแนกแหล่งกำเนิด PM2.5 สืบหาต้นตอฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดลำปาง พร้อมแอปพลิเคชันแสดงผลค่า PM2.5 แบบจำแนกสัดส่วนของแหล่งกำเนิด และดัชนีคุณภาพอากาศแบบ Real Time ปูทางสู่ฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการลดการเกิดฝุ่นละอองในสิ่งแวดล้อม และแนะมาตรการป้องกันและแก้ไขการเกิดฝุ่น PM2.5 ได้ในอนาคต ดร. รุ่งโรจน์ เมาลานนท์ ทีมวิจัยวิศวกรรมกระบวนการและระบบตรวจติดตาม กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบจำแนกตรวจติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และมลภาวะทางอากาศ” เป็นโจทย์จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่ต้องการศึกษาแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จึงต่อยอด “E-nose” หรือ “จมูกอิเล็กทรอนิกส์”สู่ “ระบบต้นแบบสำหรับตรวจวัดและจำแนก PM2.5 ที่สามารถจำแนกตรวจติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็กและมลภาวะทางอากาศ” ระบบจำแนกตรวจติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และมลภาวะทางอากาศนี้ อาศัยหลักการวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาองค์ประกอบในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน […]

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)

เป็นองค์กรในกำกับของรัฐ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มีภารกิจหลักที่ต้องรับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลด้านนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต

งานด้านวัสดุนาโนเฉพาะทาง
และนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง

การพัฒนาวัสดุนาโนเฉพาะทาง
เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะด้าน
ที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้งานด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี

งานด้านเกษตรนาโน
และสิ่งแวดล้อม

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
ด้านนวัตกรรมอาหาร เกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีการดัดแปลง โครงสร้าง
และพื้นผิว รวมทั้งการเตรียมนาโน
คอมพอสิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ร่วมกับการจัดการสิ่งเเวดล้อมอย่างยั่งยืน

งานด้านนาโนเพื่อชีวิต
และสุขภาพ

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้าน
การตรวจวินิจฉัยโดยใช้โมเลกุลเป้าหมาย
การพัฒนาเทคโนโลยีระบบนําส่งยา
ชนิดใหม่ และเวชสำอางจากการใช้ประโยชน์ด้วยสารจากธรรมชาติ
และสมุนไพรไทย เพื่อการประยุกต์ทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข
และเวชสําอาง

งานด้านมาตรวิทยานาโนวิเคราะห์และวิศวกรรม

การวิจัยและพัฒนาทางด้านมาตรวิทยาและความปลอดภัย ทางด้านนาโนเทคโนโลยี การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบระดับนาโน การพัฒนาต้นแบบงานวิจัยเชิงวิศวกรรม เพื่อเป็นรากฐาน ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการผลิตสินค้า และบริการ ในด้านคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ ในระดับสากล

งานด้านการพัฒนาวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน

การพัฒนาและออกแบบ วัสดุ โครงสร้าง และระบบในระดับนาโน ด้วยวิธีการคำนวณทางเคมีคอมพิวเตอร์ผ่านการสร้างแบบจำลอง และการประเมินเชิงวิศวกรรมผ่านการ สร้างต้นแบบและระบบนำร่อง สำหรับการประยุกต์ใช้งานในด้านพลังงาน ตัวเร่งปฏิกิริยาประสิทธิภาพสูงและระบบตรวจวัดแบบจำเพาะ เพื่อความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในนามของที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ขอขอบคุณผู้บริหาร นักวิจัย และบุคลากรทุกท่าน รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรไม่แสวงผลกำไร และมหาวิทยาลัย ที่ร่วมผลักดันการดำเนินงานและสร้างความเข้มแข็งในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำ ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและมนุษยชาติ

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
อาจารย์วิทยา Nanotec

การสร้างทีมงานวิจัยด้านนาโนที่เข้มแข็งจนสามารถพัฒนาจากศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี บูรณาการสู่สถาบันวิจัยและนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ตลอด 3 ช่วงระยะเป็นเวลา 13 ปี ที่ได้รับโอกาสในการทำงานร่วมกันจนเป็นเครือข่ายพันธมิตรวิจัย ผมประทับใจในบรรยากาศการร่วมกันคิด วิเคราะห์ เสนอแนะ ที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ทั้งจากผู้บริหาร นักวิจัย นักวิเคราะห์ นักประเมินผล และผู้ประสานงาน เกิดความร่วมมือกันสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริงให้กับประเทศชาติและประชาชน

รศ. ดร. วิทยา อมรกิจบำรุง
เครือข่าย RNN มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คุณกิตติ Nanotec

ต้องขอบคุณนาโนเทคที่มุ่งมั่นที่อยากสร้างนวัตกรรมให้เป็นจริง มีนโยบายทำงานกับภาคเอกชน หวังเห็นความสำเร็จของ SME มีการประสานงานต่อเนื่องแบบกัดไม่ปล่อย ซึ่งความสำเร็จของการสร้างงานนวัตกรรม ภาครัฐต้องทำงานใกล้ชิดกับ SME อย่างใกล้ชิด นาโนเทคเป็นตัวอย่างของโมเดลความสำเร็จนี้ “ไม่มีนาโนเทค ไม่มีเราวันนี้”

น.สพ.กิตติ ทรัพย์ชูกุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด

“การร่วมงานที่ NANOTEC พร้อมทั้งงานวิจัย ทั้งองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีนาโน ทำให้ kann เข้าใจ และสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้ถูกต้อง ชัดเจน เป็นความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ เกิดการต่อยอดเชิงธุรกิจเพื่อการเติบโตในอนาคต”

น.ส.กัญญ์ภัสสร์ พลชัยศรี
กก.ผจก. หจก.กัญญ์ เฮิร์บ (ประเทศไทย) จำกัด

Our ReSEArchers

Monrudee Liangruksa
Senior Researcher

Wiyong Kangwansupamonkon
Deputy Executive Director

Suvimol Surassmo
Senior Researcher

Kajornsak Faungnawakij
Senior Researcher

756

Articles

670

Patents

27000

MB Impact

64

% Researchers

251

Members